ปัตตานี-ผอ.กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง ติดตาม โครงการชะลอยางของเกษตรกร ชาวสวนยางปัตตานี “เฮ” รายได้ดีขึ้น หลังเข้าร่วมโครงการฯ

0
750
ปัตตานี-ผอ.กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง ติดตาม โครงการชะลอยางของเกษตรกร ชาวสวนยางปัตตานี
ปัตตานี-ผอ.กยท.เขตภาคใต้ตอนล่าง ติดตาม โครงการชะลอยางของเกษตรกร ชาวสวนยางปัตตานี "เฮ" รายได้ดีขึ้น หลังเข้าร่วมโครงการฯ

ปัตตานี ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขต ภาคใต้ตอนล่าง ลงพื้นที่ ติดตามการดำเนินงาน โครงการชะลอยางของเกษตรกรชาวสวนยาง ชาวสวนยางปัตตานี ดีใจรายได้ดีขึ้น หลังเข้าโครงการชะลอยางพารา

ผู้สื่อข่าวรายงาน วันที่ 1 กันยายน 2565 ที่ทำการกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางควนเปล จำกัด ม.2 ต.ท่าเรือ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี นายสุรชัย บุญวรรโณ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขต ภาคใต้ตอนล่าง ลงพื้นที่ เพื่อติดดตามการดำเนินงาน โครงการชะลอยางของเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยสหกรณ์กองทุนสวนยางควนเปล จำกัด ตกลงทำสัญญา และรับเงินทุนหมุนเวียนจาก กยท.  โดย เกษตรกรชาวสวนยางที่เข้าร่วมโครงการฯจะได้รับสินเชื่อวงเงิน 80% ของมูลค่ายาง ส่วนการกำหนดราคากลางสำหรับประเมินสินเชื่อนั้น กยท.จะใช้ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 15 วัน ของราคากลางเปิดตลาดของยางชนิดนั้นๆ และขายยางผ่านสำนักงานตลาดกลาง หรือตลาดเครือข่าย

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับเกษตรกร ในการชะลอปริมาณผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาด ช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยาง มีความมั่นใจที่จะทำสวนยางต่อ ประกอบกับมีรายได้ทีดีขึ้นในการเลี้ยงชีพต่อไป  อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคายางให้มีเสถียรภาพมากขึ้น

นายสุรชัย บุญวรรโณ ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยเขต ภาคใต้ตอนล่าง  เปิดเผยว่า ปัจจุบันราคายางพารายังอยู่ในช่วงที่ผันผวน กยท.จึงมีโครงการชะลอยาง ซึ่งเราทำมาตั้งแต่ปี 2563 เริ่มทำที่ภาคเหนือ ก่อนขยายโครงการไปภาคต่างๆ  ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เกษตรกร และสหกรณ์ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มาก เพราะเงินทุนต่างๆที่ กยท. ให้กับสหกรณ์  มีเงินทุนหมุนเวียนอยู่ 80 เปอร์เซ็น  ซึ่งจ่ายให้แก่เกษตรกรไปก่อน เมื่อขายยางแล้ว จนได้กำไร ทาง กยท. ก็จะหักค่าใช้จ่ายที่ให้กับเกษตรกร ถือว่าเป็นโครงการที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้ โครงการประกันรายได้ของราคายาง ได้ตั้งราคายางแผ่นดิบ  60 บาท/ กก. น้ำยางสดอยู่ที่ 50 บาท/กก. แลยางก้อนถ้วย 46บาท/กก.  ถ้าปัจจุบัน ราคายางยังอยู่ที่50 บาท เกษตรกรยังขาดทุน จึงต้องมีโครงการชะลอยาง เพื่อให้ราคาสูงขึ้น

ด้านนางนันทวรรณ ผ่อนอำไผ ผู้จัดการสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ประชาชนมีการกรีดยางลดลง และเปลี่ยนไปปลูกปาล์มแทน เนื่องจากราคาอย่างผันผวน ราคาตก ทำให้ประชาชนรายได้ไม่พ่อจ่าย แต่ถ้าปลูกปาล์มมีราคาดี ได้ผลผลิตทั้งปี จากการสอบถามชาวสวนอย่าง หลายปากต้องการให้รัฐช่วยให้ราคายางขึ้น อยู่ในราคาที่ 50 บาท/กก. ก็เพียงพอแล้ว ถ้าราคาสูงกว่านี้ก็ยิ่งดี แต่ถ้าต่ำกว่านี้ชาวสวนยางก็ไม่สบายใจ เพราะพวกเขาก็มีค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว รายได้ไม่พอกับรายจ่าย หนำซ้ำต้องเป็นหนี้อีก  การมีสหกรณ์กองทุนสวนยางเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะ เกษตรกรจะได้ราคายางที่สูงกว่า ราคาที่ไปขายกับผู้รับซื้ออื่นๆ น้ำหนักไม่ขาดไม่เกิน มีความเป็นธรรมทุกอย่าง แต่ถ้าไม่มีสหกรณ์ แน่นอนเกษตรกรต้องเดือนร้อนมากกว่านี้ พ่อค้ายิ่งกดราคา เกษตรกรจะค้านก็ไม่ได้ ต้องตามใจพ่อค้า แต่ตราบใดสหกรณ์ยังอยู่ พ่อค้าก็ยิ่งแข่งกับสหกรณ์ สหกรณ์ก็ยิ่งตั้งราคาสูง เกษตรกรก็จะได้กำไรเต็มๆ

ภาพ/ข่าว/บดินทร์ ทีมข่าว@ชายแดนใต้