เราคือ จีนคอมมิวนิสต์ มาลายา

0
2350

 **คัดเรียบเรียงจาก หนังสือไผ่งามเบตง 101 ปี เล่าขานตำนานเมืองเบตง

คงไม่มีใครปฏิเสธเรื่องราวของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (พคม.) ซึ่งห้วงอดีตยาวนานมาแล้ว ได้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย เป็นฐานพำนัก หลบซ่อนตัว และเคลื่อนไหวต่อสู้ตามอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่ม ทำให้ได้สัมผัสสัมพันธ์กันอยู่ในพื้นที่
ตลอดมาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
การปฏิบัติการของ พคม. ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญทางการเมืองในพื้นที่ และระหว่างประเทศ กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมืองเบตง ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
โดยเนื้อแท้แล้ว อดีตสมาชิก พคม. มีแหล่งเคลื่อนไหวสำคัญอยู่ในประเทศมาเลเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2473 เกี่ยวพันกับเรื่องการเมืองและการต่อสู้ในมาเลเซีย กระทั้งรัฐบาลมาเลเซียโหมปราบปรามอย่างรุนแรง เฉิน
ผิง หรือ จีนเป็ง ในฐานะเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มลายา นำสมาชิกส่วนใหญ่ย้ายมาใช้พื้นที่ฝั่งประเทศไทยเป็นจุดเคลื่อนไหว ประกอบด้วย กรมที่ 4 กรมที่ 10 และกรมที่ 12 เป็นฐานที่มั่นในฐานะฐานปฏิบัติการในเขตรอยต่อไทย-มาเลเซีย ทั้งรัฐเคดาห์ ปีนัง กลันตัน/เปรัค ของมาเลเซีย และพื้นที่ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กระทั่งเกิดการร่วมมือในการปฏิบัติร่วมตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อทำการปราบปรามระหว่างรัฐบาลไทย-มาเลเซีย


อย่างไรก็ตาม ระหว่างปี พ.ศ. 2513-2517 พคม. มีความขัดแย้งทางความคิดแยกออกเป็น 2กลุ่ม 3 พวกคือ พรรคคอมมิวนิสต์มลายา พวกที่ 1 กรม 8 มีนายเจียง เป็นหัวหน้า พวกที่ 2 คือพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เขต
2 มีนายจางจงหมิง ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว เป็นหัวหน้ากรม ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซีย ครอบคลุม
รัฐชาลาวัดและรัฐซาบาร์ ของสหพันธรัฐมาเลเซีย ต่างกับพวกที่ 3 ประกอบด้วยพรรคคอมมิวนิสต์มลายา กรม 19 กรม 12, เขตพิเศษ กองพิเศษ/เขตผสม ที่มีนายจีนเป็ง เป็นหัวหน้า ยังคงใช้ชื่อเดิมเพราะเป้าหมายครอบคลุมเพียงแหลมมาลายูและเกาะสิงคโปร์เหมือนเดิม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2523รัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้คำสั่งที่ 26/23 ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนแนวทางใช้การปราบปรามควบคู่กับการเจรจา จนประสบผลสำเร็จ ขณะที่เวลานั้น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งบัญชาการทหารบก และรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2530 พรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซีย กรม 8 คือ กลุ่มของนายบุญชัย แซ่อึ้ง หรือ นายอีเจียง ถือเป็นกลุ่มแรก ที่ได้ออกมารายงานตัวที่กองร้อย ตชด.437 อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จำนวน 122 คน
พร้อมมอบอาวุธปืน 236กระบอกและกระสุน 102,238 นัด
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530
พรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซีย กลุ่มที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซีย เขต 2
กลุ่มของนายหยีเจียน แซ่เซียว (จาง จง หมิง) ได้ออกมารายงานตัวที่บ้านบ่อน้ำร้อน ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง
จังหวัดยะลา จำนวน 542 คน พร้อมกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาเลเซีย อีก 7 คนที่หลบออกมาก่อน รวมเป็น 549 คน โดยมอบอาวุธปืน 592 กระบอก กระสุน 133,400 นัดด้วย

ขณะที่กลุ่มแรกและกลุ่มสองออกมารายงานตัว การดำเนินการเจรจากับพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ของ นาย จีน เป็ง ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดกับ พล.ต.กิตติ รัตนฉายา ขณะดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.พล.ร.55/ผบ.กกล.ผสม ฉก.ไทย
ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง (โปรดติดตามต่อไป)