ปัตตานี- เทศบาลตำบลหนองจิก ร่วมมือ7 ชุมชน ยกระดับธนาคารขยะเป็นต้นแบบของจังหวัดปัตตานีเพิ่มรายได้ในรูปแบบเงินออม 

0
168
ปัตตานี- เทศบาลตำบลหนองจิก ร่วมมือ7 ชุมชน ยกระดับธนาคารขยะเป็นต้นแบบของจังหวัดปัตตานีเพิ่มรายได้ในรูปแบบเงินออม 
ปัตตานี- เทศบาลตำบลหนองจิก ร่วมมือ7 ชุมชน ยกระดับธนาคารขยะเป็นต้นแบบของจังหวัดปัตตานีเพิ่มรายได้ในรูปแบบเงินออม 

ปัตตานี- เทศบาลตำบลหนองจิก ร่วมมือ7 ชุมชน ยกระดับธนาคารขยะเป็นต้นแบบของจังหวัดปัตตานีเพิ่มรายได้ในรูปแบบเงินออม 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ที่ ลานกีฬาชุมชนวัดมุจลินทวาปีวิหาร หมู่ที่ 1 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเป็นประธานกิจกรรมถอดบทเรียนการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของเทศบาลตำบลหนองจิก มี นายอำเภอหนองจิก ท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี  หัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ในพื้นที่ อำเภอหนองจิก เข้าร่วม

นายอรรณพ คณานุรักษ์ ท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายใต้หลักการ 3 ช คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ จังหวัดปัตตานีจึงได้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารขยะตามเป้าหมายการขับเคลื่อนของกระทรวงมหาดไทย “1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ” ครบถ้วน 100% คือ จำนวน 113 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวนธนาคารขยะรวมทั้งสิ้น 123 แห่งเพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank)เกิดความยั่งยืนและเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานธนาคารขยะให้กับประชาชนได้เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ จังหวัดปัดตานีจึงได้พิจารณาคัดเลือกเทศบาลตำบลหนองจิก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้นแบนเพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จการขับเคลื่อนธนาคารขยะร่วมกับประชาชนในพื้นที่

นายสุกรี เจะกูโน นายกเทศมนตรีตำบลหนองจิก กล่าวความรู้สึกว่าดีใจที่เทศบาลตำบลหนองจิก ได้รับคัดเลือกเป็นธนาคารขยะต้นแบบของจังหวัดปัตตานี โดยการร่วมมือจาก7 ชุมชนในอำเภอหนอกจิก ผลตอบรับ ประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และเป็นสมาชิกด้วยความเต็มใจ มีรายได้ในรูปแบบของเงินออม  จำนวนขยะลดลง ชาวบ้านมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการคัดแยกขยะ ส่งผลให้ทุกชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้เรื่องธนาคารขยะและช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย

ภาพ/ข่าว/บดินทร์ ทีมข่าว@ชายแดนใต้