มอ. ปัตตานี ร่วมคณะสถาปัตยกรรม PUO. Perak ถอดแบบสถาปัตยกรรมโบราณทรงคุณค่าปัตตานี 7 หลัง เพื่อศึกษาอนุรักษ์!

0
644

เมื่อ 28 กย 66 ที่ตึกคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รศ.ดร.ไฟซ็อล หะยีอาวัง หัวหน้าโปรแกรมภาษาและมลายูศึกษาผศ.ดร.นุมาน หะยีมะแซ หัวหน้าทีมคณะโครงการฯจากมอ. พร้อมกับ Dr.Jaki Mamat และ Farah Reeza Razak จาก PUO Perak ( Politeknik Ungku Omar, Perak) ประะเทศมาเลเซีย ได้ทำการส่งมอบงานโครงการถอดแปลนบ้านและอาคารโบราณมลายูจังหวัดชายแดนภาคใต้ (Measured Drawing on Malay Traditional Building in Southern Thailand) ซึ่งเป็นการศึกษาทำงานภาคสนามและงานกึ่งวิจัยร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย

ซึ่งบรรยากาศเต็มไปด้วยความปลาบปลื้มปิติ มีผู้ร่วมเป็นสักขีพยานโดยนายกเทศบาลตำบลตันหยง นายกอบต.คลองมานิง ,นายกอบต.ตันหลงลุโละ และทีมคณะอาจารย์และนักศึกษาทำงานของทั้ง 2 สถาบัน รวมถึงทายาทเจ้าของวังเก่าสายบุรี ,ทายาทตัวแทนวังยะหริ่ง,ตัวแทนบ้านพิพิธภักดี ตัวแทนปอเนาะยะรัง และสื่อมวลชนเข้าร่วมด้วย

ผศ.ดร.นุมาน หะยีมะแซ กล่าวว่า โครงการถอดแบบนี้ได้เริ่มมาตั้งเเต่ปีพ.ศ.2558-ปัจจุบัน และติดปัญหาต้องหยุดพักหลบหนีโควิดไปหนึ่งปี เราได้ลอกแบบแปลนบ้านที่สำคัญๆในอดีตที่มีความสำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ รูปทรงโบราณ และรูปแบบที่เป็นอัตลักษณ์บ้านมลายูที่หายากมาก ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยเต็มที ซึ่งเป็นการทำงานศึกษาเพื่อเชิงอนุรักษ์ และเป็นการบันทึกเพื่อการต่อยอดต่อไป ซึ่งเราได้ทำสำเร็จแล้ว ในเวลา 2 ปี กว่าได้มาถึง 7 หลังด้วยกัน คือ มัสยิดอาโห 400 ปี มัสยิดกรือเซะ500 ปี ปอเนาะซือมือลา 120 ปี วังยะหริ่ง 120 ปี วังสายบุรี 150 ปี คฤหาสพิพิธภักดี 100 ปี และปอเนาะบือแนปาแด ร้อยกว่าปี และล่าสุดปีนี้ได้มาลงพื้นที่ถอดแบบที่จ.สตูลอยู่ 3 หลัง คือบ้านจางวาง บ้านควน และบ้านพระยาสมันตรัตบุรินทร์ หวังว่าจะได้เห็นผลงานสำเร็จในเร็วๆ นี้


ส่วนปีพ.ศ.2567 ปีหน้า ถัดไปนั้นวางแผนลงพื้นที่จังหวัดยะลา 3 หลัง ปีพ.ศ.2568 ลงพื้นที่นราธิวาส 3 หลังเช่นกัน โดยมีแนวคิดพื้นฐานเป็นบ้าน วัง และศาสนถานมุสลิม ใครมีอาคารโบราณมลายูในเขตยะลาและนราธิวาสจะเสนอ (อายุอาคาร 70 ปีขึ้นไป) สามารถเสนอได้ ถือเป็นโอกาสที่ดีมากครับ
Prince of Songkla University, Pattani, dengan kerjasama Politiknik Ungku Omar, Perak, Malaysia, telah menyiapkan lukisan pelan (Measured Drawing) rumah dan bangunan Melayu bernilai tinggi sebanyak 7 buah bangunan. Kelmarin 28 September, kedua-dua IPT tersebut telah mengadakan acara penyerahan pelan rumah dan bangunan Melayu yang telah siap ikuran dari aktiviti lukisan yang telah bermela semenjak 2015. Majlis peneyerahan dirasmikan oleh Profesor Madya Dr.Faisol Hajiawang, ketua jurusan Bahasa dan Pengajian Melayu, dan disertai majlis oleh Ketua Projek dari PUO, Dr.Jaki Mamat dan Farah Reeza Razak, Ketua Projek dari PSU,Penolong Profesor Dr.Numan Hayimasae, tuan-tuan rumah dan bangunan terdiri dari Rumah Semela, Rumah Istana Selingdong Bayu, Rumah Pipit Pakdee, Rumah Pondok Bendang Badam, dan beberapa mayor yang akan menangani bangunan bersejarah termasuk Surau Aur dan Masjid Kresik kini dan akan datang. . Bangunan-bangunan tersebut termasuk 1) Rumah Melayu Pondok Babo Ismail Semela, 2) Masjid Sultan Muzaffar Shah, Kresik, 3) Surau Aur, 4) Rumah Melayu Pondok Babo Ismail, Bendang Badam, Yarang Pattani, 5) Rumah Istana Yaring, 6) Rumah Istana Seningdung Bayu dan 7) Rumah Pipit Pakdee. Pada tahun ini (2023) projek menjalankan aktiviti di 3 rumah Melayu di wilayah Setun dan akan diserahkan pelan rumah pada tahun hadapan. Untuk cadangan pada tahun 2024 dan 2025, kata Dr,Numan, Ketua Projek dari PSU, akan bergerak aktiviti di wilayah Yala dan kemudian ke Narathiwat, dengan target bangunan setiap 2 wilayah ini 3 bangunan dengan syarat bangunan berumur melebihi 70 tahun dan merangkumi bangunan Istana, Rumah Lama dan Masjid bagi memenuhi identiti ke-Melayuan rantau Nusantara.
ทีมข่าวแอดชายแดนใต้