สำนักข่าว UtusanTv มาเลเซีย ชมบอลไทย เข้ารอบน็อคเอาท์เอเชียนคัพที่กาตาร์ ! พร้อมตีข่าวสำคัญโยง“กระบวนการพูดดคุยสันติสุข !!

0
304

https://utusantv.com/2024/01/28/sampai-bila-nyawa-umat-islam-selatan-thailand-harus-jadi-taruhan/?swcfpc=1

สำนักข่าว UtusanTv ประเทศมาเลเซีย ได้ตีข่าวสำคัญถึงประเทศไทย เกี่ยวกับการ “กระบวนการพุดคุยสันติสุข” โดยมีการจ่อหัวข่าวหลักว่า “Sampai bila nyawa umat Islam Selatan Thailand harus jadi taruhan?” “ชีวิตมุสลิมในภาคใต้ควรตกเป็นเดิมพันจนถึงเมื่อใด?” ซึ่งหากแปลความหมายดังกล่าวแล้ว หลายท่านอาจจะเข้าใจไปต่างๆ นา ๆ แต่แท้ที่จริงแล้ว กระบวนการสันติสุข ในความหมายของ ผู้เขียนชาวมาเลเซียนั้น พยายามสื่อถึงความหมาย คือ “ความจริงใจคือกุญแจที่จะนำสู่ความสำเร็จในกระบวนการพุดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย” ซึ่งในบทความดังกล่าวผู้เขียนได้นิยามถึงเรื่องราวสำคัญของคนไทยชาวมลายูที่อาศัยในประเทศไทยได้อย่างสันติสุข ภายใต้การอยู่ร่วมกันด้วยพหุวัฒนธรรมที่ต่างกัน ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามไม่ได้ถูกกดขี่ แต่ให้ดำเนินกิจกรรมตามหลักศาสนาได้อย่างปกติ ไร้ซึ่งอาวุธ ไร้ซึ่งการเบียดเบียน โดยผู้เขียนได้ลำดับเรื่องราวไว้อย่างเข้าใจ ซึ่งมีความหมายที่แปลแล้วจะเข้าใจทันที โดยในบทความดังกล่าวมีใจความว่า ….

…ทีมฟุตบอลชาติไทยได้ผ่านเข้ารอบน็อคเอาท์เอเชียนคัพที่กาตาร์ ความสำเร็จดังกล่าวได้รับการต้อนรับด้วยความยินดีจากประชาชนในประเทศช้างเผือกโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ไม่ควรลืมคือความสำเร็จของทีมฟุตบอลชาติไทยยังได้รับการ

สนับสนุนจากผู้เล่นเชื้อสายมลายูมุสลิม เช่น ศุภชัย ใจเด็ด กองหน้าดาวรุ่งของบุรีรัมย์ยูไนเต็ด ที่เกิดที่จังหวัดปัตตานี มีบทบาทสำคัญในการทำ 2 ประตูในเกมที่ทีมฟุตบอลไทยพบกับทีมคาซักสถาน

ก่อนหน้านี้นักเตะเชื้อสายมาลายูหลายคน ที่ได้รับความไว้วางใจให้สวมเสื้อทีมชาติไทย เช่น อดุล หละโสะนูรูล ศรียานเก็มนฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม และอีกหลายคน

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนยังได้เห็นในโซเชียลมีเดียว่า ประชากรมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทยมีความสุขที่ไม่อาจจะประเมินได้ ที่พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวหลายหมื่นคนจากมาเลเซีย นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่เข้ามาในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้เพิ่มรายได้ให้ประชาชนและผู้ประกอบการอาศัยในพื้นที่ผ่านการท่องเที่ยว

ในขณะเดียวกัน ประชากรมุสลิมในพื้นที่ก็ได้ดำเนินกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันอย่างสงบสุข โดยปราศจากการกดขี่ใด  ถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกกระทำอย่างทารุณกรรม ไม่ถึงขั้นที่พวกเขาจำเป็นเรียกร้องเอกราชหรือจับอาวุธต่อต้านรัฐบาลไทย

ดังนั้น เมื่อได้รับแจ้งถึงการประชุมอย่างเป็นทางการของกระบวนการพูดคุยสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ระหว่างกลุ่มบีอาร์เอ็นที่ต่อสู้และเรียกร้องเอกราชในพื้นที่

สามจังหวัดชายแดนในภาคใต้ของประเทศไทยและรัฐบาลไทย ผู้เขียนจึงสงสัยว่า จําเป็นหรือไม่ สำหรับการพูดคุยดังกล่าว ซึ่งมีมาเลเซียเป็นผู้อํานวยความสะดวก? หรือว่าสถานการณ์ในภาคใต้ของประเทศไทยถึงขั้นระดับวิกฤตทำให้รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องมีการพูดคุยกับกลุ่มที่อ้างว่า เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนและเป็นตัวแทนของชุมชนมุสลิม

หรือไม่? จริงหรือไม่ที่กลุ่มนี้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ประเทศไทยใครกันแน่ที่เรียกร้องเอกราชประชากรมุสลิมหรือกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ ตามอำเภอใจตัวเอง โดยใช้ชื่อชาวมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ของไทยเป็นเครื่องมือหรือแท้จริงแล้วชาวมุสลิมต้องการเอกราชตามที่กล่าวอ้าง? ไม่ผิดที่จะพูดคุยและก็ไม่ผิดที่จะหาทางออกให้พื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้สงบสุข แต่อย่าพยายามสร้างภาพว่าชาวมุสลิมถูกกดขี่ข่มเหงโดยรัฐบาลไทย จนทำให้เขาไม่มีทางเลือกอื่น

นอกจากการเรียกร้องเอกราชและจับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้เท่านั้น จงตั้งสติให้ดีใช้ความคิดอย่างมีสติและรอบคอบ จริงหรือชาวมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้รับการปฏิบัติเหมือนกับที่ระบอบไซออนิสต์ของอิสราเอลทำกับชาวปาเลสไตน์ หรือไม่?เหมาะสมหรือไม่ที่ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยต้องมีกลุ่มต่อสู้เพื่อปลดปล่อยบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขา เช่นเดียวกับกองพล “อัลกอสซาม” ในปาเลสไตน์?

บรรยากาศระหว่างพื้นที่ภาคใต้ของไทยกับดินแดนในปาเลสไตน์ เปรียบเสมือนท้องฟ้าอันไกลกับโลกแม้ว่าอาจมีบางสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวมุสลิมแต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องใช้วิธีที่การที่รุนแรงในการแก้ปัญหา

คําถามคือว่าความปรารถนาที่จะเรียกร้องเอกราชนั้น อยู่ในจิตวิญญาณของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยด้วยจริงหรือไม่?

ผู้เขียนมั่นใจว่า ชาวภาคใต้ของไทยไม่สนับสนุนข้อเรียกร้องนี้ เพราะจากประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับความต้องการของประชนส่วนใหญ่ที่เป็นชาวมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวนั้น พวกเขา

ต้องการความสงบและอยู่เย็นเป็นสุขเท่านั้น พวกเขาไม่ต้องการให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยเลือดเพียงเพราะการกระทำของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ยังไม่แน่ใจว่าแรงจูงใจที่แท้จริงของพวกเขาคืออะไรในการเรียกร้องเอกราชจากรัฐบาลไทย น่าประหลาดใจมาก เมื่อกลุ่มแบ่งแยกดินแดนต้องการคุกคามสันติภาพในภาคใต้ของประเทศไทย โดยอ้างว่าในนามของเอกราชและปกป้องศาสนาอิสลามราวกับว่าชาวมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวกําลังประสบชะตากรรมเหมือนกับชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ลองสำรวจและพิจารณาดูว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ยึดสิทธิของชาวมุสลิมตามอำเภอใจเขาหรือไม่รัฐบาลไทยได้ขับไล่พวกเขาออกจากบ้านเขาหรือไม่?

ชาวมุสลิมถูกห้ามไม่ให้ทำการละหมาดในมัสยิด เหมือนกับการกระทำของระบอบไซออนิสต์ที่ห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ละหมาดในมัสยิดอัลอักซอหรือไม่กองทัพไทยเคยทิ้งระเบิดในพื้นที่ที่มีประชากรมุสลิมอยู่หรือไม่?

ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ก็ลืมได้เลยว่าอุดมการณ์ “เอกราช ปัตตานี” ที่กลุ่มเหล่านั้นได้พยายามส่งเสียงปลุกระดมหรือต่อสู้ สนับสนุนอุดมการณ์หรือภารกิจของพวกเขาจำเป็นต้องหยุด “งานที่เปล่าประโยชน์ มันเพียงพอแล้วที่ชีวิตของผู้บริสุทธิ์อีกกี่คนต้องถูกสังเวยหรือเป็นเดิมพันกับการต่อสู้ที่หรือ การกระทำที่สูญเปล่าไม่เพียงพอกับชีวิตหลายพันคนต้องสูญเสียไป อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งที่จงใจสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถึงเมื่อไหร่ที่เราต้องทนดูผู้หญิง เด็ก ครูสอนศาสนาและพระสงฆ์กลายเป็นเหยื่ออีกต่อไป?

ถ้าหากต้องการที่จะต่อสู้เพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของชาวมุสลิม ขอให้ต่อสู้ผ่านเส้นทางที่ถูกต้องแทนที่จะเลือกการต่อสู้ด้วยการก่อความไม่สงบ

นอกจากนี้ ยังมีคนสงสัยว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนต้องการอะไรอีก ถ้าหากมองถึงการปฏิบัติการดูแลของรับบาลไทย รวมถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ ที่มีต่อชาวมุสลิมนับตั้งแต่ที่พระองค์ท่านขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร พระองค์ทรงห่วงใยชีวิตของชาวมุสลิมในพื้นภาคใต้ของประเทศ และหลังจากที่ท่านได้ขึ้นครองราชย์ ท่านได้แสวงหาความสงบสุขในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยมาโดยตลอด ด้วยจิตวิญญาณนี้พวกเขาได้ทำงานอย่างหนัก และมีความพยายามผ่านการกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมาให้ประสบความสำเร็จ ความยืนหยัดของพวกเขาเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ท่าน นายฉัตรชัย บางชวด รับหน้าที่แทนพล..วัลลภ รักเสนาะซึ่งจะรับบทเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยคนใหม่การสืบทอดอำนาจครั้งนี้เป็นไปเพื่อให้แน่ใจว่า การพูดคุยเพื่อสันติสุขเป็นไปอย่างราบรื่น

เนื่องจากนายทหารอาจจะถูกมองว่าแข็งกร้าวกับพลเรือนทางฝ่ายมาเลเซีย รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเลเซีย ดาโต๊ะศรี อายุบคาน ไมดิง ปีเจ ได้ปฏิบัติการกวาดล้างชาวต่างชาติที่ลี้ภัยในมาเลเซีย รวมทั้งคนไทยตลอดชายแดนระหว่างประเทศซึ่งได้รับการยกย่องจากหลายฝ่ายที่น่าสนใจที่สุดคือ “การกวาดล้าง” กับกลุ่มหรือบุคคลที่ถูกขึ้นบัญชีดำเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีอาญาและการก่อการร้ายในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เป็นการเคลื่อนไหวและการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพราะเราไม่ต้องการให้มาเลเซียเป็น “ฐาน หรือ “ศูนย์ปฏิบัติการ” สำหรับการเคลื่อนไหวของขบวนการก่อการร้ายใด  ต่อพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย

ดังนั้นหากมีกลุ่มที่ต้องการต่อสู้เพื่อเอกราช ให้ปฏิบัติโดยการเคารพต่อประเทศตัวเองมิใช่ว่า “ตามอำเภอใจ” อยู่ในมาเลเซีย (ถ้ามี) โดยสรุปตามที่ได้ติดตามความคืบหน้าในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่าน

มา ผู้เขียนเชื่อมั่นเสมอว่าแสงสว่างแห่งสันติภาพยังคงสามารถส่องแสงให้กับพื้นนี้ได้ สิ่งที่สำคัญคือความจริงใจและความซื่อสัตย์ของทั้งสองฝ่าย ที่แสวงหาทางออกในขณะที่มาเลเซียนําโดยอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกตันศรี ซุลกีฟลี ซัยนัน อาบีดินในฐานะผู้

อำนวยความสะดวกกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย จะพยายามดำเนินการตามความรับผิดชอบนั้นอย่างสุดความสามารถในส่วนของกลุ่มแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ (บีอาร์เอ็นที่นําโดย นายหีพนี /อับดุล เราะห์มาน ก็ควรจริงใจอย่างแท้จริง รวมถึงอย่าสานต่อมายาคติที่อ้างว่าประชาชนในภาคใต้ของประเทศไทยต้องการเอกราชอย่างแท้จริง เพราะเขาอ้างว่ายังตกเป็นอาณานิคมของรัฐบาลไทย

หากตํานานนั้นยังคงถูกยึดถือและสนับสนุน ในกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย จงเชื่อเถิดว่า จนถึงโลกอวสานการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

ของประเทศไทย จะล้มเหลวหรือเพียงแค่การพูดคุยให้เสียเวลาเท่านั้น โดยหวังว่าคณะพูดคุยชุดใหม่จากรัฐบาลไทยและผู้อํานวยความสะดวกคนใหม่จากมาเลเซีย และกลุ่มบีอาร์เอ็นแบ่งแยกดินแดนจำเป็นต้องมีจิตวิญญาณใหม่เพื่อให้แน่ใจว่าการพูดคุยไม่ใช่แค่การประชุมดื่มกาแฟที่ไม่มีอะไรคืบหน้าเลย

นั่นคือเหตุผลที่กลุ่มพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยอ้างว่า พวกเขาเป็นตัวแทนของชาวมุสลิมต้องมีความจริงใจในการสร้างสันติภาพถาวรในภาคใต้ของประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องผิดเมื่อมีการอ้างว่าโต๊ะเจรจาถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่กล่าวกันว่าพวกเขาเป็นคนสองสัญชาติและใช้ชีวิตอย่างหรูหรา

กลุ่มที่กล่าวหาว่า หากเป็นเช่นนั้น สันติสุขจะเกิดขึ้นได้อย่างไร หากความขัดแย้งถือเป็น “กําไร

ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับกลุ่มที่พูดคุยเพื่อพิสูจน์ว่า พวกเขาจริงใจหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าชาวมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ต้องการดำรงชีวิตอยู่อย่างสงบสุขในบ้านเกิดของตนเองต่อไป…