จากงานวิจัยโดย​. ศาตราจารย์​ดร.ครองชัย​ หัตถา  ภาควิชาภูมิศาสตร์​คณะมนุษยศาสตร์​และสังคมศาสตร์​มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​

    จากปัตตานี​อดีตสู่ปัจจุบัน​ มีความเป็นมาและเป็นไปทางประวัติศาสตร์น่าสนใจอย่างยิ่งนัก​ ​  เป็นดินแดนแหลมทางตอนเหนือของคาบสมุทร​มลายู​ ใช้ภาษามลายู​ มีหลักฐาน​การตั้งถิ่นฐานมายาวนานมากว่า​ พันปี​ มาแล้ว​

    ชื่อปัตตานี​  ปรากฎ​ในเอกสาร​ต่างประเทศแตกต่างกันไปหลายชื่อ​เรียกตามสำเนียงนั้นๆ และระยะเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว​ ​ ทั้งชาวยุโรป​ อาหรับ​ จีน​ ญี่ปุ่น​ และชวา​ ต่างเข้ามาค้าขาย​ ปฎิสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน​ มีหลายชื่อเรียก​ เช่น​ Fatony Patane patani petani patany patanji.​ Pathane. Pathani​.patania.มลายูเรียก​ปาตานี​ หรือ​ปตานี​  ส่วนไทยเรียก​ตานี​ เมืองตานี​   มาเรียกปัตตานี​ อย่างเป็นทางการครั้งเมื่อ​สมัยร.5​ ในการจัดตั้งมณฑล​ ปัตตานี​ เมื่อ​พศ.​2449  และต่อมากลายมาเป็น​ จังหวัดปัตตานี​ ในปัจจุบัน

การปกครองของเมืองปัตตานี​พ.ศ 2043 ถึง 2445 ตามประวัติศาสตร์ปัตตานีถือว่ากษัตริย์ผู้บุกเบิกสร้างนครปัตตานีคือพญาท้าวนภาหรือพญาตูนักปา  ซึ่งขณะนั้นยังปกครองเมืองโกตามหาลิฆัย​  ต่อเมื่อพญาท้าวนภาสิ้นพระชนม์โอรสของพระองค์คือพระยาอินทิราได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามปัตตานีจึงกลายเป็นนครอิสลามโดยสมบูรณ์และมีชื่อใหม่ว่านครี”ปตานีดารุสลาม” patani Darussalam )
การเข้ามาของศาสนาอิสลามทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อประเพณีการศึกษาและการเมืองการปกครองในสังคมมลายู (mind. Zambezi  a.  Malek, 1994:13)

พญาอินทิราหลังจากเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามแล้วได้เปลี่ยนพระนามเป็นสุลต่านอิสมาอีล ชาห์ ซิลลุลลอฮฟิล อลาม( sultan Isma’il Syah zillulah FIL  A’lam) (Fraser, 1960:2)
พระองค์ทรงมีโอรสและธิดารวม 3 พระองค์ องค์โตเป็นโอรสชื่อ เกอรุป พิชัย ภายหน้า (kerub phicai paina ) องค์กลาง​ เป็นธิดาชื่อ ตนกู​ มหาชัย  tunku mahachai   องค์เล็ก เป็นบุตรชายชื่อ มหาชัยภายหลัง mahacai pailan  โอรสของสุลต่านทั้งสองพระองค์ได้เป็นกษัตริย์ของปัตตานีในเวลาต่อมา คือเกอรุป พิชัย ภายหน้า ได้เป็นสุลต่าน มุซัฟฟาร ชาห์ ละองค์สุดท้องคือมหาชัย ภายหลัง เป็นสุลต่าน มันโซร์ ชาห์ (teeuw and Wyatt, 1970:148-152)  ส่วนธิดาคือตนกูมหาชัยเปลี่ยนพระนามเป็น สิตตี อาอิชะห์  ซึ่งต่อมาพระองค์ได้เป็นมเหสีของสุลต่าน​จาลาล แห่งเมืองสายบุรี​(Teeuw and Wyatt, 1970″11)
, สุลต่านมูซัฟฟัร​ ชาร์.. มีโอรส 2 พระองค์คือ สุลต่าน ปาติกสยาม​Patik Siam และราชามัมบัง​  ( raja babang)​ ส่วนสุลต่านมันโซร์ ชาห์​มีโอรสและธิดา​รวม​6​พระองค์​  3พระองค์แรกเป็นธิดา​ซึ่งต่อมา​ได้เป็นกษัตริย์ปัตตานี​ ได้แก่​ราชินีฮิเยา​Raja​(HIJAU)​ราชินี​ บีรู​ (Raja​ Biru)​ ราชีนีอูงู​ (raja.Ungu)​ องค์ที่4 เป็นโอรส​ ชื่อ​ ราชาบีมา​ (raja​ bima)​ องค์ที่5​ ชื่ิอ​รายามัส กรันจัง​(Raja​ Emas Kerancan)​และองค์ที่​6​ชื่ิอสุลต่าน​บาฮาดูร ชาห์( bahadu​ syah)​ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์​ของปัตตานี​ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์​ ระหว่างปี​ พศ.​2116-2127

สมัยนั้น​เป็นลักษณะนครที่เป็นเอกเทศ​ ปกครองตนเองอิสระ​ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่​ 3จังหวัด​ชายแดนใต้และ​ ​4​ อำเภอ​สงขลา​ มีค่าเงินของตนเอง​ มีตราประทับ​  และเป็นเมืองท่าสำคัญ​รู้จักของ​ นานาประเทศ

………… (โปรดติดตามต่อ)…………..