Trash Hero ผู้พิทักษ์ขยะ แห่ง ชายแดนใต้

0
2442

ไลฟสไตล์ วันนี้ จะพาทุกๆท่านมาพบกับ บุคคลผู้หนึ่งที่มีแนวคิดพัฒนาและนำกิจกรรมมาสร้างสำนึกสร้างประโยชน์กลับมาสู่ท้องถิ่นชายแดนใต้ที่ จ. ปัตตานี บ้านเกิดของเขา นอกจากบทบาท อาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยมอ ปัตตานีแล้ว เขายังสวมบทบาท นักพัฒนา นักกิจกรรม ผู้จุดประกายในสังคมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่อะไรหลายๆอย่างในสังคมอีกด้วย  เพราะมีความคิดที่สร้างสรรค์ และไม่เหมือนใคร  เช่นกิจกรรมเก็บขยะและไปสู่การจัดการขยะรีไซเคิล  กิจกรรมปั่นจักรยาน หรือกิจกรรมนางฟ้าชุมชนร่วมกับโรงพยาบาล ผลิตเจล แผ่นรองรับช่วยเหลือผู้ป่วยแผลกดทับ, ted xPattaniPhiromRd. และกิจกรรมสามล้อพาเที่ยวปัตตานี

เขาคือ   ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย (อ.อาร์ม) อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

กิจกรรมจากกองขยะที่เก็บมาโดยกลุ่มผู้พิทักษ์ขยะริมชายหาด เป็นที่รู้จักกันในชื่อเท่ห์ๆ  (Trash Hero )   กิจกรรมพิเศษ เรียกว่า Trash Hero Camp ที่มีอาสาจากทั่วโลกมาอยู่ด้วยกัน 3 เดือน เก็บทุกวัน วันละ 4 ชม. เก็บขยะได้ 80 ต้น เป็นรองเท้า 8 ตัน เป็นกิจกรรมเก็บขยะร่วมกับชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อม ริมทะเล ตามชายหาดต่างๆ  แล้วนำขยะที่ไร้ค่า มาสร้างขึ้นไหม่ให้มีมูลค่าขึ้นมา

เขาเล่าให้ฟังว่า ที่มาที่ไปคือ เกิดจากการทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องขยะ การจัดการขยะ และ มาทำให้รู้ว่า ปริมาณขยะเฉพาะประเทศไทยประเทศเดียวนั้นมีปริมาณ 2.83 ล้านตันต่อปี และทั้งหมดจะไหลรวมไปลงทะเล เป็นกองขยะที่กระจายอยู่จำนวนมหาศาล

“ในอีกไม่กี่ปี ปริมาณขยะในทะเลทั่วโลก มันจะมากกว่า จำนวนปลาในทะเลซะอีก จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าเราต้องทำอะไรซักอย่างแล้ว จะนิ่งเฉยไม่ได้แล้ว จึงเกิดไอเดียเล็กๆจัดกิจกรรมเก็บขยะขึ้นมา ผลลัพธ์ปรากฏว่าได้ รองเท้าเต็มไปหมด จากนั้นจึงเกิดไอเดียต่อยอดมาสู่การรีไซเคิล ทำเป็นรองเท้ากลับมาใช้ได้ใหม่เป็นชื่อ ทะเลจรในเวลาต่อมา

รองเท้า “ทะเลจร”นั้น คือรองเท้าที่คิดในโมเดลที่ว่า เป็นแนวคิดกระบวนการรีไซเคิลไปสู่การทำธุรกิจที่ไม่ได้มุ่งหวังถึงผลกำไรด้าน เม็ดเงินหรือตัวเลข แต่ผลกำไรทีเขาต้องการนั้น มุ่งที่จะพัฒนาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ดีและสำนึกให้กับคนในท้องถิ่น และมุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนในชุมชน แบบให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมได้ทั้งหมด

ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย (อ.อาร์ม) เปิดเผยว่า จากขยะรองเท้าแตะถ้าไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ วิธีเดียวคือต้องเผาทำลายทิ้ง ซึ่งก็ไปทำลายสิ่งแวดล้อม อีก เราจึงมาคิดให้สามารถนำขยะเหล่านั้นรีไซเคิลเพื่อคืนชีพเป็นรองเท้าคู่ใหม่อีกครั้ง โดยผ่าน  กระบวนการตัด ปั่นเป็นชิ้นส่วนเล็กๆก่อน และนำไปรวมกันผสมกาวและเข้าเครื่องอัดด้วย ความร้อน จากนั้นจนได้เป็นแผ่น  รองเท้า ที่มี สีสันหลากสี แปลกตา และเมื่อสามารถทำการผลิตเป็นพื้นรองเท้าได้แล้ว จึงไปสู่การเรียนรู้พัฒนาผลงานต่อไป โดยไปเรียนหัดทำรองเท้าจากที่อื่นก่อน จนได้รองเท้าต้นแบบแล้ว จากนั้นจึงนำไอเดียไปให้กับกลุ่มชาวบ้านเป็นผู้ผลิต  ฝึกชาวบ้าน จนพวกเค้าสามารถทำได้ แล้ว เราก็แลกเปลี่ยนกัน ได้ทำงานร่วมกันตั้งแต่นั้นมา”

“ตอนแรกในใจเราก็รู้สึกว่าเขาจะยอมรึป่าว ทางเราจะให้พวกเค้าได้งานโดยการสอนอาชีพเสริมให้กับพวกเขา ทำรองเท้าให้  แลกกันกับข้อเสนอของเค้า  คือต้องใช้ ให้เราจ้างเขาเย็บถุงผ้าของเค้าเป็น แพคเกจ   เพราะที่เขาทำมันก็โอเค มีความเป็นท้องถิ่นด้วย เราจึงตกลงในทันที เขาขอทำที่บ้านเขาเพราะต้องดูแลทางบ้านด้วย ไม่สะดวกที่จะเข้าในเมือง เราเลยตัดสินใจไปเปิดศูนย์ที่หมู่บ้านเขาเลย เอาอุปกรณ์ทุกอย่างไปวางที่หมู่บ้านเขา เห็นว่าก็ไหนไหนเราก็ต้องพึ่งเขาไปเปิดศูนย์ที่หมู่บ้านเค้าเลยครับ สะดวกดี สุดท้ายจึงเกิดโครงการนี้  โดยครั้งแรกราคา 299 นี้ เราแบ่งเป็น 3 ส่วน 100 บาทเป็นของวัตถุดิบ การผลิต 100บาทส่วนที่2 คือ ของชาวบ้าน ส่วนที่ 3 คือของร้านค้า 99 บาท  ส่วนตัวผมที่ได้คือ ผลของความร่วมมือจากส่วนต่างๆ และสิ่งที่เราทำมันได้ให้คุณค่าให้กับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมแล้ว ตกลงงานกันกับชาวบ้านคือที่รอบ เก็บขยะ 3 เดือน/ครั้ง”

ครั้งแรกขายกันเองตามเพจ ตาม เฟสบุ้ค คนที่รู้จัก ราคา 299 มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาโชคดีสินค้าเราที่ได้ขึ้นที่ ร้าน ภูฟ้า(ร้านของสมเด็จพระเทพ) ได้ติดต่อมา จึงมีการปรับปรุงให้ได้คุณภาพใหม่ ปรับต้นทุนจาก 100 ไปเป็น 130 บาท ปรับราคาขาย จาก 299 เป็น 399  ดังนั้นทุกคนจึงได้เงินเพิ่มหมด และมีแบรนด์อื่นๆติดต่อมาทั้ง ในประเทศ และต่างประเทศ  เมื่อเราพัฒนาคุณภาพได้ดีขึ้น ชาวบ้านก็ได้มากขึ้น

“ในส่วนที่ผมทำ  หรือทรรศนะผมก็คือ   เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่เราสามารถทำสิ่งเล็กๆให้เปลี่ยนแปลงได้  คือเราลงมือทำให้ทุกคนเห็น ที่เราทำมันเป็นผลเชิงบวกแน่นอน เมื่อเป็นบวกมันก็ไม่มีทางเป็นลบ   เรามาร่วมมือกันไม๊ และคิดว่าเมื่อทุกคนเห็นก็จะเป็นการสร้างสามัญ สำนึก หรือเปลี่ยนพฤติกรรมการลดใช้ขยะได้  เรื่องนี้มองในภาพรวมเป็นเรื่องที่ใหญ่มากโลกทั้งโลก เราไม่มีทางเก็บขยะได้หมดทั้งทะเล ไม่มีความเป็นไปได้ มันเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ แต่เราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมลด พฤติกรรม เพื่อลดการทำลายสิ่งแวดล้อมได้ อย่างง่ายๆเช่น ลดการใช้หลอดกาแฟ  ใช้ถุงผ้าหรืออย่างอื่น”

นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของบุคคลต้นแบบที่สามารถสร้างกิจกรรมในกลุ่มเล็กๆไปสู่การพัฒนาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ปัญหาใหญ่ในภาวะโลกปัจจุบัน เมื่อคุณได้รับรู้เรื่องของเขา นักพิทักษ์ขยะTrash Heroแล้ว คุณรู้สึกไหมว่าต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เพื่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อโลกของคุณ……………..

สุกรี มะดากะกุล