2 นักวิชาการชี้ รัฐบาลใหม่ต่อพรก.1เดือน ดีจริงไหม

0
389


หลังจากครม.ไฟเขียวต่อ ‘พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ’ จังหวัดชายแดนใต้ 1 เดือน มอบ ‘สมศักดิ์ เทพสุทิน’ เป็นประธานฯ กบฉ. หาแนวทาง ‘สุทิน’ รอนโยบายนายกฯ ย้ำกลาโหมเป็นเพียงหน่วยปฏิบัติ ‘โฆษกรัฐบาล’ เชื่อเป็นไปทิศทางบวก เน้นสิทธิเสรีภาพประชาชน
ล่าสุด 19 กย.66 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่ จ.นราธิวาส ยกเว้น อ.ศรีสาคร อ.สุไหงโก-ลก อ.แว้ง และ อ.สุคิริน จ.ปัตตานี ยกเว้น อ.ยะหริ่ง อ.มายอ อ.ไม้แก่น อ.กะพ้อ และ อ.แม่ลาน ส่วน จ.ยะลา ยกเว้น อ.เบตง และ อ.กาบัง ไปอีก 1 เดือน

อ.เอกรินทร์ ต่วนสิริ นักวิชาการ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า
ในเรื่องการต่ออายุ 1เดือน ของรัฐบาลใหม่ซึ่งเป็นรัฐบาลพลเรือน ครั้งนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีกว่าเดิม ซึ่งปกติจะต่อครั้งละ 3 เดือน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงใหม่ ส่วนในด้านการจะสั่งยกเลิกพรก.ฉุกเฉินซึ่งเป็นเรื่องความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบมานาน
แต่ต้องเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งยังคงมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายที่เป็นเครื่องมือ ในห้วงเวลา 1 เดือน ไม่ว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบนโยบายแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จนถึง ท่านสมศักดิ์ เทพสุทิน เองที่ดูแลและทำนโนบาย จะต้องทำความเข้าใจกับทางกองทัพและหน่วยความมั่นคง
ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ถ้าหากจะมีการยกเลิกทั้งหมด คงจะต้องมีแผนงานเพื่อจะมารองรับ ส่วนตัวเห็นว่าเรื่องนี้ต้องไม่รีบ เราต้องใจเย็นๆ เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆมูฟไปสู่ทางออก ต้องค่อยๆแก้ปัญหาไป อย่ามองว่าการยกเลิกทันทีโดยไม่มีมาตรการมารองรับใดๆ คิดว่าต้องให้เวลากับฝ่ายบริหารด้วย
การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยหน่วยงานอีกหลายๆส่วน เราจะมองในมุมเดียวไม่ได้ แต่แน่นอนว่า ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ที่จะได้รับนั้น ต้องคำนึงถึงประชาชนให้มากที่สุด
ในทางวิชาการเราจะไม่มองถึงการยกเลิกไปเลยทีเดียว แต่ต้องคำนึงถึงการทำงานของฝ่ายบริหารด้วย เรื่องนี้ต้องจัดการพร้อมกันหลายส่วน
และด้านการพูดคุยสันติสุข จะเดินหน้าอย่างไรนั้น ในหลักการ การทำเจตจำนงค์ทางการเมือง poltical will ที่ผ่านมาเราพูดถึงแถลงการณ์ของรัฐบาล การแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการทำงานด้านสันติสุขหรือสันติภาพ และการดำเนินการด้านนี้จะต้องมีแบบแผนที่ดี มีการเปิดรับฟังเสียงประชาชน การใช้เครื่องมือต่างๆหลายๆอย่างที่จะนำมาใช้ เพื่อดูดซับ ได้รับฟังเสียงของทุกภาคส่วน เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก เพื่อแสวงหาทางออก ต้องเน้นที่วิธีการ และมีเป้าหมายชัดเจน
ถ้าเรามีการตั้งเป้าหมายชัดเจน วิธีการคือสิ่งสำคัญที่ต้องผลักดันให้ได้ การรับฟังเสียงของภาคสังคม การพูดถึงเรื่องนี้อย่างมีวุฒิภาวะ ไม่มองเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ของรัฐบาลแต่เพียงอย่างเดียว เพราะผลกระทบของประชาชน และผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับความเดือดร้อน จากการปิดล้อม จากการปฎิบัติการของทางทหาร อันนี้เราต้องฟังเสียง และดูดซับเรื่องเหล่านี้ และให้ความสำคัญกับประชาชนให้มาก การแก้ปัญหาจะมีทิศทางที่ดีขึ้นครับ

อ อับดุลรอซัก วรรณอาลี อดีต อจ.ราชภัฎยะลา ให้ความเห็นว่า
การต่ออายุ พรก.ของรัฐบาลใหม่ แน่นอนว่า ไม่ส่งสัญญาณออกในทางบวกแต่อย่างใด ยังคงเป็นบรรยากาศเดิมๆ ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร แน่นอนประชาชนบางส่วนก็มีความอึดอัด เหมือนเดิม ก็ค่อนข้าง คาใจอยู่ เพราะว่าตลอดเวลาการทำงานของรัฐบาลหรือกอ.รมน ก็ชี้วัดว่าสถานการณ์ใต้ดีขึ้น ดังนั้น เมื่อดีขึ้นแล้ว ก็ไม่ควรต่อกฎหมายเพิ่มอะไรอีก ควรให้มาตรการผ่อนคลายมากกว่า ถ้ามันดีขึ้นจริง เหมือนกับ การรักษาอาการผู้ป่วย เมื่อเราใช้ยาแรง มานาน และ ผู้ป่วยอาการดีขึ้นแล้ว จะถามว่า เราจะใช้ยาตัวเดิมหรือจะเปลี่ยนยา เพื่อให้ ผู้ป่วยอาการดีขึ้นไหม อันนี้เป็นทำนองเดียวกัน
อันที่จริงผมก็เห็นว่าสถานการณ์มันลดลงมาก การตั้งด่านตรวจต่างๆ ก็ลดน้อยลง พรก.ฉุกเฉิน ก็ควรยกเลิกหรือไม่ต่ออายุ ปล่อยบรรยากาศให้ดูดี เพราะเรากำลังทำสถานการณ์ให้มันปกติ ให้มันเข้าสู่สภาวะ ปกติ แต่เหมือนรัฐบาลเอง ก็ยัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร เมื่อมองดูในนโยบาย การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่มีอะไรใหม่ ยังไม่มีความชัดเจน แน่นอนว่าช่วงนี้ทุกคนเห็นด้วยกับการพูดคุยสันติสุข ที่พอจะ ส่งสัญญาณบ้าง ทุกคนสนับสนุนการพูดคุยเจรจาสันติสุข หรือสันติภาพ แต่ต่อจากนี้ไปควรจะต้องลง Detail ให้มากกว่านี้ว่าจะพูดคุยกันอย่างไรและมีทิศทางกันอย่างไร ไม่ให้ สถานการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม และให้เป็นตัวชี้วัดชัดเจนว่า การพูดคุยส่งผลให้การใช้ความรุนแรงและสถานการณ์ดีขึ้นมา
ตัวพรก. ฉุกเฉินนี้เองก็เป็นยาตัวหนึ่ง ที่จะสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศให้เกิดสันติสุขได้ แต่ถ้ารัฐบาลยังคงไว้ ยังต่ออายุขึ้นไปอีก ก็แสดงว่ายังไม่ส่งสัญญาณที่ดีอะไรกับพื้นที่ ทุกอย่างยังอยู่ที่เดิม

กองบรรณาธิการ