คณะอนุกรรมาธิการสันติภาพใต้ ฯ จัดเวทีระดมความคิดเห็นกลุ่มใหม่ ด้านนักวิชาการชี้ สันติภาพใต้ต้องทุ่มเท และต้องใช้เวลานาน

0
5271

วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา และเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน กลุ่มย่อยใหม่ที่ไม่เคยได้เข้าร่วมเวทีของกระบวนการสันติภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เข้าถึงได้ทุกๆกลุ่ม มีการจัดเสวนา ให้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งของจังหวัดชายแดนใต้ เวที สัมมนา เรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้”โดยเชิญ ศาสตราจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณและ ผู้ช่วยศาลตราจารย์นุมาน หะยีมะแซ
และอภิปรายให้ความรู้ หัวข้อเกี่ยวกับการพูดคุยกระบวนการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้
โดย รองศาสตราจารย์มาร์ค ตามไท และ นางสาวชญานิษฐ์ พูลยรัตน์

แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ประธานคณะอนุกรรมาธิการสันติภาพฯ กล่าวว่า
เป็นเวทีแรก ที่ลงมาทำกระบวนการในพื้นที่ก่อน และหลังจากนี้จะจัดต่ออีกให้ครบ 5 ภูมิภาค
เช่นผู้ที่มาร่วมวันนี้ เราได้ปูพื้นให้เขาเข้าใจประวัติศาสตร์ การทำกระบวนการสันติภาพ และทิศทางในอนาคต ว่าสันติภาพเราจะเดินไปอย่างไร ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญมาอภิปราย ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เป็นการปูพื้นช่วงแรกและช่วงบ่าย มีการแยกกลุ่มไประดมในส่วนของการมีส่วนร่วมผลักดัน 5 กลุ่ม คือกลุ่มนักศึกษาต่างประเทศ กลุ่มเยาวชนศึกษาภายในประเทศ นักธุรกิจ กับกลุ่มเกียวกับความยุติธรรม และ ครูโรงเรียน
ทุกคนมาให้ความเห็นเกี่ยวกับด้าน. ความยุติธรรม,อัตลักษณ์วัฒนธรรม ,เศรษฐกิจและการพัฒนา การศึกษาและ รูปแบบการปกครอง ที่ทุกคนอยากเห็นและมีส่วนร่วมนั้นเป็นอย่างไร เวทีนี้จึงแตกต่างจากที่เคยทำมา คือบุคคลที่มาไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมกับเวทีสันติภาพมาร่วม 20 ปี และต่อจากนี้ทางคณะฯ จะนำข้อมูลทั้งหมดนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำไปเสนอต่อคณะกรรมาธิการสันติภาพ ถึงสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ประเด็นคำถาม จะเดินอย่างไรในกระบวนการสันติภาพ วาระแห่งชาติในช่วงหนึ่ง รองศาสตราจารย์มาร์ค ตามไทย ได้ให้ความเห็นว่า
ในกระบวนการสันติภาพในพื้นที่นี้ยังต้องการหนุนเสริมอีกมาก และหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทุ่มเทตั้งใจ จำเป็นต้องมีเจ้าภาพหลัก ในการขับเคลื่อน ส่วนในด้านของภาคประชาสังคม เราต้องไม่อยู่นิ่งเฉย สังคมในพื้นที่ต้องช่วยกันทำกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งหมดแล้วไปอย่าต่อเนื่องด้วยกัน การทำให้เป็นวาระแห่งชาติ วาระของทุกคน ต้องมีการอธิบาย ยังต้องมีการขับเคลื่อนที่ยังต้องใช้เวลานาน

ด้านอ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณให้ความเห็นว่า การทำพื้นที่สันติสุขให้เกิดขึ้นได้จริง ส่วนแรก รัฐควรเป็นส่วนหลักเพราะ มีอำนาจในการดำเนินการ ใช้เครื่องมือที่ครบ วิธีการที่สามารถทำได้จริง ทุมเท ไม่ทำให้ล้มเหลว และ2 ภาคประชาสังคม กลุ่มการศึกษา กลุ่มอื่นทั้งหมด ที่คอยเร่ง คอยออกประโคมให้เกิดผล อาจต้องมีใช้ตัวเลือกภายนอก จากอาเซี่ยนข้างนอกเข้ามาเป็นตัวเชื่อม กดดัน
ให้รัฐติดตามทำจนบรรลุผลสำเร็จ
ที่สำคัญ 3 คือต้องหล่อเลี้ยงด้วยบรรยากาศประเทศแบบประชาธิปไตย
ผมเคยพูดไว้หลายปีแล้วว่า ปัญหาภาคใต้คือปัญหาพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทย ถ้าทางนี้ทำได้สำเร็จ การแก้ปัญหาในพิ้นที่ภูมิภาคอื่นจะเป็นความสำเร็จของคนทั้งประเทศไปด้วย

นางสาวชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ กล่าวว่า คนนอกพื้นที่ มองอย่างไรกับสันติภาพที่ชาวพื้นที่ต้องการ นั้น ควรต้องค่อยเป็นค่อยไป เช่นคำว่า”การกำหนดชะตาตนเอง” “เขตปกครองพิเศษ” “การทำประชามติ” ยังทำให้ดูว่าเกิดความหวาดกลัว ยังเกิดคำถามกับคนเหล่านั้น อันนี้สำคัญ คนข้างนอกยังไม่มีความเข้าใจมากพอกับปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ว่ามีความจำเป็นมากเพียงพอหรือ ควรต้องมีการทำความเข้าใจให้มากขึ้น เพราะคนข้างนอก ไม่รู้ลึก รู้จริงของปัญหา เท่ากับคนพื้นที่ การจะให้คนข้างนอก คนส่วนใหญ่ของประเทศเข้าใจนั้น ต้องทำกระบวนการให้มากกว่านี้ และแน่นอนถ้าคนส่วนใหญ่เข้าใจแล้ว เห็นด้วยแล้ว แน่นอนว่าเขาจะมาช่วยผลักดันอีกที

ทีมข่าวแอดชายแดนใต้