ครูยะลามั่นใจ การศึกษาในชายแดนภาคใต้ต้องพัฒนาขึ้นได้ หากครูทุกคนร่วมใจ

0
291

เมื่อวันที่ 16 มค.62 . ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา นายนิมะ มะกาเจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธีวันครูประจำปี 2562 โดยมี ครู ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษาจำนวนกว่า 1,000 คน เข้าร่วมประกอบพิธีเพื่อรำลึกถึงพระคุณครู โดยมีการได้มีการสวดคำฉันท์ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ในทำนองสรภัญญะ จากนั้น จึงได้ยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาที เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้ร่วมกันกล่าวปฏิญาณตนในการปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพครูอย่างดีที่สุด


นางสาวเสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล ผู้อำนวยการโรงเรียนราษฎรบำรุงจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นครูที่รางวัลที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ครูดีผู้บริหารเด่น ศรี สพม.เขต 15 ประเภทผู้บริหารดีเด่น(ผู้อำนวยการ)สถานศึกษาขนาดใหญ่ เปิดเผยว่า สำหรับการจัดการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมามีหลายๆหน่วยงานที่ร่วมมือกัน ช่วยกันมาดูแลในการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ ถ้ามองย้อนไปตั้งแต่ปี 2547 ที่ผ่านมา สถานการณ์ในพื้นที่ปัจจุบันดีขึ้นมาก แต่ในเรื่องการพัฒนาเด็ก ก็เป็นเรื่องที่จำเป็น คนในพื้นที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด ที่จะช่วยกันยกระดับการศึกษาเด็กของเราให้มีการศึกษาเท่าเทียมกับภูมิภาคอื่นๆ เพราะถ้ามีความเชื่อมั่นในการศึกษาแล้ว ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่
“ในส่วนของครู นอกจากการดูแลเรื่องความปลอดภัย เรื่องการดูแลด้านขวัญและกำลังใจ ทางรัฐบาลก็ได้ดูแล ในพื้นที่เรามีครูที่สามารถทำผลงานทางวิชาการจนเป็นครูชำนาญการพิเศษ โดยโอกาสนี้ก็จะง่ายกว่าโอกาสจากที่อื่น และเมื่อครูได้ชำนาญการพิเศษ ก็อยากให้ครูเหล่านี้เอานักเรียนเป็นตัวตั้ง ครูประถมต้องสอนเด็กให้สามารถอ่านออกเขียนได้อย่างแท้จริง ครูมัธยมต้องสอนให้เด็กมีศักยภาพของนักเรียน และเมื่อเด็กอยู่ ม.ปลาย จะทำอย่างไรให้ลูกหลานของเรามีคุณภาพสูงสุด เพื่อที่จะให้เขามีอาชีพที่ดีในอนาคต สิ่งเหล่านี้ถ้าครูทุกคนช่วยกัน เด็กของเราก็จะไม่ด้อยไปกว่าที่อื่น จุดอ่อนของเด็กที่นี่ ก็หลักๆคือที่บ้านจะใช้ภาษามลายูกันเยอะ เมื่อมาโรงเรียนก็จะใช้ภาษาไทยล้วนๆ ซึ่งในเรื่องนี้ ก็จะมีวิธีการสอน บางแห่งจะมีการสอนสองภาษา ในการพัฒนาเด็ก ส่วนปัญหาการอ่านไม่ได้ ก็เช่นเดียวกับหลายพื้นที่ของไทย โดยเฉพาะพื้นที่ชายขอบ ก็จะมีปัญหาในเรื่องนี้ นโยบายของกระทรวงศึกษา ก็จะมีแนวทางในการลดอัตราให้เด็กอ่านออกเขียนได้ มากยิ่งขึ้น ในปีหลังๆจำนวนเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ก็ลดน้อยลง แต่ในเรื่องการศึกษาต่อในระดับสูง ก็เห็นว่าจะต้องมีความจริงใจในการพัฒนาให้เด็กเรียนในสิ่งที่เขาถนัด ที่จะต้องทำกันทั้งกระบวนการ เพราะถ้าจบออกมาแล้วไม่มีงานทำ ก็จะเป็นปัญหาต่อไป” นางสาวเสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล กล่าว


ผู้อำนวยการโรงเรียนราษฎรบำรุงจังหวัดยะลา ยังกล่าวอีกว่า ถ้าดูจากคะแนนโอเน็ต ก็จะพบว่าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจะอยู่ในอันดับหลังสุด คือยะลา ส่วนปัตตานีและนราธิวาส ก็จะสลับกันอยู่ในอันดับสุดท้าย ซึ่งตรงนี้เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ได้เกิดจากการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เพียงอย่างเดียว อาจจะเกิดจากผู้ปกครองที่ให้การดูแล หรือการสนับสนุน ที่ยังไม่เพียงพอ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย แต่อย่างไรก็ตามครูในพื้นที่ก็จะพยายามอย่างดีที่สุด เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้ดีขึ้น
“อยากจะฝากไปยังเพื่อนครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนาภาคใต้ และเพื่อนครูทั่วประเทศ ในการทำงานของเราที่เป็นครู ควรยึดนักเรียนเป็นตัวตั้ง และพัฒนาไปตามเป้าหมายที่แท้จริง คิดว่าครูทุกคนในประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอ ครูควรทุ่มเทให้กับนักเรียนเป็นอันดับต้นๆ และขอฝากไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ว่า เวลาของนักเรียนควรให้นักเรียนอยู่กับการเรียนให้มากที่สุด เพราะเราเชื่อว่าเด็กไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าใครในชาติอื่นๆ เด็กไทยมีความสามารถที่จะพัฒนาได้ เชื่อมั่นเช่นนั้น” ผอ.โรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจังหวัดยะลา กล่าว
ตอบส่งต่อ

ภาพ/ข่าวมูกะตา หะไร ทีมช่าว@ชายแดนใต้จ.ยะลา