สุราษฎร์ธานี- กรมชลฯทุ่ม 7หมื่นล้าน หวังบรรเทาน้ำท่วมและจัดการน้ำ ชู 3 โครงการ?

0
612

กรมชลประทานใช้งบกว่า7หมื่นล้านเดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยและบริหารจัดการน้ำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อบรรเทาอุทกภัยรวมทั้งบริหารจัดการน้ำทั้งจังหวัดชู3โครงการสำคัญในพื้นที่ .ท่าชนะ .ไชยา .พุนพินและอำเภอเมือง เป็นโครงการนำร่องเพื่อเพิ่มความสามารถบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ทำการฝายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่5สุราษฎร์ธานี นายเฉลิมเกียรติคงวิเชียรวัด รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมคณะที่ปรึกษาได้เดินทางมารับฟังการบรรยายสรุปผลการศึกษาโครงการศึกษาการบรรเทาอุทกภัยและบริหารจัดการน้ำในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมเยี่ยมชมพื้นที่จัดการน้ำในพื้นที่เหมาะสม3โครงการดังกล่าว

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรงชลประทาน กล่าวว่า ในปี 2564 กรมชลประทานได้เดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยและบริหารจัดการน้ำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ป่าต้นน้ำตอนบนถูกทำลาย การจาดแคลนแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ตอนบนเพื่อช่วยชะลอน้ำหลาก ประกอบกับประสิทธิภาพระบบระบายน้ำไม่เพียงพอทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะเกิดน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลากเป็นประจำทุกปี ซึ่งพื้นที่ร้ำท่วมหนักคือ .พันพิน.เคียนซา .เมืองและอ.ไชยา ซึ่งปัญหาอุทกภัยสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่การเกษตรรวมถึงชุมชนด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอุทกภัยในระยะยาวกรมชลประทานจึงได้เร่งศึกษาการบรรเททาอุทกภัยและบริหารจัดการน้ำในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวซึ่งใช้เวลาดำเนินการศึกษาโครงการทั้งสิ้นเป็นระยะเวลา8เดือนและได้ดำเนินการปฐมนิเทศน์โครงการให้กับชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วจำนวน ครั้ง ใน 19 อำเภอพบว่ามีโครงการทั้งสิ้นจำนวน143โครงการ เมื่อดำเนินการครอบคลุมทุกแผนงานทั้งหมดจะสามารถเพิ่มความจุเก็บกักน้ำได้ 1,346.26 ล้านลูกบาศ์กเมตร พื้นที่รับประโยชน์1,555,825ไร่ ค่าก่อสร้างทั้งโครงการ 77,347.69 ล้านบาท หลังจากนั้นได้นำทาศึกษาพร้อมจัดลำดับความสำคัญโดยใช้เกรณ์การพิจารณา ปัจจัยไม่ว่าจะเป็นด้านวิศวกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านเศรษฐศาสตร์ จนสามารถสรุปโครงการที่มีความเหมาะสม3โครงการเป็นโครงการนำร่องในพื้นที่ ,ไชยา .ท่าชนะ .พุนพิน และ .เมือง ซึ่งเป็น พื้นที่หัวใจสำคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้อย่างเหมาะสมต่อไป.

ทีมข่าว @ชายแดนใต้ .สุราษฎร์ธานี