นราธิวาส – เภสัชกรหนุ่ม ไอเดียใหม่ปลูกทุเรียนออกดอกนอกฤดูสำเร็จ เสริมรายได้ดี

0
442

ผู้สื่อข่าวรายงาน ลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกร
เจ้าของสวนทุเรียนที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ไม่ได้จบเกษตร สามารถปลูกทุเรียน และบังคับทุเรียนออกผลนอกฤดูกาลจนสำเร็จ โดยใช้เวลาว่างจากงานราชการ ใช้ที่นาร้าง ปลูกทุเรียน ขนุน มะพร้าวหอม และกล้วยเป็นอาชีพเสริม ระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิต ก็จะได้รายได้จากการขายกล้วยพลางๆ ขายได้ประมาณ 2,000-3,000 บาทต่อเดือน

และได้ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบังคับให้ทุเรียนออกดอก นอกฤดูกาลจนประสบผล ได้สำเร็จ อีกทั้ง ยังหาสาเหตุค้นพบ เชื้อ ที่เริ่มระบาดในต้นทุเรียน จนรู้ว่า *เชื้อ * เป็นตัวเดียวกันกับที่กำลัง ระบาดในต้นยาง..ได้อีกด้วย


นายอัสมัน โตะเกะ (เจ้าของสวน) เภสัชกร โรงพยาบาลรือเสาะ อำเภอ รือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่าเดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่นาร้าง รก ไม่ได้ใช้งานมานาน ในเนื้อที่ 10 ไร่ จ้างรถแบ็คโฮขุดเป็นโคกหนองนา และขุดทำเป็นแหล่งน้ำ ปลูกผลไม้ ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม กล้วย ขนุน ในระหว่างที่ทุเรียนโตก็มีรายได้จากขายกล้วย สำหรับต้นทุเรียนมีพันธุ์หมอนทอง เสริมพันธุ์อื่นที่ชอบรับประทาน เช่น พันธุ์หลงลับแล หลินลับแล มูซังคิง .. การทำให้ทุเรียนออกเร็วโดยเฉพาะการบังคับให้ออกนอกฤดูมีปัจจัยในการทำให้ทุเรียนออกลูกมี 3-4 ปัจจัย หลักๆก็คือการให้น้ำ ความแล้ง ความสมบูรณ์ของต้นและการให้ปุ๋ย เช่นการให้น้ำปกติ ให้น้ำอย่างต่อเนื่องจนต้นพร้อมที่จะออกดอก ต้องงดน้ำให้ทุเรียนขาดน้ำเพื่อให้ออกลูกเพื่อขยายพันธ์ต่อไป งดน้ำประมาณ 2-3 อาทิตย์ จากนั้น ทุเรียนก็จะออกดอก แต่ก่อนที่จะงดน้ำต้องทำให้ใบทุเรียนสมบูรณ์ก่อน ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างอาหารเป็นห้องครัวของทุเรียน พอดูแลใบให้ดีใบก็จะทำงานได้ดี ทำให้ทุเรียนสมบูรณ์มีอาหาร สะสมพร้อม พร้อมที่จะออกดอก สำหรับการใส่ปุ๋ย ในระหว่างสะสมอาหารที่ใบต้องเน้นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงเพื่อไปบำรุงใบ ออกยอด ใบสมบูรณ์สังเคราะห์อาหาร สะสมอาหารได้ดี แต่ก่อนช่วงที่จะให้ออกดอก ต้องเปลี่ยนปุ๋ยสูตรตัวหน้าต่ำกว่า เพื่อกระตุ้นให้ออกดอก เพื่อเจริญให้ออกลูกต่อไป กรณีที่เกษตรกรมักเชื่อว่า พื้นที่นาไม่สามารถปลูกทุเรียนได้นั้น ตนจะแบ่งพื้นที่เป็น 2 แบบ คือพื้นที่นาที่เป็นพื้นที่น้ำขัง แล้วพื้นที่นาที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม และพื้นที่นาที่มีน้ำไหลผ่านแล้วกั้นเป็นพื้นที่เก็บน้ำ ถ้าเป็นที่ราบลุ่ม เวลาเกิดน้ำท่วมก็จะท่วมลึกท่วมนาน ก็จะกระทบต่อต้นทุเรียนได้ ทุเรียนก็จะตาย อย่าให้ท่วมนาน ถ้า 2-3วัน จะไม่เป็นอะไร สิ่งที่จะต้องระวังโรคในทุเรียนก็จะมี 2 กลุ่มหลักๆคือเชื้อรา จะมีเชื้อรา 2-3 ชนิดที่เป็นโรค คือไฟทอปธอร่าที่ทำให้ทุเรียนตาย ทำให้โดนทุเรียนเน่า ต้องดูแลโดยการยกโคกต้น พยายามอย่าให้น้ำขังก็จะช่วยได้ ถ้าเป็นโรคแล้วต้องรีบรักษาถ้าปล่อยไว้ก็ตายได้ ส่วนที่ 2 คือเชื้อราไบติกจะเป็นตามฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงน่าฝน อากาศชื้น ใบจะติดกัน ร่วง ใบตาย ถ้าปล่อยไว้ต้นก็ตายได้ ส่วนโรคอีกตัวจะเป็นเชื้อรากลุ่มราชมพู ที่คอยทำลายกิ่ง ก้าน ต้นทุเรียน ถ้าเจอก็ต้องตัดทิ้งแล้วนำไปเผาทันที จากนั้นก็พ่นยาฆ่ารา ที่ผ่านมายังมีโรคระบาดในต้นยางจะเป็นโรคใบร่วงชนิดใหม่ซึ่งเป็นเชื้อราที่ระบาดต่อๆมาจากประเทศอินโดนิเซีย มาเลเซีย แล้วเข้ามาประเทศไทย ภาคใต้ทั้งหมดก็จะมีเชื้อราไปกินใบยาง ทำให้เกิดเป็นจุดๆเนื้อเยื่อตาย ใบก็จะเหลืองแล้วก็ร่วงหมดทั้งแปลง ปลูกใหม่ต้นก็ไม่โต ถ้าเป็นต้นยางที่โตแล้ว กรีดยางได้น้อยลง ประมาณ 30-50 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุดพบว่า กำลังระบาดในต้นทุเรียนแล้ว น่าจะเป็นเชื้อตัวเดียวกันที่ระบาดในต้นยาง มีสวนทุเรียนเพื่อนบ้าน ที่มีสวนอยู่ติดกับสวนยางพาราที่เป็นโรค ล่าสุดระบาดมาในสวนทุเรียนแล้ว ปล่อยไว้นานๆก็เป็นทั้งแปลง ถ้าจะให้ชัดเจน ก็ต้องนำใบทุเรียนไปตรวจเชื้อในห้องแล็บ เนื่องจากอาการที่พบจะคล้ายๆกันกับที่กำลังระบาดในต้นยาง ตัวยาที่ใช้รักษา ก็ตัวเดียวกันกับที่รักษาเชื้อราใบร่วงในต้นยาง พบว่าอาการต้นทุเรียนดีขึ้นตามลำดับ เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นเชื้อตัวเดียวกัน

ผู้ใดสนใจติดต่อ นาย อัสมัน โตะเกะ เภสัชกรโรงพยาบาลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ เจ้าของสวน ติดต่อสอบถามหรือขอคำปรึกษาได้ที่ 086-2982751
นายแวดาโอ๊ะ / อัสมา หะไร รายงานข่าว /ภาพ