ปัญหานมโรงเรียนที่ยะลาขาด ไม่จัดส่งตามเกณฑ์ โรงเรียนต้องแบกภาระหลายล้านหาทุนสำรองจ่าย

0
1370

พบปัญหานมโรงเรียนที่ยะลาขาด ไม่จัดส่งให้ตามเกณฑ์ โรงเรียนต้องแบกภาระหาทุนสำรองจ่าย จัดสรรให้นักเรียนได้ดื่มนมไปก่อน

เมื่อวันที่ 17 พ.ค.61 ที่โรงเรียนดารุนฮูดา อ.รามัน จ.ยะลา  ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ใน อ.รามัน จ.ยะลา มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนเกือบ 4000 คน กำลังประสบปัญหานมโรงเรียน ไม่จัดส่งให้ตามเกณฑ์ทางโรงเรียนต้องหาทุนสำรองจ่าย จัดสรรให้นักเรียนได้ดื่มนมต้องใช้งบประมาณหลายล้านบาท

นายมูฮำหมัด ดือมอ รองผู้อำนวยการโรงเรียนดารุนฮูดา เปิดเผยว่าตนเองรับผิดชอบเรื่องนมโรงเรียน ตั้งแต่เปิดภาคเรียนมา วันที่ 15 พ.ค.61 ถึงวันนี้ ( 17 พ.ค.61 ) ทางโรงเรียน ยังไม่มีหน่วยงานใดมาแจกจ่ายนม ปีที่ผ่านมา ปี 2559 ทางโรงเรียนได้รับเฉพาะนมกล่อง เป็นยูเอชที ส่วนนมพลาสเจอร์ไรท์นั้นยังไม่มีหน่วยงานใดมาติดต่อส่งให้โรงเรียน ที่ผ่านมาได้รับการจัดสรรนม ตามระเบียบของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ให้กับนักเรียน ซึ่งทางโรงเรียนจำเป็นต้องหาทุนสำรองจ่าย เพื่อสรรหานมมาให้เด็กนักเรียนได้รับประทานกันไปก่อน โดยไม่ทราบว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้น และไม่มีการส่งหนังสือแจ้งมายังโรงเรียนเพื่อให้รับทราบแต่อย่างไร

“โดยที่ผ่านมานั้นตามเกณฑ์ของสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ต้องมีการทำรายงานระบุว่า ในจำนวน 130 วัน นั้น นักเรียนได้ดื่มนมชนิดใดบ้าง โดยใน 100 วันนักเรียนจะได้ดื่มนมพลาสเจอร์ไรท์ อีก 30 วัน จะเป็นนมกล่อง UHT ที่นักเรียนจะต้องนำกลับไปดื่มที่บ้าน แต่ในภาคเรียนที่ผ่านมา นักเรียนได้ดื่มนมกล่อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ากำหนด โดยทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กำหนดให้ราคานมต่อหัวนักเรียนจำนวน 7 บาท แต่ นมกล่องที่ได้รับมานั้น มีราคา 7.85 บาท ซึ่งส่วนเกินจากราคาที่กำหนดนั้นทางโรงเรียนจำเป็นต้องรับภาระในการจัดหางบประมาณมาใช้จ่าย เพราะหากไม่ทำตามนั้น นักเรียนก็จะไม่ได้ดื่มนม”

ทางตัวแทนบริษัทแจ้งว่าทางบริษัทได้รับจัดสรรจาก องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ในโซนโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งไม่ทราบว่ามีกี่โรงต้องได้รับนมกล่องเท่านั้น ส่วนโซนอื่นตามเกณฑ์สัดส่วนที่มีการคุยในระดับเบื้องบน ไม่มีสิทธ์ที่จะโต้เถียงอะไร เพราะว่าทางโรงเรียนดารุนฮูดา ปีนี้เหมือนกับหยิบฉลากแล้วต้องได้นมกล่องเท่านั้น นมอื่นไม่มีสิทธ์ แต่ 4-5 ปีที่ผ่านมามีนมถุงมาด้วยตามปกติ อยากจะให้หน่วยงานที่รับผิดขอบจัดสรรเหมือนกับโรงเรียนทั่วไป ตามเกณฑ์ที่ กำหนด อยากให้มีนมถุงบ้าง สัดส่วนนั้นจะไม่ครบ โรงเรียนต้องรับภาระทำให้โรงเรียนมีปัญหาที่ตั้งงบมา

มีรายงานว่ากรณีการเกิดปัญหาส่งนมโรงเรียนไม่ทันตามกำหนดเปิดภาคเรียนในหลายพื้นที่ พบว่า เป็นผลมาจากการประชุมบอร์ดบริหารการจัดการเรื่องนมโรงเรียน โดยองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ที่ยังมีการประชุมไม่ลงตัว จึงส่งผลให้การกำหนดแจ้งสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการมีความล่าช้า ทำให้การจัดสรรและผลิตนมส่งให้โรงเรียนไม่ทันตามกำหนด

ภาพ/ข่าว มูกะตา หะไร ทีมข่าว@ชายแดนใต้ ยะลา