เกษตรอินทรีย์​ ทฤษฎีใหม่​ ​เกษตรกรต้นแบบ​ ต.ป่าไร่​ อ.แม่ลาน​ จ.ปัตตานี​

0
2315

ณ.อ.แม่ลาน​ ชาวบ้านเกษตรกรที่นี่​ได้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต​และ​ จัดการทรัพยากรน้ำ​ ตลอดจนนำการเกษตรทฤษฎีใหม่​ มาปรับใช้​ จนเกิดผล​ สามารถสร้างรายได้​มีเศรษฐกิจ​ที่ดีขึ้นตามลำดับ
จากการที่ทำสวนยาง​และมีการทำนา​ส่วนใหญ่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว​  และเมื่อหลายปีผ่านมา​ เกิดปัญหาด้านน้ำ​ สภาพบริเวณนาดินเปลี่ยนไป​ เกิดปัญหาน้ำไม่ทั่วถึง​ เพราะชาวบ้านต่างคนต่างทำ​ จึงเกิดปัญหา​ มีนาร้าง​ ทีละแปลง2แปลง​เพิ่มขึ้น​

ต่อมาจึงมีการดำเนินการ​จัดการของชาวบ้าน​ที่น่าสนใจคือ​ ด้านการจัดการน้ำ​ จนสามารถคืนผืนนากลับมาใหม่​ และเป็นการทำนาแบบทฤษฎีใหม่​แบบเกษตรอินทรีย์​ อีกด้านหนึ่ง​ มีการทำเกศษตรกรรมแบบครบวงจรทั้ง​เลี้ยงปลา​ เลี้ยงปศุสัตว์​ ปลูกผัก​ พืชเศรษฐกิจ​ ทั้งหมดเป็นการทำแบบเกษตรอินทรีย์​  ซึ่งเมือมาถึงบริเวณแถบนี้จะพบกับผืนนาเขียวชอุ่ม กว้าง​ไกล ต้นข้าวที่กำลังออกรวง​ รอเก็บเกี่ยว​ และชาวบ้านที่เลี้ยงวัว​ นำวัวมากินอาหาร​ สลับกับ​ แปลงผัก​ และไร่สวน​ ยาง​ ภูมิแวดล้อมอันสบายตา

นายสนธยา พรหมดำเนิน​  เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ​ เล่าว่า จากที่ผ่านมา เมื่อเกิดปัญหาน้ำ​แล้ว​ จึงได้ดำเนินการจัดการเรื่องน้ำก่อน  ชาวบ้านได้หันมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม​ ครั้งแรก​ จำนวน 36 ราย มาร่วมเรียนรู้ศึกษา การแก้ปัญหาร่วมกัน  โดยมีหลายหน่วยงานมาช่วยส่งเสริม​  ทั้งเกษตรจังหวัด พัฒนาที่ดิน​ รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน​ จนทำให้ชาวบ้านได้นำความรู้นั้น มาทำเกษตรใน”แนวทฤษฎี​ใหม่ แบบเกษตรเชิงประณีต” ทำให้มีการพัฒนาขึ้น ได้ความรู้วิชาการกระบวนการรูปแบบใหม่​ ซึ่งทำให้พวกเขาได้ผลผลิตตามมามากขึ้น​  และในที่สุดสามารถเชื่อมโยงสู่ภายนอกได้ โดยจัดตั้งกลุ่มโครงการ พืชผักสวนครัวรั้วหลังบ้าน มีการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผักเศรษฐกิจอื่นๆ แต่ต่อมาเกิดปัญหาเรื่องที่ดินเป็นที่ลุ่ม เป็นที่ชุ่มน้ำ และปัญหาแมลง​ ทุกคนจึงปรับเปลี่ยนวิธี​หาความรู้​ใหม่​  ได้ประชุมร่วมหาทางออกร่วมกันศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ​  จนเกิดการ ปลูกพืชแบบรวมกลุ่มที่นี่​ใช้แปลงหนึ่ง​เป็นศูนย์กลาง  เป็นการปลูกในโรงเรือน​  และใช้การปลูกผักยกพื้น​ ซึ่งมีสถาบันส่งเสริม เกษตรตามแนวพระราชดำริ มูลนิธิปิดทองหลังพระ​เข้ามาส่งเสริมวัสดุอุปกรณ์และชาวบ้านได้มือลงแรงกัน
ส่วนด้านบริหารจัดการ​ได้ดูแลจัดการเอง จากที่ผ่านมาระยะเวลา 6-7เดือน ได้เห็นผล​ผลิตที่ดี มีความชัดเจนมากขึ้น ตอนนี้ได้ทำการตลาดกันเอง และได้เข้า ติดต่อกับกลุ่ม ผู้ขายโดยตรง​ ไม่โดนพ่อค้าเอาเปรียบ
พืชเกษตรที่ชาวบ้านปลูกที่ผ่านมา​ เช่น​เมล่อนมะเขือเทศสีดา​  ผักสลัดต่างๆ​  พืชทางเศรษฐกิจนอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงปลาในบ่อ​ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่บ้านด้วย เป็นการทำเกษตรแบบครบวงจรตามหลักวิถี ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  นางสาวณัฐนาพร ไชยผลอินทร์ ประธานกลุ่มเกษตกรทำนาโยน บ้านละโพ๊ะ ต.ป่าไร่ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี
หรือพิไร​ กล่าวว่า เรามีปัญหาเรื่องนาร้างมานาน จึงมีการ รวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหานาร้างขึ้นโดยการ ซ่อมแซมครูไส้ไก่และกระตุ้นเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากการซ่อมแซมนี้ ในพื้นที่ 117 ไร่ มาวางแนวทางลดต้นทุนการผลิตและใช้การผลิตแบบใช้ทฤษฎีใหม่การทำนาโยน ปรับปรุงบำรุงดิน กับเกษตรกรทั้งหมด 9 ราย เป็นแปลงต้นแบบ โดยใช้การปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ รายการทำนาโยนนี้เราได้มีการศึกษาการทำแบบใหม่ แบบปราณีต​ มีการจดบันทึก ทำข้อมูล เพราะปีนี้​ พี่ก็ปลูกเป็นปีแรก จากที่เห็นคือมีการแตกกอมากขึ้น จำนวนต้นกล้าที่ใช้ก็ลดลง​ และเป็นการประหยัดเวลามากขึ้น​  ทำให้ลดต้นทุนได้หลายอย่าง ส่วนการ บำรุงปุ๋ยบำรุงดินนั้นเราใช้ ขี้แพะ เพื่อป้องกันหนูด้วย นอกจากนี้เราได้เรียนรู้กรรมวิธีควบคุมน้ำอีกด้วย เราได้เก็บรายละเอียดสุ่มตรวจจดบันทึกเพื่อปรับใช้ในปีหน้า เพื่อในปีหน้า​ เราสามารถรู้ผลผลิตและเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น​
จากผลผลิตที่ได้นั้น 20% จะเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์ไว้ต่อยอดในปีถัดไปส่วนที่เหลือเรามาบริโภคเองในครัวเรือนโดยแบ่งให้สมาชิกทั้งหมด 8 ครอบครัวในจำนวน แรงต้นแบบที่เราปลูกนาโยนนี้จำนวน 18 ไร่ คาดว่าในปีต่อไปจะเพิ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากขึ้นอีก

   ปัจจุบัน สำหรับเกษตรกร ที่เป็นหมู่บ้านตำบลป่าไร่นี้ยังอยู่ระหว่าง ศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจและขยายกับเกษตรกรอื่น ให้มีการขยายผลมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการเกษตรในด้านอื่นเช่นการปลูกเห็ด ซึ่งใน ระยะเวลาไม่นานนี้ จะเห็น ความชัดเจนในการทำเกษตร ผสมผสาน และมีการเปลี่ยนแปลงในการทำเกษตรเชิงอินทรีย์ จนเป็นสามารถเป็นโมเดล การพัฒนาเกษตรกรระดับจังหวัดได้ต่อไป