คณะขับเคลื่อนสันติสุขฯ ถกเข้มประเด็นหารือสาธารณะ JCPP หลังภาคประชาชน 90 %เห็นพ้อง ด้านแม่ทัพน้อย 4 แจง เอกสาร”รั่ว”ทำเข้าใจผิด กระหน่ำวิจารณ์

0
1483

29 กพ. 2567 ที่ ห้องประชุมเฟรนดลี่เทล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กอ.รมน.จับมือ มอ.สงขลานครินทร์ – อบรมเชิงปฎิบัติการ ขับเคลื่อนงานการพูดคุยเพื่อสันติสุข ตัวแทนของจ.สงขลา- จ.ปัตตานี ซึ่งครั้งนี้เป็นการประชุมเชิงปฎิบัติการร่วม หารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่, โดยมี พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 เป็นประธานเปิดการประชุม หลังจากทางคณะขับเคลื่อนงานการพูดคุยเพื่อสันติสุขระดับพื้นที่ได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็นกันแล้ว ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 17 เวที คือ จังหวัดสงขลา 3 เวที ,จ. ปัตตานี 6 เวที, จ. ยะลา 5 เวที และ จ.นราธิวาส 3 เวที ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการหาทางออกเรื่องกระบวนการพูดคุยสันติสุข ภายใต้กรอบของ JCPP การแสวงหาทางออกแบบองค์รวมปรึกษาหารือสาธารณะ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ ยังต้องสร้างความเข้าใจกันอีกมาก ซึ่งมี ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรีผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ .ดร.สมัชชา นิลปัทม์ จากสถาบันสันติศึกษา ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นผู้จัดสูตรอบรม

พลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 และคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
เปิดเผยว่า จากการที่เปิดโต้ะเจรจา หลายครั้ง หลายหน ไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งการพูดคุยครั้งล่าสุด จากโต้ะพูดคุยครั้งนี้ หลังจากที่มีข้อตกลงและแถลงข่าวตามความคิดเห็นร่วมกันตรงกันทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว จากนั้นไม่นาน กลับมีการนำแบบร่างของฝ่ายคิดต่างชุดเก่า ออกมา โพส เผยแพร่ข่าวสารจากสิ่อสำนักหนึ่ง ผ่านสื่อโซเชียล และนำมาขยายผล จนทำให้ได้รับการตีความผิดเพี้ยน ไปพอสมควร ทำให้มีความเข้าใจผิดไปต่อประชาชน และถูกวิภากษ์ วิจารณ์อย่างหนัก
เรายอมรับและเคารพกับคำวิภากษ์ วิจารณ์ จากผู้มีประสบการณ์ทุกท่าน และแลกเปลี่ยนความเห็นกับฝ่ายคิดต่าง เพราะทุกคนหวังดีกับการแก้ปัญหาของประเทศชาติและประชาชน และเชื่อว่าโต้ะพูดคุยสามารถเป็นทางออกในด้านของการแก้ไขปัญหาและเกิดความสันติสุขอย่างแท้จริง ของชายแดนใต้ได้
เอกสารฉบับนั้น เรียกกันว่า โอ 5 หรือ ข้อตกลง ฉบับของ BRN ซึ่งจริงๆแล้ว เป็นฉบับที่เขาร่างกันมานานแล้ว ซึ่ง ทางฝ่ายของเรา ไม่ได้ยอมรับ เอกสารฉบับนี้ ไม่ใช่เป็นของใหม่ เป็นเอกสารที่เราคุยกันหลายรอบแล้ว ซึ่งกลับถูกหยิบยกมาใช้ ในวันนั้น ซึ่งเราได้ท้วง และ ยึดมั่นว่าเราต้องใช้ร่างฉบับเดียว ตามข้อตกลง ในรายละเอียดที่วางไว้แล้วในที่ออกแถลง
สำหรับของเอกสารฉบับนั้น คิดว่าทุกนน่าจะเห็นแล้ว ถ้าใครได้เห็นได้อ่านแล้ว จะทราบว่ามันเป็นข้อตกลงที่ ไปด้วยกันยากมาก เหมือน น้ำกับน้ำมัน ที่อยู่รวมกันไม่ได้ หัวข้อแค่เหมือนกัน แต่สาระสำคัญ ไปด้วยกันคนละเรื่อง
ทางเราได้แจ้งไปทางผู้อำนวยความสะดวกครั้งหน้าแล้วว่า ให้จัดการคลี่คลายเรื่องนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นมีผลต่อการพูดคุยอาจทำให้สะดุดได้
สำหรับเอกสารที่ผู้นำออกเผยแพร่ออกไปนั้น น่าจะไม่มีความเข้าใจชัดเจน เกี่ยวกับ รายละเอียดในการพูดคุย ไม่ทราบถึงรายละเอียดของ JCPP ซึ่งเรื่องนี้เราคุยตั้งแต่ ปี 65 มา 66 และเริ่มมาปีนี้ ผมคิดว่า เรื่องนี้น่าจะซึม ซับไปทั่วพื้นที่แล้ว
ประเด็น JCPP ก็คือ เป็นความคิดเห็นตรงกันว่าเราจะต้องคุยในรายละเอียดนะ ซึ่งอยู่ในหัวข้อ 3 ประเด็นก็คือ 1. การลดความรุนแรง 2. การหารือสาธารณะ และ 3. การหาทางออกทางการเมือง ซึ่ง เราต้องมากำหนดไกด์ไลน์ เช่นในเรื่องของความลดรุนแรงนั้น ในช่วงแรกเราจะวางกันอย่างไร จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เช่นลดกำลัง หรือมีกำลังมีเราไว้ทำอะไร อย่างไร อันนี้คืออยู่ในกำหนดกรอบที่เราต้องการพูดคุย
ซึ่งมันต้องอยู่ในการเจรจา ต่อรอง กันอีกเยอะมาก อันนี้เป็นการจัดการของฝ่ายเทคนิคอีกที ซึ่งมันก็ยากมาก กว่าที่จะบรรลุไปถึงข้อตกลงร่วมกันได้ ก็ต้องใช้ความพยายามกันต่อไป
สิ่งที่เป็นความคาดหวัง ก็คือ สำหรับคณะพูดคุยระดับพื้นที่ จะต้องไปสร้างความรู้ นำความเข้าใจ ไปอธิบายให้ประชาชน ได้รับฟัง ให้มากที่สุด

ด้าน อจ.ศรีสมภพ ฯ กล่าวว่า ในประเด็นของเนื้อหา การหารือสาธารณะ ของ แผนการ การประชุม การมีส่วนร่วมแบบองค์รวม หรือ JCPP นั้น มองดูแล้วเป็นหลักการพื้นฐาน ของกระบวนการสร้างสันติภาพ ซึ่งหลักการนี้ ได้รับการสนับสนุน แม้ว่าจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ต้องแก้ไขปรับปรุง แต่ต้องผ่านการกระบวนการร่วมกันของทั้งสองฝ่าย และคงจะต้องมีขั้นตอนต่อไป ไม่ต้องกำหนดในรายละเอียด ผมมองว่าไม่น่าจะมี ข้อกังวลมากนัก แม้ว่าจะ มี การ โต้แย้ง มีข้อถกเถียง แต่คิดว่าประเด็นนี้น่าจะคุยกันได้
ประเด็นนี้ การพูดคุยสถานะในการพูดคุยกันหลายอย่างแล้ว เรียกว่า Public consulation รูปแบบที่กำหนดการชัดเจนที่มาจากกระบวนการพูดคุย ทั้งสองฝ่าย ในรายละเอียดนั้นยังมีการ ทำแบบลงตัว อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการหลายอย่าง แต่ในภาคประชาชน และนักวิชาการในพื้นที่ถือว่าเป็นการเดินหน้า และมีการทำเดินหน้ากันไปแล้ว ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ และประชาชนเป็นตัวการ เป็นคนทำ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีและทำมาต่อเนื่องว่าประชาชนจะรับรู้กันมากขึ้น ซึ่งผ่านมา 2-3 ปี ในการคิดในรายการ รายละเอียด ต้องทำอย่างมีความระมัดระวัง และ มันเป็นเรื่องที่เตรียมกันมา มีพื้นฐานแล้ว เตรียมการกันมา ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่อง ที่พื้นฐานคุยกันดีๆ และ เกิดขึ้นมาได้ ที่ชัดเจน ส่วนข้อเสนอของฝ่าย BRN ก็มีการต่อรองกัน ดังนั้นถือว่ากระบวนการยังใช้ได้อยู่

แต่รายละเอียดทุกเรื่องของ JCPPต้องผ่านการตกลงร่วมกัน ผ่านการพูดคุยของทีมเทคนิคทั้งสองฝ่าย ครั้งหน้า เชื่อว่าจะต้องมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น และมีข้อตกลงที่ชัดเจนมากขึ้น หลังจากนี้ไปการพูดคุยต้องมีลงรายละเอียดที่ดูแล้วชัดเจนมากขึ้น
ส่วนในเรื่องการลดเหตุรุนแรงในช่วงเดือนรอมฎอนนั้น ในความคิดเห็นของผม ยังคิดว่า ยังคาดการณ์ไม่ได้ ว่าจะสงบได้จริงไหม ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดผลอย่างไร ถ้าจะลดเหตุการณ์หยุดยิงตั้งแต่ รอมฎอนจนถึงสงกรานต์ ในครั้งนี้ คงต้องไม่ใช่การคิดแค่การหยุดยิงเพียงอย่างเดียว แต่น่าจะมีการวางแผนอย่างมีระบบ มีผลในการปฎิบัติการมากขึ้น มีการเฝ้าระวัง มีการประเมิน ต้องมีการตกลงของทั้งสองฝ่ายให้มากขึ้นและคิดว่าต้องทำให้ได้ ซึ่งรอมฎอนนี้ยังเป็นช่วงที่ท้าทายว่าเราจะทำอะไรต่อไปได้หรือไม่

ดร.ดลยรัตน์ บูยูโซะ ประธานคณะขับเคลื่อนสันติสุขระดับพื้นที่ กล่าวว่า
1 เดือนที่ผ่านมา มีการจัดทำเวทีความคิดเห็นเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกือบ 20 เวที และปรากฎ 99 % ทุกคนเห็นด้วย กับการตั้งเวทีพูดคุย เพราะเรามองเห็นในมิติของสันติสุขในพื้นที่ ทุกคนต้องการให้กลับคืนมา แก้ปัญหาด้วยการพูดคุย ทุกคนในคณะ ขับเคลื่อนการพูดคุยกันพื้นที่ เห็นว่าเราต้องทำหน้าที่กันต่อ อย่างแรกเลย คือประเด็น ของ JCPP และประเด็นหลัก อีกอย่างหนึ่งที่เราต้องเร่งทำก็คือ การสร้างความเข้าใจและทำให้เกิดการรับรู้ ถึงสถานการณ์การพูดคุยของ PARTY A หรือรัฐบาลและฝ่าย PARTY B คือฝ่ายเห็นต่าง ได้พูดคุยกัน ถึงไหน อย่างไร
สำหรับ JCPP เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ทุกคนเห็นพ้องกันว่า รวมกับกลุ่มที่เห็นต่าง ในพื้นที่ ก็เช่นเดียวกันอยากมีพื้นที่ และมองเห็นทิศทางร่วมกันว่าต้องมีโต๊ะพูดคุยและ มีการเจรจา และประเด็นอีกอย่างหนึ่งของเรา คือต้องทำอย่างไรให้เกิดวาระแห่งชาติ อย่างจริงๆจังๆ ก็คือการ สร้างสันติสุขให้เกิดขึ้น รวมทั้งให้คนนอกพื้นที่คนทั้งประเทศ เห็นปัญหาได้รับรู้ ไปในแนวทางเดียวกัน
ที่ผ่านมามีนักวิชาการใหญ่วิภากษ์ถึงเรื่องนี้ ก็ต้องยอมรับว่า อาจจะมีปัญหาบ้าง ที่นักวิชาการบางท่านออกมาให้ความคิดเห็นนั้น ซึ่งเขามีความรู้ เรียนมาด้านยุทธศาสตร์มองด้าน ทหารอย่างเดียว มองการต่อสู้ของทหารและฝ่าย BRN ทำให้มองว่าเราเสียเปรียบซึ่งมองกันคนละมิติ แต่จริงๆแล้วสำหรับคนในพื้นที่ เรามองในด้านมิติของเสรีภาพ ต้องมองด้าน รัฐศาสตร์ นำนิติศาสตร์ ให้เกิดความเข้าใจ อย่างทั่วถึง เรามีการเห็นต่างกันได้ เป็นเรื่องธรรมดา และเราพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนกับนักวิชาการเหล่านั้นได้ รวมทั้งเรื่องนี้ไปถึงสว. ที่จะ พูดคุยกันในสภา ยินดีอย่างยิ่ง ซึ่งเราก็พร้อมจะให้ข้อมูลให้ท่านต่างๆได้รับรู้ความจริงเหล่านั้น
สำหรับข้อกังวล เราไม่กังวลเพราะว่าการ พูดคุยในเวทีนี้เป็นการที่รับไม้ต่อกันมาจากเวทีการพูดคุยตั้งแต่ชุดเดิมแล้ว แต่ในส่วนตัวลึกๆนั้น มองบนเวทีพูดคุยขั้นตอนเจรจาฯยังเห็นว่า ทำไมการถึงมีการปล่อยข้อมูลบางตัวที่ไม่ใช่เอกสารจริง ให้มี การรั่วไหลได้ รั่วเอง หรือตั้งใจให้รั่ว ทำให้พอมองว่ามีการช่วงชิงอะไรกันบางอย่างบนโต๊ะพูดคุยฯ ซึ่งต้องหาความจริงกันต่อไป ปัญหาภาคใต้จริงๆแล้วมีทางออกอยู่ นั่นคือ ปัญหาที่ทางคณะคพท.จะต้องแก้ไขกันต่อไป

สุกรี มะดากะกุล รายงาน