ความท้าทายของปฎิญญามักกะห์2019:จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ สร้างสะพาน แต่อย่าสร้างกำแพง

0
484

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk, http://www.oknation.net/blog/shukur ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน

ปฎิญญามักกะห์2019หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า
Makkah Declaration (2019) เป็นปฏิญญาที่ประกาศใน เมืองมักกะห์ Makkah,ประเทศซาอุดีอาระเบีย Saudi Arabia ซึ่งเรียกร้องให้อยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร อันเป็นสะพานสู่สันติภาพ/สันติสุข ขจัดอีกทั้งต่อต้านความสุดโต่ง คลั่งไคล้ทาง ชาติพันธุ์ สำนักคิด ศาสนาและวัฒนธรรม อันจะเป็นกำแพงปิดกั้นความร่วมมือและสมานฉันท์ อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งและทำลายความสงบสุข ปฏิญญาดังกล่าวได้รับการประกาศในเดือนพฤษภาคม 2019 ในวันสุดท้ายของการประชุมสี่วันซึ่งจัดโดยองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก [Muslim World League]

ที่เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยได้รับฉันทานุมัติจากบรรดาผู้นำนักวินิจฉัย ผู้ทรงคุณวุฒิศาสนาอิสลามจาก 139 ประเทศและลงนามโดยบุคคลสำคัญของมุสลิมราว 1,200 คน

ปาฐกถาพิเศษว่าด้วยความสำคัญของพันธมิตรหลากหลายวัฒนธรรม [Importance of Alliance of Civilizations] โดย ชัยค์ ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก [Muslim World League] ในโอกาสเยือนศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันพฤหัสที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 08.30 – 11.30 น. ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ท่านให้ทัศนะส่วนหนึ่งว่า “นี่คือความท้าทายจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ: ‘การที่จะให้เกิดพันธมิตรหลากหลายอารยธรรม เราจำเป็นต้องสอนลูกหลานของเรา สร้างความเข้าใจ ให้เกิดความตระหนักว่า ความหลากหลายของอารยธรรมไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกัน ความหลากหลายของอารยธรรมเป็นสิ่งที่ดีงาม และทุกคนต้องภูมิใจใน #อารยธรรมของตนเอง’ซึ่งหลังจากท่านได้แสดงทัศนะเสร็จก็มีนักข่าวจากต่างประเทศถามว่ามีอะไรบ้างที่สะท้อนถึงภาคปฏิบัติในปฏิญญาดังกล่าว ซึ่งท่านก็ได้ตอบถึงผลงานการขับเคลื่อนองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกทั้งในโลกตะวันตกอย่างอเมริกา ยุโรปหรือโลกตะวันออก ประเทศมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมอย่างประเทศไทย

แม้ในเชิงประจักษ์เรายังเห็นสถาการณ์Islamophobiaหรือโรคหวาดกลัวและเกลียดชังอิสลามซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นงานที่ท้าทายในภารกิจสร้างสะพานเอื้ออาธรระหว่างกัน

หมายเหตุ

  1. ตัวบทปฏิญญามักกะห์ปี2019 (ภาษาอาหรับ)หน้า48-54

http://www.icesco.org/wp-content/uploads/2019/12/قراءات-وثيقة-مكة-المكرمة.pdf
2.ต้นฉบับปฏิญญาดังกล่าว(ภาษาอังกฤษ)สามารถอ่านได้ใน https://www.saudiembassy.net/sites/default/files/Charter%20of%20Makkah-%20Unofficial%20Translation.pdf
3.ฟังและชมย้อนหลังใน

https://www.facebook.com/151yamaah/videos/1006801353566842/