คณะนักวิชาการ ม.ทักษิณ เผยผลการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบการดำเนินงานของศอ.บต. 10 ด้าน

0
678

วันที่ 16 กันยายน 2565 ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว ปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ผศ.ดร.ทวนธง ครุฑจ้อน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หัวหน้าโครงการฯนำคณะอจ.อีก 10 ท่าน ได้แถลงและเผยแพร่ผลการศึกษาการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ปี 2564
มีการบรรยายในหัวข้อ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุคความปกติใหม่ โดย ดร.นวลพรรณ สุวรรณธี รองผอ.ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน


บทสรุปจากโครงการที่ส่งผลให้เกิดการต่อยอดหรือขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนและเพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่ส่งผลให้เกิดการต่อยอดหรือขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน โดยดำเนินการคัดเลือกโครงการที่มีระดับความสำเร็จระดับสูงสุดในแต่ละด้าน ถอดบทเรียนด้วยการประยุกต์ใช้เกณฑ์รางวัลเลิศรัฐของสำนักงานคณะกรรมการ ราชการ รวมจำนวน 12 โครงการใน 10 ด้าน ประกอบด้วย
ด้านทรัพยากรมนุษย์ โครงการขยายผลการพัฒนาตามแนวทางพระราชดำริและตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ด้านเศรษฐกิจ โดรงการส่งเสริมอาชีพและการกระตุ้นเศรษฐกิจ (การจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อเป็นต้นแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาดใต้ และโครงการชดเชยส่วนต่างเบี้ยประกันภัยทรัพย์สินคุ้มครองภัยก่อการร้ายภายใต้มาตรการสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านสังคม โดรงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสทางสังคม


ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วม โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านชุมชนและตำบลจังหวัดชายแดนภาคใต้
ด้านการศึกษา โครงการเสริมการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ด้านศาสนา โดรงการการส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ปฏิบัติธรรมและศึกษาแหล่งสังเวชนียสถาน
ด้านส่งเสริมสังคมพหวัฒนธรรม โครงการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ “สานใจไทยสู้ไจได้”
ด้านอำนวยความเป็นธรรม โดรงการเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนผ่านกระบวนการยุติธรรมใน จชต.
ด้านเยียวยา โครงการค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ใด้ผลกระทบสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
ในจังหวัดชายแดนใต้
ด้านบริหารงานภาครัฐ โครงการสานสัมพันธ์-สร้างความเข้าใจภายในและต่างประเทศและโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ.ดร.ทวนธง ครุฑจ้อน คณะมนุษยศาสตร์อละสังคมศาสตร์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า เราได้ทำการศึกษาและประเมินการดำเนินงานของศอ.บต.ทั้ง 12 ด้านและชี้ให้เห็นข้อดี ข้อเด่น แล้วนำเสนอกลับให้ศอ.บต.ดำเนินการต่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น จากสถานการ์ณความไม่สงบตลอด 18 ปี ด้านเห็นว่ารัฐกำลังเข้าสู่การเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านไปยังพื้นที่ ด้านความยุติธรรม ได้ปรับลดพื้นที่ พรก.ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม สร้างบรรยากาศสังคมสันติสุข ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ สอดคล้องการพัฒนาพื้นที่ ส่วนเงื่อนไขสู่ความสำเร็จนั้น เจ้าหน้าที่รัฐต้องปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนต้องยอมรับฝ่ายรัฐ ด้านข้อมูลข่าวสารต้องสร้างความเข้าใจละเอียดถูกต้อง เป็นหลักสำคัญ ควรมีกิจกรรม ล่ามภาษาวัฒนธรรม และความต่อเนื่องในการดำเนินงาน รวมทั้งเรื่องอื่นๆที่ระบุตามรายงาน สิ่งสำคัญที่สุดคือ หน่วยงานรัฐทุกหน่วยต้องไม่ลืม น้อมนำ ตามดำริ การ”เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา” ด้วย

ทีมข่าวแอดชายแดนใต้