ปัตตานี – นศ.มอ.ท้วง หารัฐบาล ตระบัดสัตย์ นิคมอุตสาหกรรม

0
555

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 04 ก.ค.65 เวลา 20.00น ที่ลานสีบลู ม.อ.ปัตตานี โดยชมรมอนุรักษ์ กลุ่มนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หลังจากเปิดเทอมได้ 1 อาทิตย์ นศ.ได้มีการเคลื่อนไหวอีกครั้งหนึ่งจากสถานการณ์ หยุดอุตสาหกรรมจะนะ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการพูดคุยต่อเรื่องนี้บน โซเชียลมีเดีย ตลอดมา วันนี้จึงได้จัดกิจกรรมเสวนาขึ้น ในหัวข้อ “รัฐบาลตระบัดสัตย์ กรณีนิคมอุตสาหกรรมจะนะ” โดยมีโดยการเสวนาครั้งนี้ประกอบด้วย ได้แก่ นางสาวไครียะห์ ระหมันยะ ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ / นายสมบูรณ์ คำแห่ง / นายมัชฌิมา เรืองสังข์ พร้อมด้วยนักศึกษา มอ.ปัตตานี และประชาชนเข้าร่วมกว่า100 คน

ซึ่งได้มีการเรียกร้อง ไม่ยอมรับมติคณะรัฐมนตรี 21 มิถุนายน 2565 โดยได้ระบุว่า ครม. เห็นชอบให้เพิ่มศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ทำงานร่วมกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง (กรณีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ) เพื่อดำเนินการให้เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และโครงการใดที่ต้องชะลอจากมติ ครม. 14 ธันวาคม 2564 ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้พร้อมไปกับการศึกษา SEA. ทั้งนี้ให้นำ ‘การทำประชามติ’ มาเป็นแนวทางหลักเพื่อการตัดสินใจต่อไป

การสั่งให้ยกเลิก มติ ครม. วันที่ 21 มิ.ย. 2565 นั้น โดยเป็นเสียงจากชาวบ้านว่า ไม่ต้องการให้ ศอ.บต. เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในมติดังกล่าว จึงเรียกร้องให้รัฐบาลทำการยกเลิก และกลับไปใช้มติเดิม คือ มิติ ครม วันนี้ 14 ธันวาคม 2564 ให้หน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ชะลอการดำเนินการในโครงการเมืองต้นแบบที่4 (นิคมอุตสาหกรรมจะนะ) ไว้ก่อน โดย” ให้การรอประเมินสิ่งแวดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์ SEA ให้เป็นยุติก่อนการดำเนินการใดๆต่อไป ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห้งชาติ (สคช.)เป็นหน่วยงานหลักที่จัดให้มีการศึกษาSEAโดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการมาดำเนินการ”

นายบัลลังก์ หวันหมาน นายกองค์การบริหาร องค์การศึกษา มอ.ปัตตานี ได้อ่านคำแถลงการณ์ว่า องค์กรกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยเขตปัตตานีเห็นว่ามติ ครม. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 คือสะท้อนภาพของความไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้อย่างเห็นได้ชัด คือพร้อมที่จะ“ตระบัดสัตย์”เพื่อทําลายหลักการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการกลับกรอกไปมาเพื่อแลกกับ ผลประโยชน์เฉพาะหน้าจากคนบางกลุ่มเท่านั้น เราจึงไม่ยอมรับมติดังกล่าว มิเช่นนั้นแล้วเราองค์กรกิจกรรม นักศึกษาจะเคลื่อนไหวเพื่อให้มีการ “ยุติ” โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะจนถึงที่สุดข้อเรียกร้อง
1.ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี 21 มิถุนายน 2565 และให้ยึดคณะมติรัฐมนตรีในวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เพื่อให้ทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องยุติการดําเนินงานจนกว่าจะดําเนินการประเมินผลกระทบระดับยุธศาสตร์ให้แล้ว เสร็จ SEA
2.รัฐบาลต้องให้ความสําคัญกับกระบวนการประเมินผลกระทบระดับยุธศาสตร์ SEA เพื่อให้เป็น ทางออกของความขัดแย้งกรณีนิคมอุตสาหกรรมจะนะและกระบวนการทางวิชาการด้วยการจัดทํา SEA ที่อยู่ ภายใต้การกํากับของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต้องไม่นําคู่ขัดแย้งอย่างศูนย์อํานวยการบริหาร ราชการจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) มาเป็นผู้ร่วมดําเนินการ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 ธันวาคม 2564
3.สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการการจัดทํา SEA ต้องกําหนดให้นักศึกษาเข้าไปสังเกตการณ์ในการจัดทํากระบวนการการจัดทํา SEA

ทีมข่าว@ชายแดนใต้ ปัตตานี