รองผู้ว่าฯเผยเศรษฐกิจผลไม้ยะลา ปีนี้กระทบหนัก แต่ยังฝ่าวิกฤิตได้

0
511


ผู้สื่อข่าวรายงาน​ที่สี่แยกมลายู​บางกอก​ อ​.เมือง​จ.ยะลา​ แหล่งซื้อขายตลาดผลไม้​ ขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดชายแดน​ภาคใต้​
  โดยเฉพาะในเวลาเย็น​ ยาวไปจนถึงเช้า  บรรดาพ่อค้า​แม่ค้า​ ทั้งรายเล็กรายย่อย​ ​จำนวนหลายรายต่างพากันขนส่งผลผลิตที่ได้จากชาวสวน​ ที่ผลผลิตออกมากันมาก​ โดยเฉพาะทุเรียน​ ลองกอง​  สะตอ​ และอื่นๆ​ ซื้อขายกัน​นับเวลา​ มา​ 2 เดือน​แล้ว

ถึง​แม้ปีนี้จะไม่คึกคักเหมือนทุกๆปี​ ​ แต่ผลผลิต​ ที่ยังเหลืออยู่​ 30%  กับลองกองที่จะออกเป็นผลผลิตสุดท้าย​ ก่อนหมดหน้าฤดูผลไม้นี้​ คือจะอยู่ในช่วง​ปลายๆกันยายน​ หรือต้นๆ​ ตุลาคม​
  ซึ่งในปีนี้ที่ผ่านมา ในพื้นที่ต้องเจอกับการระบาดของโควิด-19 เกษตรกรผู้ปลูกพืชผัก ผลไม้ต่างได้รับความเดือดร้อน เพราะพ่อค้าไม่เข้าไปซื้อผลผลิตเหมือนก่อน และการปิดตลาด การล็อกดาวน์พื้นที่ เคอร์ฟิว ล้วนเป็นอุปสรรคที่เกิดขึ้น ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้และราคาตกต่ำ เช่นเดียวกับปัญหาของมังคุด ที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรเจ้าของสวนในขณะนี้ ที่หน่วยงานราชการและเอกชนที่มีความพร้อมในการช่วยเหลือเกษตรกรได้เข้าไปช่วยซื้อ เพื่อนำมาแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาลและประชาชนที่ถูกปิดหมู่บ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน


  แต่ในส่วนของทุเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงพอไปได้​ราคาไม่ตก​  และฝ่ายรัฐได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นมาโดยตลอด เพราะรู้ดีว่าปีนี้ปัญหาเยอะ​  โดนผลกระทบ​  ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการรับซื้อ การเดินทาง และการขนส่ง ทุกปัญหาจึงได้ร่วมกันแก้ไข
    นางพาตีเมาะ​ สะดียามู​ รองผู้ว่าราชการจังหวัด​ยะลา​ ฝ่ายเศรษฐกิจ​ เปิดเผยว่า
เรื่องของทุเรียนปีนี้ ในส่วนของจังห​วัด​ยะลา​ มีผลผลิตเกือบ 6หมื่นตัน มีรายได้เข้าประมาณ หนึ่งพันกว่าล้านต้นๆ​ แต่เพราะมีปัญหาเรื่องสถานการณ์ covid แทรกเข้ามาจึง ทำให้รายได้ชาวเกษตรกรหายไปเกือบเท่าตัว​ แต่ด้วยราคาที่ไม่ตกมาก​ จึงยังพอไปได้อยู่
ส่วนเรื่องของมังคุด​ เกิดปัญหาราคาตกต่ำ​ เพราะออกมาชนกันกับของจังหวัด​อื่นๆ​ ทางแปลงใหญ่เช่น​นครศรีธรรมราช​และสุราษฎร์ธานี​  และการค้าออนไลน์​เกิดสภาวะขนส่งมีปัญญา​อีก​ ส่วนกลาง​ติดผลกระทบ​โควิดไปหมดทำให้ออกไม่ทัน​ส่งช้า​ สินค้าเสียหาย  ทางเราจึงได้จัดแคมเปญช่วยเหลือเกษตรกร​ ช่วยสนับสนุน​ซื้อ​ และส่งไปถึงผู้ประสบภัย​โควิด​ทั่ง​ 3​ ​จังหวัด​ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลสนาม​ อสม.​บุคลากรทางการแพทย์​ ผู้ป่วยถูกกักตัว​ ตลอดจนเรือนจำ​ หลายพันคน​ นำไประบายแจกจ่าย​บุคคล​เหล่านี้​  เราซื้อในราคาตลาด​และยังแจกจ่ายถึงรพ.สนามบุษราคัม​ส่วนกลางด้วย​ เป็นการช่วยเหลือเรื่องมังคุด​ เงาะก็เช่นเดียวกัน​ เรื่องของลองกอง​ 100​ กว่าล้าน​ ต้องส่งเป็นผลไม้สดทั้งหมด​ อาจต้องกระจายเข้าสู่ห้างต่างๆ​
    แม้รายได้ของเกษตรกร​ ในปีนี้​ ด้วยสถานการณ์​โควิด​ น้อยลงไป​ เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง​ส่งผลต่อผู้บริโภค​ ผลผลิตยังไม่ถือว่าล้นตลาด​ แต่โดยรวมแล้ว​ รายได้​ทางเศรษฐกิจ​ทางการเกษตรของ​ ยะลา​และ​3​ จังหวัดนี้ยังพอทำให้เกิดการหมุนเวียน​พยุงรายได้​ในพื้นที่อยู่​มากพอสมควร​ และหากรัฐช่วยกันหนุนเสริม​ช่วยเหลือ​ได้ทันท่วงทีแล้ว​จะทำให้พี่น้อง​ เราทุกคนยังอยู่ได้​ ทุกคนก็​alhamdulilah.ขอบคุณ​พระเจ้า​ และน้อมรับปรับตัว​
เพราะฉะนั้น​ปีต่อไปหลังจากนี้​ เราต้องวางแผนในอนาคตว่า​เราจะต้องเตรียมการจัดการสำหรับ​ผ​ลผลิต​ทุเรียนอย่างไร​บ้าง การพัฒนาโปรดักส์​ของทุเรียน​ การแปรรูป​ การทำแปลงทุเรียนคุณภาพ​  เพื่อให้เพิ่มมูลค่า​สูงขึ้น​ อย่างเช่นปีนี้​ ได้เห็นการจัดการของมูลนิธิ​ปิดทองหลังพระ​ฯ​ ที่เข้ามาช่วยเสริมเกษตรกรปีนี้​ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตที่ดีราคาสูงขึ้น​  อีกทั้งการเตรียมโรงงาน​ ห้องเย็น​ และการเตรียมพร้อม​สำหรับอุตสาหกรรม​ทุเรียน​อื่นๆ รวมทั้งระบบการจัดการขนส่ง​ การค้าขายออนไลน์​ที่จะทำให้​เกิดประสิทธิภาพ​สูงสุดอย่างไรในอนาคต​ นั่นคือสิ่งที่ชาวเกษตรกรในพื้นที่ทุกคนต้องคิดต้องทำทั้งหมด

สุกรี มะดากะกุล บก.@ชายแดนใต้