สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงจุดยืน ค้านการสมรสเท่าเทียม กระท่อม กัญชา

0
995

วันพฤหัสบดี ที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมหะยีสุหลง ชั้น 3 อาคารสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานสมาพันธ์กรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAI)และคณะ ประธานกรรมการอิสลามทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ประชุมกัน หาทางออก และแสดงจุดยืนและออกคำ”ฟัตวา” หรือ คำวินิจฉัย ต่อเรื่อง กัญชง กัญชา เรื่องพืชกระท่อม และการสมรสเท่าเทียม เพราะเป็นเรื่องใหญ่ที่ประชาชนพูดถึงกัน เปฌนข้อถกเถียง เป็นจำนวนมากทั้งในทางโซเชียลมีเดีย และสร้างความสับสนต่อสังคมทั่วไป หวั่นเกรงว่าจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง หลายๆฝ่ายจึงต้องทำความเข้าใจให้เร็วที่สุด ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะในบริบทของคนใน 3 จังหวัดที่มีมุสลิมจำนวนมาก


นายแพทย์อนันตชัย ไทยประทาน ในนามนักวิชาการแพทย์มุสลิม ได้ให้ความเห็นว่า กัญชายังถูกปล่อยให้มช้ทางการแพทย์เท่านั้น ไม่มีโรคไหนที่ต้องรักษาด้วยกัญชาก่อนเท่านั้น ถูกใช้ใน
6 โรคเท่านั้น คือ 1.เป็นครีโมยาต้านการอาเจียนหลังการใช้ครีโมรักษาโรคมะเร็ง 2. เป็นการใช้เพื่อกระตุ้นการรับรส 3. มีสารการใช้เพื่อกดประสาท หรือเป็นยาแก้ปวด 4. ใช้ในโรคประสาทเสื่อม 5. แก้อาการโรคลมชัก 6.ใช้ในการช่วยเหลือบรรเทาอาการปวดลงได้


ทั้งยังให้เกิดโทษเช่นการทำให้หัวใจเต้นสูง หัวใจเต้นตีบ และหัวใจวาย ให้เป็นเส้นเลือดตีบ 4-8 เท่า หากมีการใช้ระยะยาวอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดประสาทหลอน เกิดภาพหลอน ไอคิวจะลดลง หากสูบแล้วมีผลต่อปอด ตอนนี้แพทย์จากมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งเริ่มออกมาคัดค้านแล้ว เพราะฉะนั้นในทัศนะแพทย์ ไม่เห็นด้วย ผมจึงเห็นว่า เรื่องกัญชง กัญชา เราไม่เห็นด้วยทุกประการ
มีการประชุมร่วมกันใช้เวลา เกือบ 2 ชั่วโมง เสร็จแล้วโดยในที่ประชุมมีมติออกคำแถลงการณ์ โดยประธานกรรมการอิสลามทั้ง 5 จังหวัดได้ออกมาร่วมแถลงการณ์ดังนี้
ื สืบเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับ 1) พระราชบัญญัติกัญชง กัญชา
2) พระราชบัญญัติสุราก้าวหน้า
และ 3) พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม – คู่ชีวิต นั้น
สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAI) จึงขอชี้แจงและทำความเข้าใจว่า
สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามแล้ว ไม่อาจปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ เนื่องจากขัดต่อหลักการของ
ศาสนาอิสลามและเป็นข้อห้ามสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามโดยเด็ดขาด
ในการนี้สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAI)ขอยึดแนวปฏิบัติตามคำวินิจฉัย (ฟัตวา)จุฬาราชมนตรีที่ 1/2563 และประกาศฝ่ายกิจการฮาลาลกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยฉบับที่ 8/2564 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2564
วันที่ 23 มิถุนายน 2565
ลงชื่อ (นายแวดีอราแม มะมิงจิ)
ประธานสมาพันธ์กรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้
/ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี
(นายสะมะแอ ฮารี)
ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา
(นายชาฟีอี เจ๊ะเลาะ)
ประธานคณะกรรมการอิสลาม
ประจำจังหวัดนราธิวาส
(นายศักดิ์กรียา บิลแสละ)
ประธานคณะกรรมการอิสลาม
ประจำจังหวัดสงขลา
(นายอรุณ อุมาจิ)
ประธานคณะกรรมการอิสลาม
ประจำจังหวัดสตูล

ทีมข่าว@ชายแดนใต้,