สกู้ป:ข่าวลวงกับสถานการณ์ ต้าน Fake news ชายแดนใต้

0
1005

ในบริบทที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นที่มีอยู่ ข่าวลวงยิ่งทวีให้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และผลกระทบต่าง ๆ ต่อไปอย่างกว้างขวางขึ้น  15 ปีของความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่ายังไม่มีการศึกษาด้านข่าวลวงอย่างละเอียดเพียงพอ ส่งผลให้ผู้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังขาดความตระหนักรู้ต่อปัญหาข่าวลวงว่ามีผลกระทบต่อตนเองและสังคมมากเพียงใด  จากเหตุผลดังกล่าวกลุ่มดิจิทัลเพื่อสันติภาพ (Digital4Peace : D4P) ซึ่งเป็นองค์กรเทคโนโลยีภาคประชาชน (Civic technology)เพื่อสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริช เนามัน (Friedrich Naumann Foundation for Freedom) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และและ Centre ofHumanitarian Dialogue  จึงจะร่วมจัดโครงการชื่อว่า  Fighting Fake News Hackathon: โครงการ Hackathon  เพื่อจัดศึกษาสถานการณ์ข่าวลวงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในวันที่ 25 กันยายน 2562 ณ ห้องสะบารัง 2 โรงแรมซี.เอส. ปัตตานี ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาสถานการณ์ข่าวลวงในบริบทของพื้นที่พร้อมจัดทำรายงานสถานการณ์ข่าวลวงใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Deep South’s Fake News Situation Report) และเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในด้านการต่อต้านข่าวลวง ระหว่างนักวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม ผู้นำศาสนา แกนนำชุมชน ตลอดจนหน่วยงานรัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันจะเป็นส่วนหนึ่งในการหนุนเสริมบรรยากาศแห่งสังคมสันติภาพต่อไปในอนาคต

ตลอดช่วง 15 ปีความไม่สงบ และสถานการณ์ข่าวลวงในจังหวัดชายแดนใต้ การสื่อสารของคนในชายแดนใต้ยุคโซเชียลมีเดีย10 ปีที่ผ่านมา มีการช่วงชิงทางด้านพื้นที่การสื่อสารจากหลายๆฝ่าย ในพื้นที่ความขัดแย้ง ที่มีเค้าโครงจะสร้างความรุนแรงทวีมากขึ้น การเข้าถึงสื่อและเสพสื่อของคู่ขัดแย้งเข้าข้างฝ่ายตนเอง ทำอย่างไรเพื่อให้การสื่อสาร การโจมตีกันด้วยการสร้างข่าวสาร การดิสเครดิตกันระหว่างคู่ขัดแย้ง ให้เบาบางลง ลดทอนความขัดแย้งจนแสวงหาทางออกและตลอดจนแนวโน้มการแก้ปัญหา ให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

โดยในการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีการตั้งวงพูดคุยการจัดวงถกถึงปัญหาและการแลกเปลี่ยนกันระหว่างองค์กรต่างๆ ในหลายๆภาคส่วน และหาทางออกด้วยการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยกัน

ช่วงแรกมีการบรรยายให้ความรู้ เรื่อง “จากฟอร์เวิร์ดเมล์ ถึง ดีพเฟค บทเรียนการรับมือสงครามข้อมูลข่าวยุคดิจิทัล” From Forwarded mail to Deep Fake: How we handle mis/disinformation in digital age? โดย พีรพล อนุตรโสตถุ ผู้ร่วมก่อตั้งรายการชัวร์ก่อนแชร์

และต่อด้วยเวทีสานเสวนาในห้วข้อ “เฟคนิวส์กับภัยคุกคามการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้” โดย ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา ผู้ทำงานด้านการสื่อสารมากประสบการณ์จากส่วนกลาง,นายเอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นักวิชาการในพื้นที่ ,นายมาหามะสาบรี เจ๊ะเลาะ ผู้ผลิตหนังสั้นในพื้นที่ท่ามกลางความขัดแย้ง  มาเล่าประสบการณ์การทำงานที่ยุ่งยาก,และนาย มะรูฟ เจะบือราเฮง ผู้อำนวยการสมาคมดิจิทัลเพื่อสันติภาพ (Digital4Peace)พูดถึงปัญหาการสื่อสารของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่และ สุภิญญา กลางณรงค์ อดีต กสทช./ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ดำเนินรายการ มูฮัมหมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ รวมถึงมุมมองนักคิดดิจิทัลเยาวชน คนรุ่นใหม่นักสื่อสารมวลชนในพื้นที่ ภาครัฐฝ่ายกองรการรักษาความมั่นคงสันติวิธี และนักทำงานภาคประชาสังคม หลายๆฝ่ายได้แลกเปลี่ยนและตั้งข้อสังเกตุด้วย

มะรูฟ ฯ กล่าวถึงการสร้างข่าวลวงว่า ถ้าศึกษากันแล้วการสร้างสื่อมีพลวัตมีการเปลี่ยนแปลงของมันอยู่ มีการสร้างข่าวในสนามรบ ในทางการเมือง เพื่อการสร้างประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด การสร้างภาพลักษณ์ การสร้างข่าวลวง ปล่อยข้อมูลข่าวสารการฟอเวอรด เมล  ตั้งแต่สื่อกระดาษแจกใบปลิว มาถึงยุคนี้ ปัจจุบันการสื่อสารในยุคดิจิตัล เครื่องมือเปลี่ยนไปแต่กระบวนการข่าวลือ ข่าวปลอม ยังคงต้องเกิดต่อไป  เมื่อเกิดข่าวลวงเกิดความเกลียดชัง ต้องสกัดไม่ให้เกิดข่าวลวง ต้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหาร่วมกัน มาจากหลายๆองคกร หลายๆมุม เพื่อให้การป้องกันการลดทอนการสร้างข่าวปลอม โดยใช้สื่อที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธภาพสูงสุด เพื่อให้เกิดสันติสุข สันติภาพในพื้นที่ได้อย่างแท้จริงครับ

ด้าน เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี กล่าวถึงการเสียดสีและตลกว่า เป็นการท้าทายอำนาจ ไม่มีเจตนาให้น่าเชื่อถือ ปักหลักเพื่อล้อเลียนกับสิ่งที่ไม่เห็นด้วย ขึ้นอยู่กับภูมิความรู้ต้านทานของคนในสังคมนั้นๆ จากนั้นคือการจงใจให้เกิดการเข้าใจผิด หากไม่สังเกตหรือไม่ท่าทันสื่อจะไม่เห็นเลย การตัดต่อปลอม หรือปลอมทุกอย่าง ระนาบของการสื่อสาร มีการไหลเวียนของข้อมูลระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ ข่าวจะเชื่อมโยงกันหมด  อย่างกระแสอิสลามโฟโมเบียที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่ตนเองทำวิจัยอยู่นั้น การเข้าใจผิดทุกอย่างต้องสร้างด้วยความเข้าใจ การพูดคุย ในโลกออนไลน์นั้นสร้างความน่ากลัวมากกว่าออฟไลน์ ซึ่งในความเป็นจริงแม้ในโลกออนไลน์จะโจมตีกันอย่างรุนแรง แต่ในความเป็นจริงสำหรับในเมืองไทยยังมีทุนทางสังคมอยู่ร่วมกันมานาน เรายังอยู่ร่วมกันได้ทุกศาสนา ไม่ทำให้เกิดความรุนแรง ไม่ได้สร้างความเกลียดชังกันอย่างจริงจัง ยังยอมรับมิติ มีความอดทนสูง เพิ่มข้อเสนอแนะด้านกฎหมายด้วย หากจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ต้องมีพื้นที่การพูดคุยกันสร้างความเข้าใจกันมากกว่า ในด้านการสร้างสื่อก็มีความสำคัญ สื่อต้องสู้กับความจริง สื่อต้องเสนอความจริง สู้ความลวงด้วยความจริง มีข้อมูลที่พิสูจน์ข้อเท็จจริง ถ้าสามารถทำให้ได้มากขึ้น ชัดเจนมากขึ้นจะสร้างความน่าเชื่อถือ และคนจะเข้ามาหาเอง เลือกได้เอง จะช่วยได้อย่างมากครับ”

ส่วน ผศ.ดร.เอื้อจิต กล่าวว่าการสื่อสารเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ต้องเป็นความสนใจร่วม สงสัยร่วม มีกลุ่มหลากหลายเฝ้าระวัง วิเคราะห์สถานการณ์จริง ถอดรหัส สื่อสารเผยแพร่ จับตาดูการสื่อสารที่ไม่ปรารถนาดี สร้างวัฒนธรรมการสื่อสารเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง หากกลุ่มหนึ่งในสังคมยังเชื่อในการตั้งอคติ กระแสการเกลียดชัง การเข้าใจผิด การตั้งเกณฑ์ต่างๆ จะทำให้เห็นได้ว่าอยู่ในฝ่ายใด หากการสื่อทำให้ความจริงชนะความลวง วิเคราะห์จากปัญหา เวลาจะพิสูจน์ การลงมือทำคือความสุขในพื้นที่

“จริงๆแล้วการต่อสู้เรื่องข้อมูลข่าวสารมีมาตั้งนานแล้ว แต่เฟคนิวส์ในปัจจุบันมีเวทีการสื่อสารในมิติที่เปิดแพร่กระจายได้กว้างไกลยิ่งขึ้น เป็นส่วนที่ทุกคนตระหนกกังวล ด้วยการทำซ้ำแล้วซ้ำอีก เห็นแล้วเห็นอีกสร้างปัญหามากขึ้น จะรอให้ทางฝ่ายรัฐลงมาแก้ต่างหรือแก้ปัญหาฝ่ายเดียวนั้นไม่ได้แล้ว ทุกๆฝ่ายต้องหันมาช่วยเหลือกัน จากหลายๆองค์กร แต่ละมุมมองในทุกองค์กรนั้น สามารถเดินไปด้วยกันได้ เพื่อการจัดการกับสื่อได้ดียิ่งขึ้น ทุกฝ่ายอาจต้องปรับเป็นข้อเสนอร่วมกันก่อนเผยแพร่  การแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี การใช้สมารทโฟน ที่มีอยู่ในมือทุกคน ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสุดท้ายยังเชื่อมั่นว่าสื่อดี สื่อที่ต้องการสร้างความจริงและสร้างสรรค์ มีอุดมคติ จะสร้างสรรค์งานที่ดี และเกิดสันติสุขให้ได้ต่อไป” สุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวสรุป

นายมูฮัมหมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้กล่าวถึงข่าวลวงในพื้นที่ว่า “ในพื้นที่ความขัดแย้งที่มียาวนาน นั้นการสื่อสารต้องเดินไปด้วยกันกับกระบวนการสันติภาพ เมื่อพื้นที่มีความขัดแย้ง ก็จะมีข่าวปลอม ข่าวลวง มาเพิ่มความขัดแย้งในพื้นที่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้นในโซเชียลมีเดียอีก  เพราะฉะนั้นต้องระวัง ย้ำว่าให้ทุกคนก่อนจะแชรข่าวใดๆนั้นต้องไม่สร้างความอดติและไม่เพิ่มความเกลียดชังในพื้นที่ให้มากขึ้น แนวโน้มในอนาคตการแก้ปัญหานั้นต้องมียุทธศาสตร์จัดการกับข่าวจริงข่าวลวงในชายแดนใต้เป็นอย่างไร ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน สร้างเป็นเครือข่าย ทางเพจต่างๆ และกลุ่มต่างๆทั้งภาคประชาสังคมและภาครัฐ หันมาจัดการกับข่าวจริงข่าวปลอม เสนอในแง่ข้อเท็จจริง มิเช่นนั้นหาก ยังปล่อยให้มีการแชร์ข่าวปลอมเข้าหากันแล้ว ความขัดแย้งจะคงมีอยู่และจะเพิ่มมากขึ้นไปอีก”

และช่วงสุดท้าย ในเวทีแลกเปลี่ยน การถกประเด็นกันตลอดวันนี้ได้มีข้อสรุปเรียกว่า “ปฏิญญาปัตตานี : เพื่อต่อต้านเฟคนิวส์หนุนเสริมกระบวนการสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การช่วยกันแก้ปัญหาข่าวลวงในโซเชียลมีเดีย ทุกคนจะร่วมกันเพื่อลดปัญหาข่าวลวงข่าวปลอมที่เกิดขึ้น ตามกำลังและศักยภาพ  5 ข้อ ดังนี้

1 ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือซึ่งกันและกัน ในภาคีเครือข่ายทั้งภาคประชาสังคม

ภาครัฐ ภาควิชาการ สื่อท้องถิ่น และสถาบันศาสนา เพื่อสร้างความตื่นตัว สนใจในข้อมูล

ข่าวสารทั้งที่ใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน และที่เกี่ยวกับความขัดแย้งอันเป็นอุปสรรค

ต่อกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจะร่วมกันทำงานเพื่อรับมือ ติดตาม

ตรวจสอบ รายงาน เผยแพร่ข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ และรวมพลังต่อต้านข่าวลวงในทุกระดับ

ของสังคม  2 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจ

ในการรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสาร สื่อสารสนเทศและดิจิทัล เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อปัญหาข่าวลวง

เพื่อลดคติ และความเกลียดชัง อันนำไปสู่การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้าง

สันติภาพ และพัฒนาประชาชนไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizen)  3 พัฒนากระบวนการ รูปแบบการทำงานและนวัตกรรม ตลอดจนเครื่องมือหรือกลไก

เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมข่าวลวงอย่างมีส่วนร่วม 4 เพิ่มพื้นที่กลางเพื่อการสื่อสารความจริงอย่างสร้างสรรค์และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ

ระหว่างผู้คนในสังคม 5.สนับสนุนการรวมพลังเพื่อผลักดันให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ มีมาตรการในการลดการ

เกิดขึ้นของข่าวลวง ร่วมสกัดกั้นการแพร่กระจายของข่าวลวงอย่างรวดเร็ว ด้วยความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นในการร่วมสร้างสื่อ และการสื่อสารเพื่อสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน

สุกรี มะดากะกุล บก.@ชายแดนใต้