ปัตตานี – ต้านเหมืองบานปลาย “เครือข่ายพิทักษ์เขาเตราะปลิง” เปิดวัดประท้วง ไม่เอาสัมปทานเหมืองหิน ก่อธุรกิจเดือดร้อนประชาชน

0
316

4 ธันวาคม 66 ที่วัดเตราะปลิง ต.ทุ่งกล้า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี
มีความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณี บริษัทแห่งหนึ่งขอสัมปทานบัตรเหมืองหิน ในพื้นที่ ประชาชนที่ต่อต้านในนามกลุ่ม “เครือข่ายพิทักษ์เขาเตราะปลิง” เปิดเวทีไม่เอาโรงงานระเบิดแร่หิน มีนักวิชาการได้แก่ อ.เกื้อ ฤิทธิกูล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลสะบ้าย้อย จ.สงขลานายประหยัด บุญเติม ปราชญ์ชาวบ้าน ทนายความ และ ตัวแทนชาวบ้าน 10 กว่าหมู่บ้าน ในบริเวณโดยรอบที่ได้รับผลกระทบ ต่างเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นกว่า 300 คน

ในการเปิดเวทีร่วมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ นอกจากมีประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมแล้วยังมีประชาชนจากภายนอกพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียงได้ร่วมเดินทางมาเพื่อเข้าร่วมรับฟังและสังเกตการณ์ นอกจากนั้น ตัวแทนพรรคการเมือง พรรคก้าวไกล พรรคประชาชาติ เจ้าหน้าที่ราชการ หน่วยงานฝ่ายความมั่นคง ได้เดินทางร่วมสังเกตการณ์ในครั้งนี้อีกด้วย
บริษัทที่รับสัมปทานครั้งนี้เป็น บริษัทในเครือของสหกรณ์ อิบนุอัฟฟาน มีการทำธุรกิจซีเมนต์ และคอนกรีต เป็นกลุ่มสหกรณ์ใหญ่ในพื้นที่ มีเงินหมุนเวียน หลายร้อยล้านบาท เมื่อสอบถามไปทางบริษัท ถึงเรื่องนี้ปรากฎว่า ยังปิดปากเงียบ ยังไม่พร้อมออกมาชี้แจง
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบแสดงจุดยืนให้ยกเลิกเวทีรับฟังความเห็น ที่ไม่เป็นธรรม ให้ทำประชาพิจารณ์อย่างโปร่งใส เพราะเป็นแหล่งต้นน้ำ กระทบกับแหล่งน้ำ ป่า เขา วัด สวนนา ของชาวบ้าน และชุมชน ภายในเวทีรับฟังความคิดเห็น มีการขึ้นแขวนป้ายต่อต้านโรงโม่หิน ไม่เอาเหมืองหิน ต่อต้าน ไม่


ซึ่งก่อนหน้านี้ มีการจัดเวทีรับฟังประชาพิจารณ์ แล้วครั้งหนึ่ง เมื่อเดือนมิถุนายน ของฝ่ายที่สนับสนุนบริษัทที่ได้สัมปทานเหมือง และเวทีไม่เปิดกว้าง ปิดรับฟังอีกฝ่าย จนเกิดการปิดประท้วง เข้ายึดเวทีจากชาวบ้านอีกฝ่าย เกิดการล้มเวที ชุลมุนวุ่นวาย จนต้องยุติเวทีกันไปแล้ว
นายประหยัด บุญเติม ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ กล่าวว่า การทำเหมืองหินแร่บนภูเขา บริเวณใกล้ถนนหลัก มันจะต้องเกิดผลกระทบ ต่อชาวบ้านที่อยู่โดยรอบในรัศมีอย่างน้อย 10 กิโลเมตร อย่างแน่นอน ซึ่งในพื้นที่โดยรอบเขาลูกนี้ประกอบด้วย แหล่งน้ำบนภูเขา ที่เป็นแหล่งน้ำในการ ใช้ ทำพืช สวน ไร่ นาของชุมชน ไม่ต่ำกว่า 10 หมู่บ้าน 3 ตำบล อีกทั้ง มีวัด และ ชุมชน ที่ต้องได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง และ ระบบเสียง ทั้งการระเบิด จะทำให้ทรัพยากร สัตว์ เลี้ยงอยู่ในพื้นที่ หนีไปด้วย เรา ไม่ได้มาขัดขวาง ความเจริญ แต่อย่างใด แต่อยากให้ การทำธุรกิจ ทำเหมืองใดๆ ทั้ง ทำในที่ที่เหมาะสม ให้เกิดประโยชน์จากชาวบ้านในพื้นที่ พี่แจงเมื่อกี้ อย่างแท้จริง ไม่กระทบกับชาวบ้าน มีการได้ประโยชน์ถึงชาวบ้าน ได้จริงๆจังๆไม่หลอกชาวบ้านอันนี้เราก็พร้อมที่จะสนับสนุน
ผู้สื่อข่าวติดตามชาวบ้านเพื่อไปยังจุดบริเวณที่ใกล้กับภูเขายังโด๊ะ หรือชาวบ้านเรียกว่าเขาเตราะปลิง ที่เป็นเขาที่จะทำเหมืองแร่หินแกรนิต โดยมีบริเวณที่จะทำเหมืองหินกว่า 152 ไร่ และยังอยู่ใกล้กับชุมชนที่ชาวบ้านอาศัยอยู่เช่นกัน ซึ่งตัวแทนชาวบ้านได้เล่าว่ากับผู้สื่อข่าวว่า เมื่อ 30 ปีก่อนก็เคยมีการทำเหมืองที่ภูเขามาแล้ว ครั้งนั้นทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ทั้งฝุ่น ทั้งก้อนหิน รวมไปถึงสายน้ำที่ไหลมาจากภูเขาที่ชาวบ้านใช้สำหรับอุปโภคในทางการเกษตรเสียหายอย่างหนัก สวนยาง สวนมะพร้าว และพื้นที่ทางการเกษตรกรรม กว่า 381 ไร่ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านเสียหายแทบทั้งสิ้น อีกทั้งน้ำที่ไหลมาจากภูเขายังเอาทรายจากการทำเหมือง พัดมายังพื้นที่ไร่ของชาวบ้านทำให้โดนทรายถมหน้าดินไปจนหมดพืชและผลไม้ที่ปลูกก็ตายหมด คลองที่เมื่อก่อนสามารถลงเล่นน้ำได้ก็ตื้นเพราะทรายที่ทับถม รวมไปถึงก้อนหินด้วยเช่นกันที่อยู่ในสายน้ำ ซึ่งชาวบ้านบอกว่านั่นคือหินจากการทำเหมือง ไม่ใช่หินตามธรรมชาติ

ทีมข่าว@ชายแดนใต้ ปัตตานี