ส่องการศึกษาเพื่อนบ้านมาเลเซีย ภาค 3 

0
1421

โดย แบเย็ง ผุ้ชาย 4ฤดู
 การศึกษาที่ตอบโจทย์ นักอนุรักษ์นิยมยุคไหม่
จำได้ว่าเคยเขียนปรากฏการณ์ “ ตากุ ญาดี ออแร ปูเตห์ “ ของชาวมลายูมาเลเซียในยุคอาณานิคมจนถึงยุคเริ่มรับเอกราชไหม่ๆ ที่เหมือนกับปรากฏการณ์ “ ตากุ ญาดี ซีแย “ของชาว3จังหวัด ทำให้ผู้ปกครองหันหลังให้กับระบบการศึกษาแห่งชาติ หันเข้าไปเรียนในปอเนาะ ทำให้สัดส่วนชาวมลายูในวิชาชีพต่างๆเช่นแพทย์ วิศวกร เป็นต้น อยู่ในสัดส่วนที่ตํ่าเมื่อเทียบกับชาติพันธุ์อื่นๆ สาเหตุที่หันหลังก็เพราระบบการศึกษาที่เจ้าอาณานิคมได้สร้างใว้นั่น มุ่งแต่เน้นการศึกษาทางโลก ไม่ได้ตระหนักถึงคำสอนทางธรรมทางอิสลาม  รัฐบาลประจำรัฐต่างๆจึงหาทางออกด้วยการจัดหลักสูตรการศึกษาแบบบูรณาการทั้งวิชาสายสามัญและวิชาสายศาสนาเข้าด้วยกันแบบไม่แยกเรียน โดยแบ่งเวลาสามัญในภาคเช้า และภาคบ่ายเรียนศาสนา หรือกลับกัน

จึงทำให้เกิดโรงเรียนแนวนี้ในทุกรัฐภายใต้การดูแลของ มูลนิธิ (Yayasan Islam)ที่ตั้งขึ้นภายใต้การกำกับของสำนักงานกิจการศาสนาอิสลามและประเพณีมลายูของแต่ละรัฐ (Jabatan Hal Ehwal Agama Islam Dan Adat Istiadat Melayu) จึงเป็นที่มาของโรงเรียนที่ชื่อขึ้นต้นด้วย SEKOLAH MENENGAH AGAMA ที่ต่างกับโรงเรียนมัธยมทั่วๆไปของรัฐบาลกลางที่จะใช้ชื่อขึ้นต้นด้วย SEKOLAH MENENGAH KEBANGSAAN, ในรัฐกลันตัน SEKOLAH MENENGAH AGAMA ในภายหลังเปลี่ยนชื่อนำหน้าเป็น MAAHAD ในระยะแรกเริ่มก็จะมีสายศาสนาบวกสามัญสายศิลป์ พอมาในยุคหลังๆก็เพิ่มสามัญสายวิทย์ ทำให้การตอบรับจากสังคมมีสูงมาก นักเรียนที่เรียนใน MAAHAD จะเรียนวิชาสามัญทุกวิชาเหมือนกับระบบการศึกษากระแสหลัก แต่ต้องเรียนเพิ่มเติมวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาตามมาตรฐานที่ได้รับการรับรองโดยมหาวิทยาอัลอัซฮาร์แห่งอิยิปต์ วิชาสายสามัญจะวัดผลด้วยข้อสอบกลางในชั้น ม 3 ม 5 และ ม 6 (ม 6 เรียน 3เทอม) ส่วนสายศาสนาจะวัดผลด้วยข้อสอบกลางของรัฐในชั้น ม 4 SIJIL MENENGAH UGAMA ( ผู้ที่มีใบประกาศนียบัตร ม 4 หรือ SIJIL MENENGAH AGAMA จะได้รับการยกเว้นในการเข้าอบรมเพื่อเตรียมตัวเข้าพิธีแต่งงาน ซึ่งการอบรมอันนี้เป็นภาคบังคับโดยกฏหมายของทุกรัฐสำหรับมุสลิมที่จะครองเรือน) และ ม 6 SIJIL TINGGI AGAMA MALAYSIA หรือย่อเป็น STAM ( ม 6เรียนแค่ 2เทอม)จะเป็นการสอบกลางระดับชาติ ในอดีต การวัดผลสายศาสนาระดับม6 ข้อสอบจะออกโดยบอร์ดการวัดผลของแต่ละรัฐ บางรัฐก็ได้มาตรฐานอัลอัซฮัร บางรัฐก็ไม่ได้มาตรฐาน ทางออกก็คือทุกรัฐรวมทั้งสิงคโปร์และบรูไนหันมาพึ่งและใช้บริการบอร์ดการวัดผลของรัฐกลันตันที่ได้มาตรฐานมาตลอดในการวัดผลซึ่งขณะนั้นจะเรียกการสอบในระดับม6สายศาสนาว่า STU (Sijil Tinggi Ugama)

ต่อมาภายหลังในทศวรรษที่ 90 ด้วยเหตุผลทางการเมืองทางรัฐบาลกลางได้รวบอำนาจในด้านมาตรฐานอันนี้ไปดำเนินการเองทั้งหมดเมื่อได้ทำการตกลงในเรื่องมาตรฐานของหลักสูตรกับทางการอิยิปต์ จึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น STAM
รัฐบาลรัฐกลันตันมิได้นิ่งนอนใจอยู่เพียงแค่นั้น ภายใต้การนำของท่านมุขมนตรี โต้ะครูนิกอับดุลอาซิส เมื่อกระแสการเรียนตัหฟีซ(การท่องจำอัลกุรอ่าน)มาแรงมาก ท่านจึงได้ดำริให้เปิด MAAHAD TAHFIZ SAINS ขึ้นในรัฐกลันตัน MAAHAD แห่งแรกตั้งที่ ปูไล จนดง ห่างจากเมืองโกตาบารู ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่สูงมากจากทั่วประเทศ นักเรียนที่จบ ป6 ที่ได้ เอ 4วิชา จากการวัดผลข้อสอบกลางจากทั่วประเทศหลั่งไหลกันมา จนทางการต้องกำหนดโควต้ารับ คนนอกพึ้นที่ แค่ 20% ส่วนอีก 80% รับคนในรัฐกลันตัน ปัจจุบันนี้มี MAAHAD กระจายไปทั่วพื้นที่ในรัฐกลันตัน นักเรียนที่เรียนใน MAAHAD TAHFIZ SAINS นอกจากจะต้องเรียนสามัญสายวิทย์แล้วยังต้องท่องจำอัลกุรอ่านให้จำได้ทั้งเล่มภายใน5ปีตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน ม 1 จนจบ ม 5 หลังจากผ่านข้อสอบกลาง ม 5 แล้ว นักเรียนเหล่านี้ก็จะแยกย้ายไปเรียนต่อในระดับเตรียมมหาวิทยาลัยเพื่อเรียนต่อในคณะที่ตนเองเลือก บางส่วนก็เลือกที่จะยังคงอยู่ในสายศาสนา แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไปเรียนต่อในสาขาวิชาชีพอื่นๆเช่นแพทย์ วิศวกรรม เภสัซ และอื่นๆ ผลผลิตจาก MAAHAD จะเป็นที่ยอมรับของสังคมมาก สังคมจะให้เกียรติเพราะเป็นผู้ที่มีวิชาศาสนาและการท่องจำอัลกุรอ่าน สังคมมีแพทย์ที่เป็นฮาฟิซ (ฮาฟิซ คือผู้ที่ท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่ม) มีวิศกรที่เป็นฮาฟิซ นักบินที่เป็นฮาฟิซ เป็นต้น MAAHAD ต่างๆของรัฐบาลรัฐกลันตันเปิดรับนักศึกษาจากทุกประเทศอาเซี่ยน แต่การจะเข้าไปเรียนใน MAAHAD TAHFIZ SAINS ทุกโรง และ MAAHAD MUHAMMADI ทั้งชายและหญิงที่ตั้งอยู่ในเมืองโกตาบารูนั้น ด้วยที่เป็นโรงเรียนเกรด เอ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกแบบเข้มข้น ผู้ที่จะสอบเข้าได้นั้นจึงค่อนข้างยาก แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ MAAHAD รอบนอกที่เข้าไปได้ง่ายกว่า พร้อมที่รับนักเรียนทั่วไป

 ท่านที่สนใจจะส่งบุตรหลานมาเรียน สามารถที่จะสอบถามโดยตรงได้ที่ YAYASAN ISLAM KELANTAN ที่ NILAM PURI (ออกจากตัวเมืองโกตาบารูประมาณ 10กิโลเมตร) ตั้งอยู่ใกล้ๆกับมัสยิดไม้เก่าแก่ที่ชื่อ MASJID KAMPUNG LAUT 
ส่วนรัฐอื่นๆที่ติดชายแดน เช่นรัฐ PERAK, KEDAH และ PERLIS ผมไม่มีข้อมูล แต่สามารถติดต่อได้โดยตรงเช่นกัน