เมืองโบราณยะรัง ปัตตานี เนื้อที่กว่า 4 พันไร่ กำลังจะได้รับการขุดแต่งให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญของชายแดนใต้

0
383
เมืองโบราณยะรัง ปัตตานี เนื้อที่กว่า 4 พันไร่ กำลังจะได้รับการขุดแต่งให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญของชายแดนใต้
เมืองโบราณยะรัง ปัตตานี เนื้อที่กว่า 4 พันไร่ กำลังจะได้รับการขุดแต่งให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญของชายแดนใต้

เมืองโบราณยะรัง ปัตตานี เนื้อที่กว่า 4 พันไร่ กำลังจะได้รับการขุดแต่งให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สำคัญของชายแดนใต้
ที่โบราณสถานบ้านจาเละ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมื่อวันนี้(19 มี.ค.67)ที่ผ่านมา นางพาติเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยนายสนั่น สนธิเมือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และนางนิภา สังคนาคินทร์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา นำส่วนราชการต่าง ๆ อาทิ นายอำเภอยะรัง นายอำเภอเมืองปัตตานี วัฒนธรรมจังหวัดหวัดปัตตานี และผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ เข้าเยี่ยมชมความก้าวหน้าการขุดแต่งโบราณสถานเมืองโบราณยะรัง ของสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา โดยเมืองโบราณยะรังถือเป็นแหล่งโบราณสถานแหล่งใหญ่ที่สุดในพื้นที่ ที่มีร่องรอย สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ กระจัดกระจายอยู่ใน 4 ตำบลของอำเภอยะรัง คือ ตำบลยะรัง ตำบลวัด ตำบลปิตูมุดี และตำบลแว้ง เนื้อที่กว่า 4,000 ไร่
ขณะนี้ทางจังหวัดปัตตานี ได้ร่วมกับกรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา และองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ เข้าทำการขุดแต่งแล้วบางส่วน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนานเนื่องจากมีเป้าหมายการขุดหลายแห่งซึ่งต้องใช้ งบประมาณจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการขุดแต่งยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่สิ่งที่ปรากฏในขณะนี้คือซากเมืองโบราณที่มีอายุกว่า 1,000 ปี มีคุณค่ายิ่งในทางโบราณคดี และการศึกษาประวัติศาสตร์ และจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของพื้นที่ที่จะสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป
นางพาติเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีกล่าวว่า เมืองโบราณยะรัง คือมรดกสำคัญของชาติ และเป็นทุนสำคัญของพื้นที่ ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งต้องให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา เพื่อให้ประชาชนรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของ และช่วยกันดูแลรักษาให้เกิดความยั่งยืน
ขณะที่นางนิภา สังคนาคินทร์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา กล่าวว่า กรมศิลปากรได้เข้ามาทำการสำรวจและขุดแต่งบริเวณแห่งนี้ พบว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญว่าบริเวณแห่งนี้เป็นเมืองใหญ่มาก่อน และมีการติดต่อสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งจีน อินเดีย และอาหรับ โดยมีหลักฐานต่าง ๆ เช่น พระพิมพ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ และหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งต่อไปจะมีการรวบรวมสิ่งของที่ขุดพบ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในโอกาสต่อไ

ด้านนายซูลกีฟลี เฮ็งปิยา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลยะรัง กล่าวว่า ประชาชนชาวยะรังมีความภาคภูมิใจ ต่อการมีโบราณสถานในพื้นที่ และพร้อมจะเข้ามามีส่วนร่วมกับทางราชการ ในการดูแลและอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชุมชน โดยจัดให้มีการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ในอนาคตหากการขุดแต่งเกิดความสมบูรณ์และมีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้นด้วย

ภาพ/ข่าว/บดินทร์ ทีมข่าว@