ปัตตานี – เตรียมดันนกหัวจุกเป็น Solf Power กลุ่มเลี้ยงนกวอนผู้ใหญ่ เร่งแก้กม.สัตว์ป่าคุ้มครอง

0
500

กลุ่มชมรมผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกเเละผู้เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกจังหวัดปัตตานี จัดอบรมเปา(ผู้ตัดสิน) เพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพ มึความสามัคคีรวมเป็นหนึ่งเดียวก่อนถึงวันเเข่งขันจริง ในวันอาทิตย์ ที่ 25 ก.พ. นี้ ที่สนามกีฬากลาง อบจ.ปัตตานี พรัอมชิงถ้วยรางวัลที่1 จากเเม่ทัพภาคที่4 เเละมีเงินรางวัลกว่าเเสนบาท พร้อมทั้ง
ชิงหางบัตรรางวัลใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์จากผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมสนับสนุนงานในครั้งนี้

วันที่ 14 กพ.67 ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ ห้องมินิเธียเตอร์ ชั้น2 ณ ศูนย์การเรียนรู้ TK Park อุทยานการเรียนรู้ เทศบาลเมืองปัตตานี นายนิอันวา สุไลมาน
นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองปัตตานี ได้เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานในโครงการอบรมการเป็นคณะกรรมการตัดสินนกกรงหัวจุก จัดโดย ชมรมผู้เลี้ยงเเละผู้เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกจังหวัดปัตตานี โดยมีทีมงานหลักผูัเลี้ยงนกเเข่งจากชมรมฯ อย่าง นายอับดุลเล๊าะ สารีมา มานั่งเป็นประธานชมรม เเละนายมูฮำหมัดฟาเมย์ ซันยี เป็นที่ปรึกษาชมรม นายอัสลัม ซันยี เเกนนำกลุ่มผู้เลี้ยงและผู้เพาะพันธ์ุนกกรงหัวจุกคนรุ่นใหม่จ.ปัตตานี

นายนิอัวา สุไลมาน นายกเทศมนตรีฯ กล่าวว่า การเลี้ยงนกกรงหัวจุกในพื้นที่ปัตตานีบ้านเรา เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ชาวบ้านนั้นรวมกลุ่มกันตามร้านน้ำชา เพื่อเเข่งขันประชันเสียงกันมาอย่างยาวนาน
เพราะ นกกรงหัวจุก หรือ นกปรอดหัวโขน เป็นนกที่มีรูปทรงสวย ขนสวย หน้าตาสวยงาม เเละเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเสียงร้องตามท้วงทำนองที่เเตกต่างกัยไปตามเเต่ละสายพันธุ์ จึงทำให้ผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกหน้าใหม่ต่างหันมาสนใจอย่างมาก จะพยายามผลักดันให้เป็นซอล์ฟเพาเวอร์ของจังหวัดให้ได้ ทั้งนี้นายนิอันวา นายกเทศมนตรี ได้มอบเงินสนับสนุนใตการจัดอบรมและการแข่งขันในครั้งนี้ซึ่งคาดว่ามีผู้เลี้ยงนกเข้าร่วมงานกว่าพันคน เเละยังนำนกสำหรับเเข่งขันเข้าร่วมประชันเสียงกว่า1พันตัว โดยใช้กติกาสากลซึ่งเปลี่ยนแปลงตามยุคปัจจุบัน คือ ใช้กติกา 4 ยก 8 ดอก (เเบบนับรวมครบ8ดอกเข้าชิง) (หากกรรมการเข้าช่วงนกริกก็ถือว่าเข้าชิงเช่นเดียวกัน ซึ่งกรรมการผู้ตัดสินจะใช้เวลา 13-14 วินาทึ/ขันน้ำ เเละกรรมการต้องเข้าราวนก 4 ล็อค ต่อกรรมการ 1 คน

นายอัสลัม ซันยี เยาวชนนักเลี้ยงนกกรงหัวจุกเเละยังเป็นผู้ที่เพาะพันธ์ุนกกรงหัวจุกตามสายพันธุ์ เป็นหนึ่งในผู้เข้าอบรมคณะกรรมการตัดสินนกกรงหัวจุก กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ ตลาดขายนกกรงหัวจุกได้แพร่หลายในโลกโซเชียล ไม่ว่าเป็นทางเฟสบุ๊ค ติ๊กต๊อก ฯลฯ โดยมีกลุ่มผู้เลี้ยงรุ่นเก่ารุ่นใหม่ และผู้เพาะพันธ์ุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเเละเเพร่หลายในพื้นที่จังหวัดชายเเดนภาคใต้ สิ่งที่คาดหวังอย่างมากในงานนี้ คือ สำหรับคนรักนกกรงหัวจุกยังคงคาดหวังให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอำนาจผลักดันร่างกฏหมายให้เสร็จสิ้นสักที ทั้งนี้ยังรวมไปถึงพรบ.ควบคุมสัตว์ป่าคุ้มครอง เเละการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าคุ้มครอง ถ้าจะให้นกกรงหัวจุกทุกตัวมาขึ้นทะเบึยนถูกต้องตามกฏหมายนั้นมองว่าเป็นเรื่องยาก จึงอยากจะฝากไปยังผู้เกี่ยวข้องทางด้านนี้ โดยตรงไปยัง กรมอุทยานเเห่งชาติเเละสัตว์ป่าคุ้มครอง ให้เเก้ไขกฏหมายให้สอดคล้องกับผู้เลี้ยงด้วย

สำหรับการจัดการเเข่งขันมหกรรมการเเข่งขันนกกรงหัวจุก ครั้งที่1 ที่ จังหวัดปัตตานี จะขึ้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ทึ่สนามกีฬากลาง อบจ.ปัตตานี มีค่าบัตรค่าเข้าร่วมการเเข่งขันราคา 200บาท เเละมีการจัดอบรมให้กับคณะกรรมการที่เข้าร่วมเป็นผู้ตัดสินกว่า 40 คน โดยใช้กติกาที่ได้รับการยอมรับที่เป็นมาตรฐานทุกสนามเเข่งขันนกกรงหัวจุกในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ คือใช้กติกา 4 ยก 8 ดอก ซึ่งในปัจจุบันการใช้กติกานี้ กลายเป็นกติกาที่ใช้กันทุกสนามการเเข่งขันนกกรงหัวจุกในพื้นที่ สำหรับแข่งขันนกกรงหัวจุกครั้งนี้ คาดว่าจะมีเงินสะพัดหวุนเวียนในพื้นที่หลายล้านบาท
เเละยังเป็นการกระตุ้นภาคท่องเที่ยว ภาคเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีเงินสะพัดในงานหลายล้านบาท

สำหรับพื้นที่ จ.ปัตตานีนั้น ติดหนึ่งในสามเป็นจังหวัด
ที่เป็นผู้มีรายได้น้อยที่สุดในประเทศไทย การจัดงานนี้จะเกิดปรากฏการณ์ใหม่ ทั้งการซื้อขายนก มีการขายอาหารนก รวมทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคี ในกลุ่มคนเลี้ยงนกเเละผู้เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกสายพันธุ์ต่างๆทั่วไทยก็จะไปเพื่อต่อยอดเป็นเม็ดเงินด้านธุรกิจสัตว์เลี้ยงต่อไป

ภาพข่าว/ ตอริก สหสันติวรกุล ปัตตานี