โจรจีนปล้นโรงพักเบตง ตอนที่9 ความเสียหาย ร่างกายและทรัพย์สิน

0
789

โจรจีนบุกโรงพักเบตง โดย อิสมาแอล สาเร้ะ นักประวัติศาสตร์มลายูเบตง

ข้อเสนอ ให้เคลื่อนตัว   เป็นอันตกลง  โดยให้เดิน ไปที่ละคนใช้เวลาไม่นานนัก  ทั้ง  4  คน ก็มาหมอบเรียงหน้ากระดาน อยู่ ข้างเนิน  ใกล้บ้าน  “บาบู”  มองไปที่ตรอก  ก็ไม่เห็น โจรจีน  สักคน   จึงเคลื่อนตัว  เข้าไปในตรอก ไปหยุดตรง ข้างๆนาย “บาบู” (ไม่ออกไปถนนหลวง  เป็นห่วงความปลอดภัย   )  แล้วช่วยกัน ตะโกน  เรียก  นาย  เพิ่ม  เสติกะ  บุรุษไปรษณีย์  เรียกอยู่ตั้งนาน  กว่า  นาย เพิ่ม  จะขาน รับ แต่ก็ไม่กล้าออกมาจากบ้าน

นาย  บุญช่วย  กำเนิด  ผู้ช่วยนายด่าน ศุลกากร  เช่าบ้านอยู่ตรงข้าม  บ้าน  “บาบู”   นายบุญช่วย  โผล่ หน่าออกทางหน้าต่าง  ชั้นบนแล้วร้องว่า  “พวกเรา   พวกเรา  “   นาย  สงวน   จึงขอให้นาย  บุญช่วย   ช่วยเรียก   นาย  ภักดิ์  อิทธิไมย์ยะ เสมียนไปรษณีย์  ที่เช่าบ้านห้องแถวติดกับนาย  บุญช่วย  ช่วยบอก นาย ภักดิ์ให้ไปส่ง โทรเลขด่วน 2  ฉบับนั้น

รอได้  5  นาที เห็นจะได้   บุรุษไปรษณีย์  และ เสมียนไปรษณีย์ จึงค่อย  แง้มประตูออกมา เพียงครึ่งตัว  สีหน้าแสดงออก  ถึงความทุกข์   นายสงวน  จึงร้อง  บอกไปว่า   “ไม่มีอะไร  แล้ว  วิ่ง มาหาพวกเราทางนี้  “เมื่อ เจ้าหน้าที่ วิ่งมาสมทบ ก็พากันเดินทาง มาที่ ทำการ ไปรษณีย์ โดยปลอดภัย  (  ทราบภายหลัง  จาก  คุณ เกิน   ภรรยา  คุณประพันธ์  ที่มีบ้านติดกับโรงรถว่างที่โจรจีน ใช้เป็นที่หลบซ่อน ตัว  เข้าๆ ออก อยู่ตลอดเวลาที่ยิงต่อสู้กัน  เมื่อ สักครู่ที่ผ่านมา    คุณ เกิน บอก ว่า ขณะที่มีเสียงเรียก นายเพิ่ม  แอบดูตามรูฝา  เห็นพวกโจรจีน  ยังยืนคุมเชิง  อยู่ ถึง 7  คน)

เมื่อถึง  ไปรษณีย์  มอบโทรเลขให้นาย ภักดิ์  โดยมี  ส.ต.ท..  แดง ตามไปเป็นเพื่อน ที่ทำการ  พร้อมด้วย นายเพิ่ม  ส่วน  นาย  สงวน   ส.ต.ท.. พร และ  ส.ต.ท..  สะและ คอยระวัง เหตุ อยู่ใต้ถุน ที่ทำการ ไปรษณีย์  ครูต่อจึงได้ย้ายที่ใหม่  ไปอยู่ใต้ถุนบ้านพัก  โละกิจ  ที่เป็นที่เดียวกับ  ที่ตั้งมั่นตอนยิงกับโจรจีน  ยังมองเห็นได้ว่า  โจรจีน  ยังเดิน  กวักไกว่  บริเวณ สามแยก ( ปัจจุบัน 4 แยก หอนาฬิกา)  แต่อยู่ห่างมาก  พ้นวิถีกระสุนแล้ว

ทันใดนั้น  ส.ต.อ  ปะจู   เชื้อตำรวจ    พลฯ   ดอเลาะ  หะยี  และ  พลฯ  แวกาจิ  มานิส   รวม  3  คน  ได้เข้ามาสมทบ   แจ้งว่า  หลวง  เจริญฯ   ส่งมา และ พระทำนุฯ  กำชับ  เรื่องส่ง โทรเลขด้วย   จึงตะโกนถาม ที่ไปรษณีย์  ว่าส่งหรือยัง  ได้รับคำตอบจากนาย ภักดิ์ ว่า  “  ยัง”   เสริม อีกว่า  เรียกทาง” โกระ”    ตั้งนาน แล้ว  แต่ไม่ตอบ      อารามตกใจลืมไปว่า  ไปรษณีย์  โกร๊ะ (Keroh)  จะเปิดทำการติดต่อทาง โทรเลขกับเรา เวลา  14.00  น.(ระหว่างเวลา  12.00-14.00 น. เปิดเวลาพักเที่ยงของ  มาลายาเค้า ) แต่ขณะ นั้น  คงเป็นเวลา   13.00 น.  การสื่อการระหว่าง  ทั้งสอง  ฝ่าย  ยังไม่เปิด

ตำรวจที่ตามมาสมทบ  ใหม่  3  คน  คงอยากจะยิงปืนเต็มแก่  เพราะกลุ่มนี้  มาถึง  สถานีตำรวจ  ตอนการปะทะ สิ้นสุดลงแล้ว   แม้รู้ว่า  พวกโจรอยู่ไกล พ้นระยะการยิง  ก็ยังพยายาม  จะยิง คนละหลายนัด   ทำให้  ส.ต.อ. สมพร   คอยห้ามเพื่อน  และบอกว่า  ปล่อยให้พวกโจร  เข้าใกล้กว่านี้แล้วค่อยยิง   มีใครคนหนึ่งในกลุ่ม บอกว่า  เห็นธง  สีแดง  ปักใว้หน้าร้าน   คงจะแสดงว่าเป็นพวกเดียวกัน    เพราะ พวกปล้นที่เดินผ่านสายตา  เมื่อสักครู่ที่ผ่าน  ก็ติดแถบผ้า  สีแดง (บางคนมีผ้าขาวด้วย) อย่างน้อยก็แสดงว่า  เป็น มีส่วนรู้เห็นในเหตุการณ์ครั้งนี้   มุ่งให้ความสำคัญกับธงแดง  ที่ติดกับหน้าร้าน  ด้านซ้ายมือ    ว่า  เป็นร้าน อะไร  “ พอรู้ว่าอยู่ในกลุ่มร้าน  “ท่งกี่”  มั่นมีหลง”   “ไท่ยิ้น”  แต่ไม่สามารถ เจาะจงว่า  ร้านไหนกันแน่  เพียงแต่มีข้อสังเกตว่า  “ธงแดงผืนหนึ่ง  (ที่จริงมี  2  ผืน อีกผืนไม่มีข้อสังเกต) อยู่ชิดหรือติดกับป้ายสีขาวใหม่ใกล้เสาหน้าร้าน “     นายสงวน กล่าว

เวลา  14.45  นาย  ภักดิ์  ฯ  เสมียนไปรษณีย์  เดินลงจาก ไปรษณีย์  แล้วบอกว่า  โทรเลข  2  ฉบับ  ได้ส่งเรียบร้อยแล้ว  นายสงวน  จึ่งสั่งในให้ นาย  ภักดิ์  นาสำเนา โทรเลข ไปให้  คุณ  พระ  ฯ (นายอำเภอ) ที่สถานีตำรวจ  เพื่อให้ทราบข้อความที่ส่งไป

ในขณะเดียว มองไปในตลาด  บนถนน  และ หน้าร้าน  ฟุตบาธ  ไม่เห็นมีคนเดินสักคนเดียว     และดูโล่งไปจนถึง   สามแยก (  ปัจจุบัน เป็น 4 แยกหอนาฬิกา)  กลายเป็นสภาพร้างผู้คนภายในไม่กี่ ชั่วโมง

ต่อมาเวลา  15.00  น..มีรถยนต์  กระบะ บรรทุกไม้วิ่งเลี้ยว สามแยก แล้ว  วิ่งตรง มาที่  นาย สงวน  และ พรรคพวก  ซุ่มอยู่  (ใตัถุนบ้านโลหะกิจ)  มีคนยืนขนาบ คนขับ ซ้ายขวา  ถือปืนยาวในมือ อีกมือหนึ่งเกาะรถใว้  อีกมือหนึ่งถือปืนยาว ปลายกระบอกชี้ขึ้นฟ้า  นาย สงวนและพวกช่วยกันเพ่งดู  เพื่อจะได้รู้ว่าเป็นใครกันแน่  นายสงวนกล่าวว่า “  ทั้งที่พวกเรามีกัน  14  ตา  ยังมองไม่ออก  จนรถเข้ามาใกล้หน้า  ด่านศุลกากร  (ปัจจุบัน คือบ้าน  นาย  ตันกุยลิม หรือ นาย  วีระ  ตัณทปุตตะ /ผู้เขียน)  เลยพูดกันว่า  จะหยุดพวกมัน ตรงนั้ น   จึงยิงขู่ไป  2   นัด  เพื่อให้หยุด   แต่มันยังไม่หยุด   จึงยิงขู่ไปอีก   1   นัด  รถจึงได้หยุดตรงหน้า  บ้าน  นาย ประพันธ์  อิสรางกูร ฯ  ( ปัจจุบันคือ  วินิจ คลินิก)

ทันใดนั้น   ส.ต.อ.  ป๊ะจู   เชื้อตำรวจ   มีสายตาดีกว่าใคร  โดยจำได้ว่า  ทั้ง  2  คนที่ถือปืน  บนรถคือ  นาย  พลอย  อายุศะนิล   พนักงานป่าไม้    และนาย  สุทธิ์    จิตตพันธุ์   เสมียนมหาดไทย  จึงได้ให้สัญาณว่า ไปว่า  ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ ซุ่มอยู่   แล้วคนบนรถก็แยกย้ายกันไป

หลังจากรถ  กระบะ  จอดในตลาดตรงบ้าน นาย ประพันธ์  แล้ว   คน (คนไทย) ที่หลบโจรจีน  ตามที่ต่าง  ก็พากัน ทยอย ออกมา จากที่ซ่อน  แล้วพากัน  เดินไป สถานีตำรวจ  เพื่อยึดเป็นที่พึ่ง  เดินกันมาไม่ขาดระยะ   พวกเราจึง  ได้ทราบว่า  พวกเราที่เป็น ประชาชน ธรรมดา  และข้าราชการหลายราย  ได้ถูกโจรจีนทำร้าย  ร่างกายทั้งเด็กและผู้ใหญ่   บางคนบาดเจ็บสาหัสก็มี   นอกจากนั้น  ยังทำลายทรัพย์สินด้วย   บ้านช่อง ห้องหับ ก็ถูกทำลาย เสียหาย  นายสงวนกล่าวว่า “  พวกเราคนไทย  ต้องพากันหอบลูก หลาน  หนี หลบซ่อนโจรจีน  แทบจะเอาชีวิตไม่รอด ขณะนี้พวกเราที่สถานีตำรวจเพิ่งทราบว่า  พวกโจรจีนไม่ได้มุ่งหวัง โจมตี สถานีตำรวจอย่างเดียว  แต่ตามบ้านคนไทย  ย่านท้ายตลาดก็ถูกปล้น ถูกทำร้ายในขณะเดียวกันด้วย”                   เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ครอบครัว คนไทย ที่ถูกโจรจีนทำร้าย  ทางเจ้าหน้าที่  ได้ส่งรถยนต์  พร้อม ตำรวจ ไปรับครอบครัว ที่ถูกทำร้าย และที่ ไม่ถูกทำร้าย  ให้มารวมกันที่สถานีตำรวจให้หมด  เพื่อสะดวกที่จะต่อสู้กับโจรจีน  ทางราชการ ไม่ต้องไปห่วงหน้าพวงหลังอีก

หลังเวลา   15.40  น.เสมียนกลับ  มารายงาน  กับนาย  สงวน ว่า  คุณ  พระฯ  ให้โทรเลข  ย้ำเตือน  ไปยัง มณฑลฯ  อีกครั้ง  ให้มณฑล  รีบส่งกำลัง มาช่วยโดยเร็ว  และให้บอกไปว่า  ขณะนี้เรายังคงยิงต่อสู้กันอยู่    (ความจริงเมื่อพ้นเวลา  11.00 น.มาแล้วก็ไม่มีการยิงต่อสู้)   นาย สงวน  จึงขึ้นไป บน  ไปรษณีย์  แล้วเขียนโปรเลข ให้เสมียนไปร ษณีย์  ส่งไป  ความว่า

ด่วน..

เทศา   สงขลา

พวกปล้น  มีกำลังมาก  เกรงจะเป็น อันตรายในเวลา  ค่ำคืน   ขอได้โปรดส่งกำลัง  วันนี้เร็ว   ขณะนี้ยังคงยิงต่อสู้กับ ผู้ร้าย

 

พระ  ทำนุประชากิจ

 

  1.  โปรดติดตามอ่านตอนต่อไปครับ

ขอขอบคุณบทความ คุณสงวน จิรจินดา / เรียบเรียงโดย นายสุกรี มะดากะกุล บก.@ชายแดนใต้