OIC เยือน ศอ.บต. เผยไม่วิตกเหตุรุนแรง หลังสัมผัสแนวทางไขปัญหาและพัฒนาชายแดนใต้

0
583



วันนี้ (29 มิถุนายน 2565) ที่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. รองเลขาธิการ ศอ.บต. ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. รองผู้ว่าราชการจังหวัด ตลอดจนผู้นำศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้การต้อนรับ Mr.Yousef Mohammed S.Aldobeay ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายการเมืองของ OIC Mr. El Habib Bourane ผู้อำนวยการกองชุมชนและชนกลุ่มน้อยของมุสลิม Ms. Ibrahim Patou เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเมืองระดับชำนาญการ และผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ ประกอบด้วย นายดามพ์ บุญธรรม อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา และคณะ ซึ่งเดินเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2565 เพื่อพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เยี่ยมชมสถาบันการศึกษาด้านศาสนาอิสลามของภาครัฐและภาคเอกชน วิถีชีวิตท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
สำหรับการเยือน ศอ.บต. ในครั้งนี้ ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายการเมืองและคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ การส่งเสริมอัตลักษณ์วิถีมุสลิมในพื้นที่ การสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม และโอกาสการพัฒนารองรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียรับฟังการบรรยายสรุป การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความ กินดีอยู่ดีและสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน จากเลขาธิการ ศอ.บต. และรับฟังการบรรยายสรุปทิศทางการรักษาความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากแม่ทัพภาค 4 /ผู้บัญชาการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4
Mr.Yousef Mohammed S.Aldobeay ผู้ช่วยเลขาธิการฝ่ายการเมืองของ OIC กล่าวในตอนหนึ่งว่า ในฐานะ OIC ที่เป็นผู้สังเกตการณ์ในประเทศไทย หลังจากได้มาเห็นกับตามาสัมผัสกับตัวเองแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ผ่านมา เป็นประเด็นที่ OIC ไม่มีความวิตกกังวล หลังจากที่ได้มาสัมผัสกับแนวทางวิธีการแก้ไขปัญหาการ่วมมือ การปรองดอง แนวทางสมานฉันท์ที่ทุกฝ่ายได้ร่วมมือกัน และขอชื่นชม เลขาธิการ ศอ.บต. ทำงานเข้าถีงประชาชนอย่างแท้จริง


พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า สำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่ตอนกลางของคาบสมุทรมลายู มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขมาช้านาน อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการบางด้านที่อาจขาดความสมดุล ทำให้เกิดความเห็นที่แตกต่าง และมีเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งภาครัฐได้เร่งแก้ไขโดยสันติวิธีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์ต่างๆคลี่คลายลง ปัจจุบัน ทุกภาคส่วน เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนา เพื่อสร้างยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความกินดี อยู่ดี มีความทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย พร้อมกับ ดำเนินการทุกมิติ เพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักความเชื่อ ศาสนา และตามอัตลักษณ์ อย่างเต็มความสามารถ เพื่อมิให้เกิดเงื่อนไขการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด
ทั้งนี้ในส่วนของการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืน ศอ.บต. ดำเนินการในหลายมิติ อาทิส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามความเชื่อ หลักศาสนา และอัตลักษณ์โดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม มีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การส่งเสริมการประกอบศาสนกิจต่างๆในช่วงเดือนรอมฎอน การกำหนดให้มีวันหยุดราชการในวันสำคัญทางศาสนา เช่น ฮารีราย อีดิลฟิตรี ฮารีรายอฮัจจี การอำนวยความสะดวก ให้กับประชาชนที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย การสนับสนุนการก่อสร้างปรับปรุง ที่ทำการหรือสำนักงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุก การสนับสนุนค่าตอบแทนสำหรับผู้นำศาสนาทุกระดับ การสนับสนุนค่าอาหารกลางวัน สำหรับนักเรียนและครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาศาสนาอิสลาม ประจำมัสยิดหรือตาดีกา จำนวนกว่า ๒,๐๐๐ แห่ง สนับสนุนการศึกษาสายสามัญ และส่งเสริมอาชีพ ให้กับนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะกว่า ๒๘๐ แห่ง สำหรับประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ ภาครัฐสนับสนุนในหลายด้าน อาทิ การสนับสนุนให้มีการประกอบศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันเข้าอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา รวมทั้งกิจกรรมการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า เป็นต้น การพัฒนาฟื้นฟูบูรณะวัดและศาสนสถานต่างๆ การสนับสนุนการศึกษาธรรมทายาทและศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การสนับสนุนให้ประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกไปประกอบศาสนกิจที่ประเทศอินเดียและเนปาล

นอกจากนี้ ศอ.บต. ได้ขับเคลื่อนการขจัดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมต่างๆ อาทิ แก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของประชาชนที่ทับซ้อนกับที่ดินของรัฐ มุ่งพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญา สุขภาพที่แข็งแรง ปลูกฝังการอ่านหนังสือตั้งแต่เยาว์วัย ระดับประถมศึกษา เน้น คุณภาพการศึกษาและทักษะการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 18 แห่ง และการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยการเรียนศาสนาในโรงเรียนตาดีกา และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบันได้สนับสนุนอาหารกลางวันให้กับนักเรียนที่เรียนศาสนาเหล่านี้ ในระดับมัธยมศึกษา เตรียมจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การพัฒนาเศรษฐกิจ ในระดับฐานราก ในภาคเกษตรส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ เช่น พืชพลังงาน เพื่อป้อนให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 15 แห่ง กำลังการผลิต 230 เมกะวัตต์ ต้องการเชื้อเพลิงชีวมวลปีละประมาณ 3 ล้านตัน 2 ปีที่ผ่านมา ศอ.บต. สนับสนุนการปลูกไผ่เพื่อเป็นพืชพลังงานนำร่องประมาณ 10,000 ไร่ การส่งเสริมปลูกกาแฟโรบัสต้าสายพันธุ์พื้นถิ่น ซึ่งเป็นพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ที่มีพระประสงค์ให้มีการอนุรักษ์พันธุ์กาแฟพื้นถิ่น การส่งเสริมอาชีพปศุสัตว์ ขับเคลื่อนโครงการโคบาลชายแดนใต้ มีแนวคิดให้มีการจัดตั้งลุ่มวิสาหกิจโคเนื้อ รวม 5 จังหวัด 1,000 กลุ่ม เกษตรกรผู้เลี้ยงโดยตรงไม่น้อยกว่า 10,000 ราย การส่งเสริมอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ให้กับประชาชนที่อยู่ตามแนวชายฝั่งทะเล เลี้ยงปูทะเลประเภทปูนำร่องใน จำนวน 30 ชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค 5 จังหวัด ดำเนินการหลายโครงการ เช่น โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป มะพร้าวครบวงจร อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ส่งเสริมการลงทุนด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ขยายเส้นทางหลักหมายเลข 410 ยะลาไปเบตง การก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเบตง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เช่น สกายวอล์ค บ่อน้ำร้อนบ้านนากอ การวิ่งในภูมิประเทศภายใต้ ชื่อ Amezean Jungle Trail Betong 2022 ได้รับการรับรองจาก UTMB ให้เป็นสนามวิ่ง Trail ระดับมาตรฐานโลกแห่งที่ 2 ของประเทศไทย อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่เมืองการค้าชายแดนระหว่างประเทศ ห้วงที่ผ่านมา พัฒนาสถานีรถไฟสุไหงโก – ลก ประสานกับประเทศมาเลเซียเพื่อปรับปรุงเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่าง การยกระดับการค้าชายแดน ผ่านด่านพรมแดนทั้ง 9 แห่ง การส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ผลิตผู้ประกอบการค้าออนไลน์รุ่นใหม่ “ปั้น Gen Z สู่ CEO” ซึ่งมีแผนฝึกอบรม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1,000 คน การพัฒนาด้านสังคม เน้นการดูแลกลุ่มคนเปราะบาง โดยใช้นวัตกรรมต่างๆ เช่น เก้าอี้สุขใจ รองเท้าสั่งตัดเฉพาะราย รถสิริเวชยาน เป็นต้น กลุ่มผู้ไร้สถานะทางทะเบียนหรือไม่มีบัตรประชาชน ดำเนินการตรวจสารพันธุกรรมหรือ DNA เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

มูกะตา หะไร ทีมข่าว@ชายแดนใต้ จ ยะลา