“มาแกนาซิเมาะโนะ” ชุมชนสร้างสีสัน ท้องทุ่งนา กินข้าวใต้ต้นโตนด กิจกรรมดีที่ปะนาเระ

0
487

ตลอดในช่วงตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกๆปี ท้องนาในแถบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าสู่ช่วงเก็บลงแขกเกี่ยวข้าว เมื่อใครๆขับรถผ่านไปมา ตามถนนหลวง จะเห็นหลายๆพื้นที่มีกิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง เป็นประเพณีท้องถิ่น ที่มีมายาวนาน แต่หลายๆกิจกรรม ก็เริ่ม ห่างหายไปจากวิถีชุมชนไปแล้ว และเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ที่ ศาลานาบู ชุมชนบ้านทุ่ง ต.ท่าข้าม อ ปะนาเระ จ.ปัตตานี จึงเกิดกิจกรรมชุมชน ชื่อ “มาแกนาซิเมาะโนะ” โดยนายวิเชษต์ สายกี้เส้ง นายอำเภอปะนาเระ พร้อมกับนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา และนายเอกชัย ท้าวพันแดง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้ามให้เกียรติร่วมงานและเปิดพิธี ซึ่งผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ครู และชุมชน และ นักวิชาการ ได้ร่วมกันจัดขึ้น สร้างความครึกครื้น และบรรยากาศ ที่ดี สร้างรอยยิ้ม ความรัก ความสมัครสมานสามัคคี ความสนุกสนาน กลับมาอีกครั้งให้กับชุมชน


ภายในกิจกรรมครั้งนี้ มีกิจกรรมมากมายที่ทุกคนต่างร่วมมือร่วมใจกันอย่างเต็มที่ เช่นการแข่งขันทำอาหารฟื้นบ้านวัตถุดิบหลักข้าวเมาะโน๊ะและตาลโตนด รับประทานข้าวยำ(นาชิกาบู) ใต้ต้นโตนด การยิงธนูท้องถิ่น
และช่วงบ่าย จนถึงเย็น มีการแข่งขันว่าวบินขึ้นสูงและ การประกวดว่าวสวยงาม ทำการบินขึ้นฟ้า
โดยนายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล สมาชิกวุฒิสภา ร่วมให้เกียรติ ด้วยการมอบรางวัลการแข่งขันทำอาหารและและผู้ชนะการแข่งขันว่าว อีกด้วย

นายอัฏฐพล เทพยา อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาลัยทักษิณ หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า กิจกรรมสร้างสรรค์ในครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชน ซึ่งได้ศึกษาและวิจัยในพื้นที่ในเรื่องกิจกรรมสร้างสรรค์สร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อสันติสุข เพื่อให้ชาวบ้านไทยพุทธมุสลิมได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกันเป็นแบบพหุวัฒนธรรมและยกระดับของพื้นที่ โดยการที่นำเอาข้าวในพื้นที่ซึ่งเป็นข้าวท้องถิ่นซึ่งมีชื่อเรียกกันว่า ข้าวพันธุ์เมาะโน๊ะ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพันธ์ุดีของท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนบ้านทุ่งทั้งนี้ได้หารือกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อหาข้อสรุปว่าจะใช้ชื่อในการจัดงานอย่างไรโดยมีข้อสรุปว่า น่าจะใช้ชื่อว่า มาแกนาซิเมาะโน๊ะ หรือมากินข้าวเมาะโน๊ะกัน ภายในงานเราจะมีการแข่งขันการทำงานของชาวบ้านเป็นอาหารพื้นเมือง โดยนำวัตถุดิบซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเมาะโน๊ะ ตาลโตนดมาเป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร เป็นสำรับชูวัตถุดิบท้องถิ่น แบ่งเป็น 5 คน โดยภาพที่ออกมาจะเห็นได้ว่าชาวไทยพุทธมุสลิมได้ร่วมมือกันในการทำอาหารซึ่งทำให้ เกิดพหุวัฒนธรรม สร้างรอยยิ้มของผู้เข้าร่วมความเป็นหนึ่งอันเดียวกันสร้างความสนุกสนานให้กับชาวบ้านในพื้นที่ อีกส่วนหนึ่งได้มีกิจกรรมการแข่งว่าว ซึ่งหลังจากการเก็บเกี่ยว กิจกรรมหลักๆของเด็กๆในพื้นที่คือการเล่นว่าวเป็นวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ จึงเกิดกิจกรรมในส่วนนี้ขึ้นมา เป็นดึงเยาวชนให้มีส่วนร่วม และเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของเมาะโนะว่ามีความสำคัญอย่างไร
การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องวิถีชีวิต เพื่อนำไปสู่ความรักความสามัคคี นำไปสู่ความสันติสุขในพื้นที่ ซึ่งในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นที่น่ายินดีว่าได้มีหน่วยงานของภาครัฐ ฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง ร่วมแรงร่วมใจ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้เกินความคาดหมาย ลดความหวาดระแวงเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งและน่าจะนำไปสู่ความยั่งยืนในชุมชนในอนาคต เป็นนวัตกรรมชุมชนต้นแบบเพื่อการสร้างชุมชนสันติสุข

ทีมข่าว@ชายแดนใต้ ปัตตานี