ข้อเท็จจริง”ฮิญาบ นร.อนุบาลปัตตานี”การต่อสู้-ความสำเร็จของ “คนปัตตานี”

0
2218

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 กว่าคน จัดประชุมหารือที่มัสยิดกลางปัตตานี เพื่อหาทางออก เคลื่อนไหวอีกครั้ง ต่อกรณี การสั่งห้ามนักเรียนสวมชุดฮิญาบของโรงเรียนอนุบาลปัตตานี ซึ่งกลุ่มนี้มีคนนอกและคนปัตตานีร่วมกัน มีการประโคมข่าวว่า เป็นการต่อสู้ที่สำคัญ
แต่โดยข้อเท็จจริงนั้น คนปัตตานีโดยผู้ปกครองนักเรียนและเด็ก 20 กว่าคน ได้ต่อสู้เรื่องนี้มาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว จนได้รับชัยชนะ เมื่อศาลปกครองจังหวัดยะลาตัดสินไปแล้ว เหลือเพียงศาลปกครองสูงสุดอีกขั้นตอนเดียวที่เหลือเวลาอีกไม่นาน ก็จะสิ้นสุด
เป็นการต่อสู้อย่างสันติ ตามระบบของกฎหมาย ไม่สร้างปมขัดแย้งให้กับสังคม เพราะประเด็นนี้กลายเป็น บันไดขั้นหนึ่งที่อาจหมุนยกระดับไปสู่ความขัดแย้งระหว่างคน 2 ศาสนาในระดับภาคได้ ความขัดแย้งกรณีฮิญาบอนุบาลปัตตานี นั้นเริ่มต้นตั้งแต่เปิดภาคเรียนพค.ปี 2561 เมื่อนักเรียนหญิงสวมฮิญาบเข้าโรงเรียนถูกโรงเรียนสั่งห้ามและตัดคะแนนความประพฤติ ถูกกลั่นแกล้ง จนเกิดเริ่มเป็นปมปัญหา
18 พค.61คณะกรรมการสถานศึกษารร.อนุบาลเรียกตัวแทนผู้ปกครองเข้าประชุมและมีคำสั่งไม่ให้นักเรียนสวมชุดฮิญาบในรร.ทำให้วันนั้น”บาบอแม”นายดือราแม มะมิงจิ ประธานกกจ.ปัตตานีและกรรมการฝ่ายมุสลิมอีก 2 ท่านได้แสดงสปิริตตัดสินใจลาออกทันที เนื่องจากไม่สามารถผลักดันให้แก้ระเบียบของโรงเรียนได้
20 พค.ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเรียกศึกษาธิการจังหวัดและผู้เกี่ยวข้องประชุมหาทางออกทันที ด้านผู้ปกครองนักเรียนเริ่มรวมกลุ่มประชุมหารือกับนักวิชาการหลายฝ่าย หาทางออกกันที่มอ.ปัตตานี


จนถึง 15.00 น ผอ.รร.อนุบาล,กับศึกษาธิการจังหวัดและสพฐ. ออกแถลงข่าวว่า ปัญหานี้ยุติลงแล้วโดยอนุญาติให้นักเรียนสวมฮิญาบได้
แต่ทว่าปัญหาก็ยังไม่ยุติลงแต่อย่างใด จากนั้นมีการแสดงสัญลักษณ์นร.ชาวพุทธบ้างด้วยการให้นร.ชาวไทยพุทธใส่ชุดไทย มีการขึ้นป้ายผ้าประท้วงติดกำแพงวัด บรรยากาศในรร.อนุบาลเกิดเป็นปมสร้างความขัดแย้งขึ้นมาอีกรอบ

ช่วงนี้เองที่ด้านแกนนำผู้ปกครองและเด็กมีการเคลื่อนไหว หาทางออก เข้าพบประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเริ่มมีการเคลื่อนไหวโดยภาคประชาสังคม เปิดเวทีแสดงความคิดเห็น 2-3 ครั้ง มีระดับผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าร่วม

23.พค ด้านสมาพันธ์ชาวพุทธชายแดนใต้จากจังหวัดยะลาร่วมกับชาวพุทธปัตตานีกว่า 100 คน ออกแถลงข่าวเรียกร้องสิทธิเท่าเทียม ทางคณะบริหารการศึกษารร.อนุบาลปัตตานีมิมติ ไม่ยินยอมในเรื่องนี้ เราจะเห็นการแสดงความคิดเห็นอันแข็งกร้าวของ ‘พระสงฆ์’ในพื้นที่และที่มาจากจังหวัดใกล้เคียง ที่อย่างไรก็ไม่ยินยอมให้แก้ระเบียบของโรงเรียนและชาวพุทธส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมก็มีความเห็นคล้อยไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ยินยอมให้มีการแก้ระเบียบให้นักเรียนสวมฮิญาบ ด้วยเหตุผลเป็นที่ดินธรณีสงฆ์ ต้องการอัตลักษณ์ความเป็นพุทธไว้ ยื่นหนังสือต่อ ศอ.บต.ถึงกระทรวงศึกษาธิการ

สถานการณ์ช่วงนั้นจบลงด้วยความอึมครึมตลอดมา จนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ยุติปัญหาการโต้กลับไปมา- ระหว่างพุทธกับมุสลิม หยุดปัญหาเอาไว้ก่อน เพราะปัญหานี้เริ่มเป็นปมปัญหาสร้างความขัดแย้งในพื้นที่
เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย มีความคิดเห็นต่างกัน เกิดเป็นรอยแยก ส่งผลต่อความขัดแย้ง เกิดความระหวาดระแวง สั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างชาวพุทธและมุสลิมค่อนข้างสูง ไม่เพียงเท่านั้น เกิดข้อวิภากษ์ วิจารณ์ ไปต่างๆนานา
สิ่งที่เรียกร้องทั้ง 2 ฝ่ายไม่ประสบความสำเร็จในการประณีประนอม มีเพียงการย้ายผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งก็ไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มิหนำซ้ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในเวลานั้น กลับซ้ำเติมสถานการณ์ด้วยออกออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ให้โรงเรียนในพื้นที่ธรณีสงฆ์ออกกฎระเบียบของตัวเองได้

นัยหนึ่ง ให้คำสั่งของโรงเรียนใหญ่กว่า ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ และเท่ากับเป็นการกีดกันนักเรียนมุสลิมไม่ให้สวมฮิญาบชัดเจน ระเบียบซึ่งออกในสมัยที่นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ เป็นรมช.ศึกษาธิการ อนุญาตให้นักเรียนสวมฮิญาบได้ทั่วประเทศ ถูกบั่นทอนลง

ทางออกสุดท้ายคือบรรดาผู้ปกครองและเด็กทั้ง 20 คนต้องต่อสู้เพียงลำพัง ทั้งหมดตัดสินใจ จะเรียกร้องผ่านศาลปกครอง ในที่สุดก็ได้ความช่วยเหลือจากนักกฎหมาย ทนายความ ร่วมกันร่างหนังสือเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลปกครองจังหวัดสงขลา (สมัยนั้นยังไม่มีศาลปกครองจังหวัดยะลา) ต่อมา มีการจัดตั้งศาลปกครองจังหวัดยะลา จึงมีการโอนคดีมายังศาลปกครองจังหวัดยะลา มีคำร้อง 3 ข้อ
1.ยื่นฟ้องกระทรวงศึกษาธิการ ในข้อวงเล็บเพิ่มเติม(ธรณีสงฆ์)
2.ยื่นฟ้องโรงเรียนอนุบาลเรื่องออกกฎระเบียบของโรงเรียน
3.ร้องต่อศาลปกครองให้ยื่นขอความคุ้มครองเด็กทั้ง 20 คน
ตุลาคม 61 ที่ศาลปกครองรับคำร้อง ในข้อ 3 พิจารณาให้ความคุ้มครองเด็กทั้ง 20 คน และเริ่มดำเนินคดี

จนเวลาผ่านมาถึงเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ศาลปกครองแจ้งตัวแทนกลุ่มผู้ปกครองให้มารับฟังคำพิจารณา
เมษายน 2565 ศาลปกครองจังหวัดยะลา มีคำพิพากษาให้แก้ไขระเบียบของโรงเรียนที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ อนุญาติให้นักเรียนสวมชุดฮิญาบได้

โรงเรียนอนุบาลปัตตานี แม้จะตั้งอยู่บนที่ดินธรณีสงฆ์ แต่ใช้งบประมาณแผ่นดินก่อสร้าง งบประมาณที่คนทั้งประเทศร่วมกันจ่ายเพื่อพัฒนาประเทศ รวมทั้งคนมุสลิมทุกอาชีพซึ่งย่อมได้รับผลจากการพัฒนานี้ด้วย เหมือนที่ดินของโรงเรียนมัสยิดที่มีหลายแห่งในกรุงเทพฯ ที่มัสยิดยกให้เป็นโรงเรียนของกทม. มัสยิดก็ไม่เคยไปขอให้ออกกฎให้นักเรียนทุกคนที่เข้าเรียน ต้องสวมฮิญาบแบบมุสลิม

อย่างไรก็ตาม เมื่อคดีถูกสั่งโดยศาลปกครอง ทุกฝ่ายยอมรับ แม้โรงเรียนจะยื่นอุทธรณ์ในวันถัดมา ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะผู้อำนวยการโรงเรียน มีคณะกรรมการสถานศึกษาอยู่เบื้องหลัง รวมทั้ง การยังคงห้ามนักเรียนสวมฮิญาบ มีการต่อสู้เป็นการภายใน และบางคนก็อารยะขัดขืนโดยให้ลูกคลุมฮิญาบเข้าเรียน แม้จะถูกสั่งห้าม

ความจริงแล้วคนปัตตานีและทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งเฉย แต่หวังการต่อสู้อย่างสันติวิธี และทุกคนเคารพอำนาจคำตัดสินของศาลปกครอง
ที่ผ่านมาได้ต่อสู้มาแล้ว เห็นว่า การเคลื่อนไหวแบบยื่นหนังสือย้ายผอ.โรงเรียน ฟ้องโรงเรียน ฟ้องกระทรวงศธ .หรือจะขึ้นป้ายประท้วง อื่นๆ ได้ผ่านทุกกระบวนการมาแล้ว แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด ปัญหายังดำรงอยู่ บทสรุปของการเคลื่อนไหว การใช้มวลชนกดดันให้เปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการโดยเฉพาะการแก้ระเบียบที่มีการปักธงไว้เบื้องหลัง ไม่เพียงโอกาสสำเร็จมีน้อย แต่ยังเป็นการขยายรอยร้าวของสังคมให้กว้างขึ้นไปอีก เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการปลุกระดมฝ่ายตัวเองเพื่อหาการสนับสนุน สร้างกำแพงกั้นให้สูงขึ้นยิ่งขึ้น

กรณีของฮิญาบโรงเรียนวัดหนองจอก กลุ่มมุสลิมเพื่อสันตินำการประท้วงหน้าโรงเรียน แต่อาจารย์มัรวาน สะมะอุน เดินไปจับเข่าคุยกับเจ้าอาวาสวัดหนองจอก สะท้อนภาพถึงการอยู่ร่วมกันแบบพหุสังคม ตามวิถีเดิม

ความขัดแย้งในรอบหลายปีที่ผ่าน โดยเฉพาะการปะทะกันทางโซเชียลที่นำไปสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย มีความขัดแย้งสูงในสังคม ไม่เพียงพุทธกับมุสลิม แต่กับมุสลิมด้วยกันเอง จุฬาราชมนตรี อาศิส พิทักษ์คุมพล จึงได้จัดตั้งสถาบันวะสะฏียะห์ ขึ้นมา เพื่อขับเคลื่อนแนวทางสายกลาง
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวในวันเปิดตัวสถาบันว่า ทางสายกลางจะถูกบีบโดยคนที่เสียงดัง จากซ้ายและขวา หากยอมคนเสียงดังก็จะนำไปสู่ความรุนแรง จึงต้องยืนหยัดในทางสายกลางให้มั่นคง ไม่ให้ถูกความรุนแรงชักนำจากทั้ง 2 ฝ่าย
เอกสารของทางศาลปกครอง แถลงคำพิจารณาเป็น 2 ส่วน คือคำแถลงการณ์ของตุลาการ 18 หน้า
และ 2 คำพิภากษา ยาวทั้งหมดถึง 67 หน้า มีรายละเอียดสำคัญและเขียนไว้ครอบคลุมทั้งหมด โดยเพาะ หน้า 57
ใจความตอนหนึ่งว่า “โรงเรียนอนุบาลซึ่งเป็นโรงเรียนที่ดำเนินการโดยภาครัฐในสังกัดผู้ถูกฟัองคดีที่ ๑ เป็นการจัดการศึกษาชั้นพื้นฐานไม่ได้ดำเนินการโดยสถาบันทางศาสนาหรือเป็นโรงเรียนสอนศาสนาโดยศาสนจักรที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสอนศาสนาหรือหลักปฏิบัติในทางศาสนาที่จำต้องรักษาอัตลักษณ์ของศาสนาไว้
ด้วยเหตุนี้ปรกติประเพณีของโรงเรียนอนุบาลปัตตานีในฐานะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะอย่างหนึ่งของรัฐที่ตามปกติต้องมีความเป็นกลางทางศาสนาคือต้องแยกศาสนาออกจากการปกครองหรือทำบริการสาธารณะ ต้องให้โอกาสแก่พลมืองที่อยู่ในวัยเรียนในทุกเชื้อชาติศาสนาเข้ารับการศึกษาโดยเสมอภาคกันภายใต้การปฏิบัติตามหลักศาสนาหรือความเชื่อตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตราบเท่าที่การปฏิบัติตามหลักศาสนาหรือความเชื้อนั้นไม่ได้เป็นปัญหา”
บทสรุปของฮิญาบอนุบาลปัตตานี นั่นคือ คนปัตตานีได้ต่อสู้ช่วงแรกด้วยกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม สร้างแรงกดดันแบบคนหมู่มาก กดดันคนหมู่น้อยไม่สำเร็จได้ จึงเปลี่ยนแนวทางมาสู่การต่อสู้ทางกฎหมาย อย่างสันติวิธี แม้จะใช้เวลานาน แต่ก็ต้องอดทน จนเห็นความสำเร็จเบื้องต้นเกิดขึ้น และเริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แล้ว

สุกรี มะดากะกุล บก.@ชายแดนใต้