เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 09.00 น.ที่ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา อ.เมือง จ.ยะลา มีการจัดกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง”ภาษามลายูในฐานะภาษาไร้พรมแดน” โดยมีเอกอัครทูตบรูไนประจำประเทศไทย กงสุลใหญ่ มาเลเซียประจำสงขลา กงสุลสาธรณรัฐอินโดนิเซียประจำสงขลา ตัวแทนองค์กรเอกชนจากประเทศสิงคโปร์ ผู้บริการสถานศึกษา 6 หน่วยงาน ภาคประชาสังคม และหัวหน้าส่วน มีวิทยากรจากประเทศในอาเซี่ยนร่วมบรรยายให้ความรู้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Melayu Day@yala ที่ทาง จ.ยะลา ร่วมกับเทศบาลนครยะลา จัดขึ้น
นายรักชาติ สุวรรณ ประธานเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ เปิดเผยว่าภาษาที่ใช้อยู่ในพื้นที่ทุกภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญของการสื่อสาร ความจริงภาษามลายูก็นึกเสียดาย เกิดที่นี่แต่ไม่ได้เรียนรู้ในการใช้ภาษา ทำให้บางครั้งพอฟังการสนทนาแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจ จะปรับอย่างไรกำลังมองว่าคนในพื้นที่โดยเฉพาะเด็กๆเยาวชนหรือตามโรงเรียนตนคิดว่าก็มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้แล้วก็นำภาษาเหล่านี้ไปใช้ได้เหมือนกัน นอกจากเรียนเฉพาะภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสาร เพื่อไปทำงาน เพื่อสอบ ภาษามลายูก็มีส่วนจำเป็น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เหตุผลคือนอกจากจะสื่อสารกับเพื่อฝูง สื่อสารกับคนในพื้นที่แล้ว เวลาสนใจที่จะให้บุตรหลานไปเรียน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียนที่ยุโรป อังกฤษ หรืออเมริกา ไปเรียนมาเลเซีย อินโดนิเซีย ก็สามารถสื่อสารได้ เพียงแต่ว่าถ้ามีหลักสูตรให้เยาวชนเรียนสามารถอ่านออก เขียนได้ ต่อไปเยาวชนก็เรียนแถวนี้ก็เรียนได้ การทำงานทำมาหากินก็สะดวกและการสื่อสาร การพูดคุยกับคนในพื้นที่ก็จะมีความเข้าใจมากขึ้น
นายรักชาติ ยังเผยว่าในอดีตที่ผ่านมาคนที่จะพูดภาษามลายูได้คือพ่อค้าจีนเสียส่วนใหญ่จะพูดได้เพราะต้องสื่อสารค้าขายกับคนมาลายูด้วย แล้วคนพุทธทั่วไปที่ไม่มีการค้าขายก็ไม่ได้สนใจในการสื่อสารเพราะถือว่าเพื่อนก็สามารถพูดภาษาไทยได้ แม้สำเนียงการพูดจะไม่ชัดมากนักแต่ก็คุยกันได้ ทำให้ลืมนึกไปว่าความจริงในพื้นที่มีการสื่อสารหลากหลาย จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้การสื่อสารที่หลากหลายด้วย ในอดีตไม่คิดในเรื่องนี้ พอปัจจุบันประกอบกับมีเหตุการณ์ไม่สงบด้วย การเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วยโลกการสื่อสารที่ไร้พรมแดนด้วยคิกว่าเป็นสิ่งจำเป็นในยุคปัจจุบันทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยสนใจในเรื่องการสื่อสารที่เป็นภาษาถิ่น ทำให้การสื่อสารเหล่านี้ห่างหายสำหรับคนต่างศาสนิก อย่างน้อยจะสร้างความเข้าใจในการสื่อสาร คนที่สื่อสารภาษามลายูมาตั้งแต่เด็กกับผู้ที่พึงหัดความรู้สึกของการสื่อสารค่อนข้างจะแตกต่างโดยเฉพาะในกระบวนพูดคุยเพื่อสันติภาพ จะสร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ภาพ/ข่าว มูกะตา หะไร @ ชายแดนใต้ ยะลา
