โตะนิก(รามัน) รายารามัน หรือผู้วิเศษ? ตอนที่ 2

1
3265

โดย อิสมาแอล สาเระ นักประวัติศาสตร์ เบตง มลายู

ปรากฎมีชื่อโตะนิก ปรากฏอยู่หลายที่ ในขอบเขตหัวเมืองตอนใน หลายแห่งทั้งในประเทศไทย เช่น รามัน รือเสาะ บันนังสตา เบตง ด้านฝั่งมาเลเซีย มีที่ เมือง เปอกาลันฮูลู( Pekalan Hulu) เมืองเกอริก (Gerik) เมือง เลอโงง(Lenggong) และอื่นๆ อีกหลายเมืองและไกลไปอึกถึงทางตะวันออกของเปรัคและจนถึงทางเหนือของรัฐ กลันตัน (Hulu Kelantan) ประเทศมาเลเซีย แถว เจอลี (jerli) ตาเนาะแมเราะ ( Tanah Merah) รัฐกลันตัน ก็ปรากฎมีสถานที่และเรือน ของโตะนิก ด้วยอีกสถานที่หนึ่ง แต่สถานที่นั้นไม่ได้มีการสร้างเจ้าขึ้นมาบูชาเหมือนใน อำเภอเบตง

เมื่อเรือนของ โตะนิก ผุพังไปตามกาลเวลา และก็ไม่ได้สร้างใหม่ ก็เหลือเพียงเรื่องราวที่เล่าต่อ ๆกันมาเท่านั้น ไม่เหมือนในเบตง ไม่มีสุสาน โตะนิก มีแต่ศาลเจ้าโตะนิก ที่ตั้ง อยู่ในบริเวณ โรงเรียนเบตง “ วีระราษฎร์ ประสาน” เป็นที่นับถือและกราบไหว้ของ พี่น้องชาวจีน และ ไทยพุทธแทน

เขตฮุลู เปรัค ในปี 1882 (พ.ศ.2424 ) เขต ฮุลุเปรัค อยู่ใต้การปกครองของ เมือง รามัน) เมืองรามันในสมัยนั้นมีอาณาเขตปกครองกว้างขวาง โดยเฉพาะทางด้านทิศใต้ ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ของ ฮูลูเปรัค และตอนเหนือบางส่วนของรามัน. จนถึง ปี จนถึง ค.ศ. 1899 ( พ.ศ.2442) รามันกับเปรัค ได้ทำสัญญา ปักปันเขตแดนใหม่ ย้าย หลักเขต มาตั้งที่ บ้าน เกอริก และ บ้าน เตอร์เมองอร์ ดินแดน ฮูลูเปรัคดินแดนฮูลูเปรัคส่วนใหญ่กลับไปรวมกับ เปรัค . .

(ขอบคุภาพจาก อจ นิรอกิ้บ บิินนิฮัซซัน ศูนย์การศึกษา Nusantara Staddies Center)

เป็นที่ยอมรับกันว่า สุสาน ( กุโบร์) ของ โตะนิก ตั้ง อยู่ ที่ ต. โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา ตรงข้ามสถานีตำรวจตำบล โกตาบารูโกตาบารู เขตเทศบาล ต..โกตาบารู อ.รามัน จ..ยะลา ห่างจากเรือน ของโตะนิก เอง ประมาณ 300 เมตร เป็นหลักฐานที่แสดงชัดเจน ว่าสุสาน ของท่านอยู่ที่ โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา ทางด้านฝั่งมาเลเซีย ก็ไม่มีการอ้างว่ามี สุสาน โตะนิก ในพื้นที่นั้น
กุโบร์ โตะนิ ที่ ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา

.
จากการลงพื้นที่ของขณะทำงานชุดหนึ่งที่ ต. โกตาบรู อ..รามัน ออกสำรวจบริเวณที่ตั้ง บ้านอดีต รายา รามัน และศึกษาหาข้อมูล ประวัติ เรื่องราวเกี่ยว กับโตะนิก ได้ข้อมูลจากคนในพื้นที่ว่า ราษฎร ในเมืองรามันสมัยก่อน จะเรียก รายารามัน ว่า โตะนิ ( ไม่ได้ระบุว่า เจ้าเมืองคนไหน)
. มีรายงานอีกด้านหนึ่งที่มาจากการศึกษา ค้นคว้าของนักวิชาการ และ ผู้สืบเชื้อสาย มาจากอดีตรายาเมืองรามัน (โตะนิก) ที่อาศัยอยู่ในประเทศ มาเลเซีย ได้บันทึกระบุใว้ว่า โตะนิกนั้นมาจากชื่อ รายาชื่อ ต่วน โตะ นิก โตะ แลอ์ (Tuan Tok Nik Tok Leh )ที่เป็นรายารามันคนที่ 1  และสำหรับรายชื่อผู้ สืบเชื้อสายอดีต รายารามัน ยังมี อีก 2 คน ที่มี ชื่อโตะนิก นำหน้าชื่อ คือลูกชายคนหนึ่งชื่อ ต่วน นิก อูลู (Tuan Nik Ulu) และลูกชายอีกคนหนึ่งชื่อ ต่วน นิก ลาบู ( Tuan Nik Labu)

รายชื่อเจ้าเมืองรามัน และระยะเวลาการเป็นเจ้าเมือง

1) Tuan Mansur (1785/1816 – 18xx) ต่วนมันซูร์ 2328/2359-23++
2) Tuan Kundur / Tuan Tok Nik Tok Leh bin Tuan Mansur (18xx- 18xx) ต่วนกุนดูร์ ต่วนโตะนิก โตะแลฮ บินต่วนมันซูร์
3) Tuan Timun / Tuan Nik Ulu bin Tuan Kundur (18xx – 18xx) ต่วนตีมุน หรือ ต่วน นิก อูลู บินต่วน ตีมุน
4) Tuan Abdul Kandis / Tuan Jagong bin Tuan Kundur (18xx – 1902) ต่วนอับดุลกานดิส หรือต่วนยากงบินต่วนกุนดุร์ ต่วนยากง234+-2445
5) Tuan Lebeh (Raja Muda Reman) bin Tuan Kandis ต่วนเลอเบฮ์ บินต่วน กานดิส ไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง เป็นเพียงรกษาการเจ้าเมืองรามัน

. มีรายงานอีกกระแสหนึ่งที่มาจากการศึกษา ค้นคว้าของนักวิชาการ และ ผู้สืบเชื้อสาย มาจากอดีตรายาเมืองรามัน (โตะนิก) ที่อาศัยอยู่ในประเทศ มาเลเซีย ได้บันทึกระบุใว้ว่า โตะนิกนั้นมาจากชื่อ รายาชื่อ ต่วน โตะ นิ โตะ แลอ์ (Tuan Tok Nik Tok Leh )ที่เป็นรายารามันคนที่ หนึ่ง และผู้ สืบเชื้อสายอดีต รายารามัน ยังมี อีก 2 คน ที่มี ชื่อโตะนิก นำหน้าชื่อ คิอลูกชายคนหนึ่งชื่อ ต่วน นิก อูลู ) Tuan Timun / Tuan Nik Ulu bin Tuan Kundur (18xx – 18xx) ต่วนตีมุน หรือ ต่วน นิก อูลู บินต่วน ตีมุน