เชื่อมภาษาศิลป์ชมเรือนมลายู เล่าเรื่องเก่าช่างกริช​คนสุดท้ายแห่งปัตตานี​

0
900


   หลังจากสถานการณ์​โควิดคลี่คลาย​ลงในจังหวัดชายแดนภาคใต้​  การจัดกิจกรรมเริ่มกลับมาอีกครั้ง​ อย่างเมื่อ12 พค.ที่ผ่านมา กลุ่มสื่อมวลชน​ เลขาชมรมภาคีสถาปัตย์​ปัตตานี​  ผู้นำท้องถิ่น​ ศิลปิน​ ​ จำนวน 40  คน​ได้ร่วมกิจกรรมรวมตัวกัน​ เดินชมแหล่งวัฒนธรรม “แลถิ่น ท่องอารยธรรม#1” ซึ่งมีนายสมมารถ บารา นายอำเภอสายบุรีมาร่วมงานและพร้อมผลักดันงานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของอ.สายบุรี ในอนาคตด้วย
“Wander Thru the Radiance 1”
  เป็นการเชื่อมโยงโดยการนำชมเรือนมลายูทรงคุณค่าสำคัญหลังหนึ่ง ซึ่งอดีตคือบ้าน แบเอกลักษณ์คนมลายูปัตตานี ของกูรูกริชสกุลช่างปัตตานี ท่านสุดท้าย เป็นการศึกษาเพื่ออนุรักษ์​ไว้ และสร้างพื้นที่ให้เป็นแหล่งศูนย์​เรียนรู้​ทางประวัติศาสตร์​ ด้านศิลปะท้องถิ่น​ ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ต่างเดิน​ทางเข้ามาร่วมกันจำนวนมาก​

  ฟังเรื่องเก่า เล่าอดีต บ้านช่างกริช​  โดย นาย บรอเฮง​  ดอมะ นายกเทศบาลตำบลเตราะบอน อ.สายบุรี​จ.ปัตตานี​ เขาเป็นผู้หนึ่ง​ ที่เข้าใจลึกซึ้งกับ​วัฒนธรรม​และประวัติศาสตร์​ มลายู​และของดีในท้องถิ่น​อำเภอสายบุรี​มายาวนาน​ ในอดีตเขาเคยผ่านงานผู้ช่วยวิจัย​ นายปีแอร ลี โรค นักผลิตสื่อสารคดีชาว​ฝรั่งเศษ​ ช่วยสืบเสาะหาข้อมูลรกรากวัฒนธรรม​เดิมของท้องถิ่น​ เมื่อ​ประมาณ​ช่วง 26 ปีก่อน และเขาเองยังเป็นหลานของ​ อจ. ช่างเจ๊ะเฮง​ และเซ็งชางกริชแห่งสกุลช่างปัตตานี​ด้วย
  เขาเปิดเผยว่าสายบุรี​มีของดีอยู่มาก​ เพราะเคยเป็นหัวเมืองใหญ่​และ เป็นจังหวัดเก่ามาก่อน​ในสมัย​ 7 หัวเมือง เมืองสายบุรีมีประวัติ​ศาสตร์​ยาวนาน​ เป็นเหมือนดังเมืองน้องควบคู่กันกับสมัยนครรัฐปัตตานี​  ที่นี่จึงเป็นแหล่งโบราณที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง​  ที่มีความหลากหลายด้านอารยธรรม​วัฒนธรรม​ มากที่หนึ่ง​ ของผู้คนทั้ง​ 3​ ศาสนา​ ทั้งคนจีน​คนพุทธ​ และอิสลามที่มีประชากรมากกว่าเพื่อน​ ทว่า​คนในปัจจุบัน​ บริบทเปลี่ยนไป​ สิ่งเดิมๆที่เคยมีอยู่ ศิลปวัฒนธรรม​เดิมๆที่ปู่ย่าตายาย​ได้สร้างมานั้น​ หลักฐานต่างๆ เริ่มสูญหายไปจากสายบุรี​ ทีละอย่าง​สองอย่าง​ไปเรื่อยๆแล้ว​ ผมจึงคิดว่าเราคงจะต้องทำบางอย่าง​ ให้วัฒนธรรม​กลับมาอีกครั้ง​ เราน่าจะผลักดันให้มีพิพิธภัณฑ์​ หรือศูนย์​กลางแหล่งเรียนรู้​ทางประวัติศา​ตร​์​  ขึ้นมาสักแห่งในสายบุรี​

มาดูพื้นที่นี้มีความสำคัญอย่างไรบ้าง​นะหรือ​  ในอดีต​ ช่างเจ้ะเฮง​ และเซ็ง เป็นช่างที่มีชื่อเสียง​และเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญ​ในด้านการทำกริชอย่างมาก​ เนื่องจากปัจจุบัน​เป็นงานที่หาช่างได้ยากมากๆ​ ส่วนตัวกริชเอง​ ที่่ผ่านการผลิต​ การตีในแบบโบราณดั้งเดิมเป็นสิ่งหายากเอามากๆ​  และยังเป็นที่ต้องการของตลาดนักสะสมของเก่าจำนวนมาก การทำกริชแต่ละเล่มนั้นใช้เวลายาวนานนาน​ เพราะต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง​และยุ่งยาก​ บางเล่ม.5 เดือนถึง​10​ปี​ ก็เคยมี   แต่บางเล่มกลับตีเสร็จภายในวันเดียวก็มี
ประวัติความเป็นของกริช ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด บ้างก็ว่ากริชเกิดขึ้น ในประเทศอินเดียก่อน เดิมมีลักษณะไม่ได้คดทำจากเขาเลียงผาชนิดหนึ่ง บ้างก็ว่าชาวมลายูจำลองรูปกริชจากเขี้ยวเสือ บ้างก็ว่ากริชเริ่มปรากฏมีในประเทศอินโดนีเซียหรือชวาสมัยอิเหนา หรือ ปันหยี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2460 แต่หลักฐานเก่าแก่ที่พบ ณ เทวสถานแห่งหนึ่ง มีอายุเก่าแก่ราว 600 ปี เท่านั้น สำหรับในประเทศไทยนั้น มีปรากฏในจดหมายเหตุ ของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณ พ.ศ. 2236 กล่าวถึงอาวุธของไทยว่า มีกริชรวมอยู่ด้วย

ชาวมลายูในอดีตจนถึง​ปัจจุบัน​เล่าต่อๆกันมาแต่บรรพบรุษว่า   ถือว่านักรบผู้ใดถือกริชหลายคด ผู้นั้นนับเป็นเป็นนักรบผู้ยิ่งยง และมีอำนาจเหนือกองทัพ มีคมสองคมใช้สำหรับฟันด้วยก็มี มีด้ามขนาดสั้นพอเหมาะ ในการจะกำไว้ในมือได้สะดวก ด้ามและฝักมักแกะสลักเป็นรูปและลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม บางด้ามประดับด้วยเงิน ทองหรือทองแดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะผู้เป็นเจ้าของเป็นประการสำคัญ
กริชเป็นอาวุธประจำตัว ที่เคยนิยมใช้กันในภาคใต้ตลอดไปจนถึงชวา มาเลเซีย และประเทศใกล้เคียง เคยเป็นอาวุธประจำชาติของชวา และมาเลเซีย รวมทั้งถูกจัดอยู่ในเครื่องราชกกุธภัณฑ์อย่างหนึ่ง ของพระมหากษัตริย์ ของทั้งสองประเทศมาก่อน กริช นอกจากจะเป็นอาวุธสำคัญแล้ว ยังเป็นเครื่องบ่งถึงความเป็นชายชาตรี บ่งถึงฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และยศฐาบรรดาศักดิ์ ผู้เป็นเจ้าของหรือวงตระกูลด้วย กริชถือเป็นของสำคัญ สามารถใช้แทนตัวเจ้าบ่าว ที่ติดภาระกิจอื่นได้และจะได้รับการพกพาติดตัวตลอด แม้แต่เวลาอาบน้ำหรือเข้านอน
  การมาศึกษา​ดูพื้นที่ในครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทราบถึงขั้นตอนการผลิตกริชเท่านั้น​ บ้านเรือนมลายู​ หลังนี้ก็ยังเป็นเรือนโบราณ​ที่ทิ้งงานศิลปะไว้อย่างสวยงาม​ เคยตระหง่านผ่านระยะเวลามาถึง​ ร้อยปีแล้วด้วย


  ในกิจกรรมวันนี้มีการเก็บถ่ายภาพ มุมต่างๆของเรือนหลังนี้เพื่อจะนำไปถอดแบบในอนาคต หรือสร้างโมเดล​ คนยุคสมัย​ใหม่ก็อาจนำไปสร้างใหม่หรือ​ต่อยอดได้​ ซึ่งได้นาย อารีฟีน ฮายีฮัสซัน ดีไซเนอร์เครื่องประดับ​นำภาพศิลปตกแต่งบ้านหลังนี้​ที่ได้ไปใช้ออกแบบในลวดลายเครื่องประดับต่อไป​ ,เขมะจิตต์ นิวาศะบุตร ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท​ บ้าน selamat home  ที่พึ่งจะกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในจังหวัดปัตตานี​ ก็ได้เข้าร่วมพร้อมกับภรรยา​และคุณแม่​มาชมศึกษางานลวดลายศิลป​และเก็บภาพถ่ายนำไปศึกษาต่อไปด้วย​เพราะเป็นคนที่ชื่นชอบงานท้องถิ่น​เป็นอย่างมาก
  สำหรับกิจกรรมการวาดภาพครั้งนี้ได้ครูแวอารง แวโน้ะ ศิลปิน​ประธานกลุ่มเซาท์ฟรีอารท ที่ได้ตระเวณวาดงานศิลปเพื่อสาธารณ​ะประโยชน์​ในพื้นที่​ แสดงงานผ่านภาพวาดเชิงสันติภาพ​ ได้มาลงเก็บภาพสีน้ำ​สะบัดฝีแปรง ถ่ายทอดผลงานได้อย่างรวดเร็วและเมามันส์​ ในเวลา  2 ชั่วโมง​ได้มาถึง​  2​ ภาพด้วยกัน

   และน้องซการียา ดือเระ คนรุ่นใหม่​ ลงมือวาดภาพเป็นลายเส้นปากกาดำ​ บนพื้นกระดาษขาว​ เขากล่าวว่า​  รู้สึก​ดีใจ​และตื่นเต้นมากที่ได้มาลงสนามวาด​ งานพื้นที่ครั้งนี้ถือเป็นงานแรก​ เพราะว่า​ส่วนใหญ่จะไปนั่งวาดยามว่าง​ อยู่คนเดียว​ หรือไม่ก็วาดเก็บตามภาพถ่ายที่โพสกันผ่านเฟสบุ้ค
โดยเฉพาะครั้งนี้ได้เป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชน​เข้ามาร่วมสังเกตุการณ์อีกด้วยผมนั่งวาดงานครั้งนี้ไม่เพียงบันทึกร่องรอยการดำรงอยู่ของเรือนหลังนี้เท่านั้น​ ยังถือเป็นการส่งต่อจากคนรุ่นก่อน​ให้เราได้ทราบความตั้งใจ​รูปแบบ​ผมรู้สึกได้ว่า บ้านอายุร้อยกว่าปีหลังนี้​ผ่านการสร้าฝมายาวนาน​และสร้างด้วยพลัง​ผ่ทนการเลื่อยมือ​ การใช้เครื่องมือของช่างสมัยนั้น​ เช่น​การหล่อปูน​เพื่อสร้างความสวยสง่าที่บนลวดลายที่หน้าจั่ว​ ก็รู้สึกถึงความปราณีตและความวิจิตร​บรรจง​ งานครั้งนี้ผมหวังว่า เพื่อบันทึกนำไปถอดแบบ และเรียนรู้​ประวัติ​ และวิถีชีวิต​ของ​กูรูกริชศิลปินผู้ยิ่งใหญ่​ สุกุลช่างกริชแห่งปัตตานี​คนสุดท้าย ให้น้องๆ นักศึกษา หรือผู้สนใจ นำไปต่อยอดต่อไปครับ
ด้านนายสุกรี  มะดากะกุล​ อดีต​เลขาชมรมภาคีสถาปัตยกรรม​ปัตตานี​ ผู้ริเริ่มกิจกรรมนี้ เปิดเผยว่า​ ปัจจุบัน​นี้​เรื่องวัฒนธรรม​มีค่า​มีความหมายแตกต่างกัน​ ในมุมมอง ของคนเจนเนอเรชั่นรุ่นใหม่ๆ​ การจัดกิจกรรมแบบนี้​ ควรปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้รับทราบบ้าง​ว่าพวกเขามีงานศิลปวัฒนธรรม​ที่ผ่านกาลเวลามาแต่อดีตจากคนรุ่นก่อน​ รุ่นปู่ย่าตายาย​ และพื้นที่ชายแดนใต้แห่งนี้​เป้นพื้นที่ที่มีอารยธรรม​มาแต่โบราณ​ ตั้งแต่ยุค​ลังกาสุกะ​ มัชปาหิต​ ปาตานียุคกรือเซะ​ และปัตตานี​ช่วงมณฑล​จนมาถึงปัตตานี​ปัจจุบัน​ บางคนถามหาปัญหาถึง​ความไม่สงบ​และมักโยนเป็นข้ออ้างว่า​ ทำไปก็ไม่น่าสนใจ​ เป็นพื้นที่ด้อยพัฒนา​ เพราะไม่มีใครมาดู เป็นพื้นที่สุดขอบ​ ผมว่าความคิดในแง่ลบแบบนี้น่าจะทิ้งไปได้เแล้ว​ และมาช่วยกันหา​ทางอนุรักษ์นิยม​ไว้จะดีกว่า​  มีงานศิลปะ​ local อีกหลายๆงาน ที่ยังทำประโยชน์​ และเชื่อว่าสามารถสร้างงาน​สร้างรายได้​อึกหลายแขนง​   เช่น​การผลิตกริช​ตายง​สกุลช่างปัตตทนี ซึ่งงานศิลปที่ทำยากๆเหล่านี้​ ยังเป็นที่ต้องการมากๆของคนชาวมาเลเซีย​ อินโดนีเซีย และกลุ่มชาวตะวันตก​   ถ้าเราลองใช้เทคนิคใหม่ๆ​ นำประยุกต์ใช้​ น่าจะผลิตได้ทันใจ​ เรายังมีงานประเภทอาหาร​ และงานศิลปะอื่นๆ​ที่ไม่ถูกยกให้ทันสมัย​ให้ไปปรับและยังคงประยุกต์ใช้​ หรือขายได้ในอนาคต​ ผมว่าเราขาดคนเจนเนอเรชั่นใหม่ๆนี้แหละที่จะมาคิดเรื่องพวกนี้​  ผมเพียงแค่ต้องการสร้างการตระหนักรู้ให้กับพวกเขา​ และเปิดโอกาสให้พวกเขานำไปต่อยอด​ให้เหมาะกับเขาเอง​ และหวังว่าจะได้ประโยชน์​จากงานศิลปะเหล่านี้​ ส่วนภาพที่ได้วันนี้​เราได้มา​2​ ภาพ​ ผมจะนำไปประมูลให้ผู้สนใจได้ไป​  และนำรายได้มาลงที่นี่เพื่อสร้างเป็นแหล่งสถานที่เรียนรู้ต่อไปครับ


กิ๊ฟ’ กรวรรณ ภูริวัฒน์  จากเพจ แวรุงไปไหน กล่าวว่า
รู้สึกภูมิใจในความเป็นศิลปวัฒนธรรม
สิ่งเก่าๆเหล่านี้เด็กรุ่นใหม่ เริ่มไม่ใส่ใจกับมันแล้ว แต่เมื่อเราไปเห็นแล้วจึงทำไห้ได้ทราบว่ายังมีสิ่งดีๆอยู่เยอะมากๆที่เรามองไม่เห็นและไม่มาสนับสนุนงานเหล่านี้ ถือว่าเป็นการเปิดโลกใหม่ เหมือนกัน และเราในฐานะคนรุ่นใหม่จึงอยากให้ ความรู้เหล่านี้ กับภูมิปัญญาเหล่านี้ ให้เป็นที่รู้จัก ให้คนข้างนอกได้รับรู้ต่อไป และเมื่อรู้แล้วช่วยนำไปเผยแพร่ต่อไปด้วย เราเองคนเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่อยากให้ทุกๆคนเลยมาช่วยกัน แชรกันไปเยอะๆ
จริงๆแล้วคนรุ่นใหม่ ต้องมาช่วยกันผลักดันผลงานเดิมๆ สิ่งดีๆเหล่านี้ให้มากขึ้น ก็ยังเห็นอีกจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่เริ่มกลับมาสนใจ เรื่องราววัฒนธรรมของรุ่นพ่อแม่ บรรพบรุษเรามากขึ้น ที่กลับมาชอบงานเก่าๆ งานดีดี แต่เหมือนต้องทำให้มันวางอยู่ถูกที่ และต้องให้มีพื้นที่สำหรับเยาวชน ให้เขามีโอกาสนำเสนอผลงาน ได้แสดง อาจจะรวมกลุ่มกัน สร้างเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมา ให้มีเสปสสำหรับวัยรุ่น เพื่อจะได้เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งจะทำให้เขาได้ทำสิ่งสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจมากขึ้น เรามีของอยู่แล้ว แต่ต้องสร้างให้ตกผลึก แน่นอนคนรุ่นใหม่จะต้องทำให้ดีขึ้นยิ่งไปอีกค่ะ

สุกรี มะดากะกุล @ บก.ชายแดนใต้