ปัตตานี-รองผู้ว่าฯ สมนึก เร่งรัดฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง เพื่อควบคุมความรุนแรง หรือ อันตรายถึงชีวิต ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

0
365
ปัตตานี-รองผู้ว่าฯ สมนึก เร่งรัดฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง เพื่อควบคุมความรุนแรง หรือ อันตรายถึงชีวิต ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัตตานี-รองผู้ว่าฯ สมนึก เร่งรัดฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ผู้สูงอายุ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง เพื่อควบคุมความรุนแรง หรือ อันตรายถึงชีวิต ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันศุกร์ 25 มีนาคม 2565 ที่ ห้องประชุมพญาตานี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดปัตตานี นายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันการติดเชื้อและคณะอนุกรรมการ ด้านการควบคุมการแพร่ระบาดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 และสายพันธุ์โอมิครอน พร้อมกำชับติดตามสถานการณ์ผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่ได้รับการยืนยันจากการตรวจด้วยวิธี PCR โดยขอความร่วมมือ นายอำเภอ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น นายก อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินหน้ารณรงค์ เร่งรัดการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในพื้นที่ หมู่บ้านให้ครอบคลุม โดยเฉพาะกลุ่ม  608 ผู้สูงอายุ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง อายุ 60 ปีขึ้น เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคโควิด – 19 และสายพันธุ์โอมิครอน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยตั้งเป้าหมายให้กลุ่ม 608 มารับวัคซีนให้มากที่สุด (ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค กลุ่มเด็กเล็ก อายุ ระหว่าง 5-11 ปี และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมากหากติดเชื้อโควิด-19 การทำงานของอวัยวะในร่างกายจะเสื่อมลง ภูมิคุ้มกันลดลง มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดความรุนแรง หรือ อันตรายถึงชีวิต จึงเป็นกลุ่มที่ต้องระวังและควรได้รับวัคซีนในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ซึ่งสถานการณ์ผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่ได้รับการยืนยันจากการตรวจด้วยวิธี PCR ของจังหวัดปัตตานี อายุไม่ถึงเกณฑ์ 1 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งหมด จำนวน 48 ราย ไม่ได้รับวัคซีน 29 ราย (60.4%) เป็นกลุ่ม 608 จำนวน 27 ราย ไม่ได้รับวัคซีน 18 ราย (66.7%)

นายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีได้กล่าวขอความร่วมมือ นายอำเภอ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น นายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ร่วมเข้าทำความเข้าใจกับลูกบ้าน และชาวบ้านในชุมชนของตน โดยพาะผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค กลุ่มเด็กเล็ก อายุ ระหว่าง 5-11 ปี และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เพื่อเข้าร่วมรับวัคซีนให้เป็นไปตาม เป้าหมายการฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากอาจส่งผลกระทบในภาพร่วมและส่งผลอาจอันตรายถึงชีวิต

ภาพ/ข่าว/บดินทร์ ส.ปชส.ปน.ทีมข่าว@ชายแดนใต้