2476 โจรจีนบุกโรงพัก ตอนที่ 8 (อุปสรรค การสื่อสาร การเดินทาง)

0
800

 

โดย อิสมาแอล สาเระ นักประวัติศาสตร์ มลายูเบตง
ในปี พ.ศ. 2476 การเขียนโทรเลขตามสาย คือการสื่ออย่างอย่างเดียวที่มีสมัยนั้น โดยการส่ง เป็นรหัส ที่เป็น ขีด ๆ ไม่ไช่คำพูดอย่างโทรศัพท์ หรือวิทยุ โทรทัศน์ รหัสนี้มีใช้ชนิดเดียว เรียกว่า “รหัสมอร์ส” (Morse) แต่แปลได้ 2 อย่าง คือแปลเป็นไทยก็ได้ หรือแปลเป็นอักษร โรมันก็ได้ การแปลเป็นไทย ใช้กันในหมู่คนที่รู้ภาษาไทย อักษรโรมันนั้นใช้เป็นสากล
การส่งโทรเลขเป็น จุดๆ นั้น เมื่อคนรับ ระหัส เป็นคนไทย เขาก็จะอ่าน เป็น “โจรจีน”เหมือนกัน แต่คำว่า โจรจีน ถ้าส่ง ไปให้พนักงาน ที่ไม่รู้ภาษาไทย เขาจะแปล รหัส ออกมาเป็นอักษร โรมัน “ OCHR CHIN “ ซึ่งจะกลายเป็นรหัสลับ มากกว่าคำปกติ ที่เป็นอย่างนี้เพราะการเรียงอักษรเป็นคนละแบบ ไม่เหมือนกันทุกภาษา เมื่อเราต้องส่งโทรเลขภาษาไทย ให้กับคนที่ไม่ไช่คนไทย แต่ต้องการให้ได้ผล เหมือนกับคนไทยรับ จึงต้องหาวิธี เอาอักษร ไทย ไปเปรียบเทียบ กับ อักษร โรมาไนส์ ( Romanize) เช่นคำว่า “โจรจีน “ ก็เขียนเป็น (Chone Chin) อย่างนี้ เวลาส่งไปเป็นรหัส ไม่ว่าจะส่งไปถึงไหน ในระบบโทรเลข ก็จะแปลออกเป็น (Chone Chin) เหมือนกันหมด เพราะเป็นรหัสสากล แต่ปัญหา ก็ยังมีอีก ถ้าผู้รับเป็นคนไทย รู้หนังสือไทย รู้หนังสือฝรั่งด้วย จะเชื่อได้ อย่างไร ว่า คำว่า Chone Chin
เขาจะแปลออกเป็น คำว่า “ โจรจีน” เพราะอักษรโรมัน ไม่แน่นอนตายตัว ยิ่งกว่านั้น อักษรบางตัว ก็แปรผันเป็นตัวอื่นได้อีกหลายตัวเช่นกัน
การสื่อสารนั้นยุ่งยาก ที่ต้องใช้ สอง ภาษา อาจก่อให้ความเข้าผิด หรือแปลผิดได้ เช่น คำว่า “พวกปล้น “ ใน โทรเลขที่ส่งไป เขียนอย่างไร ไม่ให้เข้าใจผิดพลาด อย่างดีก็เขียนว่า ( phuak Plon) ผู้ที่รับ จะเข้าใจตรงกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ ไม่มีหลักเกณท์ อะไรสร้างความมั่นใจได้

ในปี พ.ศ 2476 นาย สงวน จิระจินดา กล่าวว่า “เราต้อง บันทึกใว้ว่า นอกจาก เราต้อง อาศัย สาย โทรเลข ของ มาลายา แล้ว เรายังต้องอาศัย การส่ง ไปรษณียภัณท์ ของ มาลายาด้วย ที่เป็นการขนส่งอีกอย่างหนึ่งในเบตงด้วย คือการส่ง “ไปรษณียภัณท์ จากจังหวัดอื่นประเทศไทย เข้า สู่ อ.เบตง เราต้อง ส่ง ถุงไปรษณียภัณท์ เข้าเมือง ปีนัง ของ มาลายาก่อน ที่อยู่ห่างจากเบตง 130 กิโลเมตร แล้วทาง ปีนัง ก็จะส่งย้อนกลับมาที เมือง โกร๊ะ (Keroh) รัฐเปรัค ทางโกร๊ะ จึงจะส่ง มายัง เบตง อีกทอดหนึ่ง ( สิ่งของที่ส่งมาเบตง จะต้องส่งไปต่างประเทศก่อน แล้วส่งย้อนกลับเข้าเบตง อีกครั้ง / ผู้เขียน) เมือง โกร๊ะ อยู่ห่างจากเบตง 16 กิโลเมตร และในทางกลับกลับกันสินค้าที่ส่ง จากเบตง ออกไป ก็เป็นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ต้องอยู่ภายในวันและเวลาที่เขากำหนดเท่านั้น และเขาจะเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ก็ได้ เราก็ต้องปฎิบัติตาม เราไม่สามารถจะส่ง สินค้าถึงมือผู้รับ ได้เร็วกว่า 7 วัน จนกว่า ถนนเส้น ยะลา-เบตง จะสร้างเสร็จ ซึ่งในขณะนี้สร้างไปได้ ครึ่งหนึ่ง ของ ระยะทาง 130 กิโลเมตร โดยใช้เวลาสร้างมาแล้ว 10 ปี ถ้าการสร้างถนนเส้นนี้ ดำเนินไปแบบนี้ ก็ต้องใช้เวลาอีก 10 ปี จึงจะแล้วเสร็จ ( 2486)
*เมือง โกร๊ะ ( Keroh ) ปัจจุบันเปลื่ยนชื่อเป็น เปิง กาลัน ฮูลู ( Pengkalan hulu )
หลังจากเขียนโทรเลขเสร็จ คือรายงานถึง มณทลและจังหวัดแล้ว ก็พร้อม จะส่งโทรเลขไปตามสายได้ ตรงกับเวลา ไปรษณีย์ ปิดเที่ยง จะเปิดทำการอีกครั้งเวลา 14.00 น. คาดว่าในขณะนั้น เวลา 13.00 น. เพราะไม่มี นาฬิกาให้ดู ที่ทำการไปรษณีย์ ปิดกุญแจ เจ้าหน้าที่พักเที่ยง ยังไม่มีใคร เดินทางมาทำงาน จำเป็นต้องไปตาม เจ้าหน้าที่ มาทำงาน แต่บ้านเจ้าหน้าที่ อยู่ใกล้ บ้าน “ บาบู” ตรงตรอกที่ โจรจีน เดินเข้าออก เมื่อสักครู่ ถ้าเดินไปเอา กุญแจ เหมือนการเดินทางไป เผชิญหน้ากับ โจรจีน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่โล่งแจ้งแบบนั้น คงอันตรายน่าดู แต่ก็จำเป็นต้อง ส่ง โทรเลข ล่าช้าไม่ได้ ถ้าที่ทำการ ไปรษณีย์เปิดไม่ได้ ก็จะส่ง โทรเลขไม่ได้
มีใครบางคนเสนอว่า ควรย้าย ไปที่ ใต้ถุน สำนักงาน ไปรษณีย์ แล้วจากบ้านพัก ของ ไปรษณีย์ ก็ติดสวนยาง ยาวตลอดถึงบ้าน “บาบู” พอจะอาศัย ต้นยางเป็นที่ กำบังได้ ระยะทาง จากสำนักงานไปรษณีย์ ถึงบ้าน บาบู ห่างกันไม่เกิน 100 เมตร เดินไป ก็จะถึง” ควน สูง” 3-4 เมตร ข้างตรอก สามารถ จะมองเห็นโจรจีนที่เข้าตรอกได้ ถ้าเดินอย่างระมัดระวัง ไม่ให้มีเสียง อาจมีโอกาสยิงพวกโจรจีน ได้ด้วยสักคนสองคน

อ่านตอนที่ 9