ราชภัฏยะลา อบรมเชิงปฏิบัติการ แนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ และกิจกรรมปฐมทัศน์ สารคดีอาชีพในโลกปัจจุบันและอนาคต ของนักเรียนชายแดนใต้ในยุค Thailand 4.0

0
383

ที่ ห้องฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษา ชั้น 3 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมปฏิบัติการ การแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ และกิจกรรมปฐมทัศน์สารคดีอาชีพในโลกปัจจุบัน และอนาคต ของนักเรียนในพื้นที่ชายแดนใต้ในยุค Thailand 4.0

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง  การแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุค Thailand 4.0 ในพื้นที่ชายแดนใต้ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี คุณครูจากโรงเรียนเครือข่ายการแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ คณาจารย์ นักศึกษา แขกผู้เกียรติ และสื่อมวลชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

อาจารย์จันจลี ถนอมลิขิตวงศ์ อาจารย์หลักสูตรการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับผิดชอบโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งในเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่างมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นประธานเครือข่าย ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นมา ซึ่งในขณะนั้นมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 โรงเรียน ปีงบประมาณ 2560 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 16 โรงเรียน และในปีงบประมาณ 2561 นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ให้มหาวิทยาลัยขยายโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งสิ้น จำนวน 30 โรงเรียน โดยได้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ 2561 นี้ มหาวิทยาลัยได้จัดโครงการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง  การแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุค Thailand 4.0 ในพื้นที่ชายแดนใต้  ซึ่งในโครงการได้กำหนดให้มีกิจกรรมการอบรมปฏิบัติการ การแนะแนวการศึกษาสู่อาชีพ ให้กับคุณครู และบุคลากรในโรงเรียนขยายผลในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27 – 29 มีนาคม 2561 และกิจกรรมปฐมทัศน์

ด้าน ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2561 นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ดำเนินงานตามโครงการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 ซึ่งนับว่า เป็นโครงการที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เนื่องด้วยปัจจุบันระบบการแนะแนวในพื้นที่ยังขาดบุคลากรเฉพาะทาง และขาดสารสนเทศทางการแนะแนว โดยเฉพาะในเรื่องของอาชีพในพื้นที่ให้กับนักเรียน ซึ่งการจัดโครงการดังกล่าวนี้จะช่วยพัฒนาระบบ การแนะแนวในโรงเรียนให้เข้มแข็งขึ้น ประการสำคัญกระบวนการแนะแนว ยังช่วยให้นักเรียนสามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน มีทักษะการดำเนินชีวิต รู้จักตัดสินใจในการเลือกแผนการเรียน การวางแผนการประกอบอาชีพ และปรับตัวได้อย่างมีความสุขในชีวิต อันจะนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจเลือกการเรียนและอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองต่อไปในอนาคต

ภาพ/ข่าวมูกะตา หะไร@ชายแดนใต้ ยะลา