รพ.ปัตตานีพัฒนานวัตกรรม EMS Plus ช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินรอดชีวิตเพิ่มขึ้น

0
607


ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงอันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบที่มีมานาน ทำให้มีข้อจำกัดในการออกพื้นที่ของบุคลากรสุขภาพจากมาตรการด้านความปลอดภัย ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ขาดโอกาสในการเข้าถึงการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำญ เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน จึงมีการพัฒนาคิดค้นระบบสื่อสารทางไกลด้วยการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดเวลาในการให้บริการทางการแพทย์ของเจ้าหน้าที่
เมื่อผู้ป่วยกำลังเดินทางไปยังห้องฉุกเฉิน การใช้แพลตฟอร์ม EMSPlus (Emergency Management System) เป็นช่องทางการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตระหว่างผู้ป่วยฉุกเฉินกับห้องฉุกเฉิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินได้เตรียมการล่วงหน้าและจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมโดยโครงการการพัฒนานวัตกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ สำหรับการแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วยภาวะจำเป็นเร่งด่วนและเสริมระบบจัดการภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงบริการระบบจัดการภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่
นพ.รุซตา สาและ รองผอ.รพ.ปัตตานี/หัวหน้าโครงการร่วมฯ กล่าวว่า พี่น้องส่วนใหญ่ในบริบทชายแดนใต้เมื่อไม่สบายก็จะพาคนไข้ไปโรงพยาบาลด้วยรถที่มีของแต่ละบ้าน ไม่ได้เข้าระบบ EMSPlus ที่กำลังพัฒนา หากเข้าในระบบนี้ในระหว่างทางที่มารพ. โดยแจ้งมาทางระบบฉุกเฉินของรพ. จะทำให้มีการรอดชีวิตและมีอาการสู่ภาวะปกติได้มากกว่าที่เป็นอยู่
“คนส่วนใหญ่ของประเทศและในชายแดนใต้คิดที่จะไปรพ.เองเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ชาวบ้าน 80 เปอร์เซ็นต์ มาห้องฉุกเฉินด้วยรถส่วนตัวเพราะสะดวกกว่า เมื่อโทรหา 1669 ก็จะโดนซัก กว่ารถจะไปรับก็กะเวลาไม่ได้ เขาจึงตัดสินใจมารพ.กันเองเพราะรอไม่ได้ และคาดหวังได้ว่าจะถึงโรงพยาบาลในกี่นาที


เราจึงต้องช่วยเขา ขณะนี้รพ.ปัตตานีเป็นที่เดียวที่มีแอพนี้ใช้เป็นตัวอย่าง ตอนนี้เริ่มเปิดใช้บริการแล้ว โดยสแกนไลน์รพ.ปัตตานีแล้วสามารถดูเมนูใช้งานได้อย่างสะดวก มีชุดความรู้เป็นวีดีโอ ออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของสามจังหวัดชายแดนใต้ เน้นการสื่อสารให้เข้าใจง่าย โดยใช้สื่อ ภาพ และเสียง เป็นหลัก แทนการใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ เชิญชวนให้มาใช้กัน สะดวกมาก วัยรุ่นและนักศึกษาใช้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แอพนี้เป็นการนัดห้องฉุกเฉิน หมอจะได้รู้ว่ามีคนไข้ฉุกเฉินมา จะได้เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ ด้านหน้าห้องฉุกเฉินพยาบาลจะเห็นในจอ หมอด้านในก็จะเห็นในจอว่าคนไข้กำลังจะมาถึง เมื่อมาถึงรพ.ก็แจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามีบัตรนัดเรียบร้อยโดยยื่นโทรศัพท์ให้ดู ช่วยลดความหนาแน่นของการไปรอตรวจ จะมีสัญญาณเตือนว่า อีกกี่นาทีจะถึงเวลาตรวจ ช่วงเวลานั้นสามารถไปทำธุระอื่นได้ ไม่เสียเวลาคอยหมอสามชั่วโมงเหมือนในอดีต ทำให้จำนวนผู้ป่วยดูเบาบางลง ทั้งที่ผู้ป่วยเท่าเดิม โดยเฉพาะจุดรับยาที่ไม่แออัดเลย”
นพ.รุซตา กล่าวเพิ่มเติมว่า EMSPlus คือการแจ้งล่วงหน้าให้ห้องฉุกเฉินทราบ เพื่อที่ห้องฉุกเฉินจะได้เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินต่างๆ เช่น โรคหัวใจ stroke อุบัติเหตุ ฉุกเฉินระบบหายใจ เป็นต้น เป็นการแจ้ง ER กรณีที่ท่านจะมาด้วย รถส่วนตัว/ผู้หวังดีมาส่ง/รถอื่นๆ เป็นการเสริมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 (แจ้งให้รถพยาบาลไปรับ) เมื่อกด EMSPlus ใน Line OA รพ.ปัตตานีแล้ว สามารถแจ้งชื่อ อาการ โดยทางรพ.ก็จะทราบอัตโนมัติว่าผู้ป่วยกำลังจะถึงภายในกี่นาที ด้วยอาการฉุกเฉินอะไร
“ขณะนี้กำลังจะขยายการใช้แอพ EMSPlus ไปทั้งจังหวัด หากจะไปใช้บริการรพ.ไหนที่ใกล้สุดให้แจ้งรพ.นั้นๆ หน้าจอจะขึ้นที่รพ.นั้น เพราะทุกนาทีคือโอกาสรอดชีวิต”
นายซอและ สาและ หนึ่งในผู้ใช้บริการแอพนี้กล่าวว่า เมื่อทราบว่าทางรพ.ปัตตานีมีแอพฉุกเฉินก็ได้สแกนไว้ในโทรศํพท์ และได้ใช้จริงเมื่อพ่อเกิดเหตตุล้มในบ้านและหมดสติ ได้นำส่งโรงพยาบาลและแจ้งทางห้องฉุกเฉินไปทางแอพ EMSPlus เมื่อมาถึงหน้าห้องฉุกเฉินมีการเตรียมพร้อมและบริการอย่างทันท่วงที สามารถช่วยให้พ่อได้มีชีวิตปกติจากอุบัติเหตุในครั้งนั้น ทุกคนในปัตตานีจึงควรที่จะมีแอพนี้ไว้
จำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มาด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมาก และการขาดช่องทางการเข้าถึงบริการที่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านภาษา ศาสนา และความเชื่อ จากการวิเคราะห์สถานการณ์การมารับบริการของผู้ป่วยที่มาแผนกฉุกเฉินที่สะท้อนจากประสบการณ์การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์พบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่เป็นภาวะฉุกเฉินและมีแนวโน้มมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะขาดความเข้าใจในการใช้หมายเลขฉุกเฉิน 1669 หรือมีข้อจำกัดในด้านความรอบรู้และการจัดการช่วยเหลือเบื้องต้น รวมทั้งขาดช่องทางการให้การปรึกษาทางสุขภพ
จากการศึกษาของรพ.ปัตตานีพบว่า การคัดกรองที่ไม่ได้มาตรฐานยังส่งผลให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านการคัดกรองรู้สึกไม่มั่นใจในการปฏิบัติงานและมีความเชื่อมั่นในตนเองลดลง ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทยมีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการเป็นหน่วยในการจัดการตั้งแต่การพบเหตุการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน เมื่อประชาชนโทรศัพท์แจ้งขอความช่วยเหลือทางสายด่วน 1669 จะมีพนักงานรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน (พรจ.) สอบถามข้อมูลและทำการคัดแยก โดยใช้เกณฑ์วิธีการคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินตมหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด พ.ศ. 2556 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชำติ, 2560) เพื่อให้รหัสความรุนแรงและจัดส่งหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจึงเป็นศูนย์กลางของระบบในการรับส่งข้อมูลและประสางานกับหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การยกระดับศักยภาพของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการและหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในการคัดกรองอย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยก่อนถึงโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


ประเด็นปัญหาที่สำคัญและต้องการการศึกษาและพัฒนาต่อยอดคือ ความแออัดของผู้ใช้บริการที่แผนกฉุกเฉิน ส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการล่าช้า ระยะเวลารอคอยนาน และเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในห้องฉุกเฉินนานโดยไม่จำเป็น จากสถิติของประชาชนในพื้นที่ที่เข้ารับบริการการแพทย์ฉุกเฉินพบว่า ร้อยละ 70 ไม่เข้าข่ายภาวะฉุกเฉิน เมื่อวิเคราะห์ปัญหาจากผู้ใช้บริการพบว่า เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะด้านภาษาและความเชื่อ จากจำนวนผู้ใช้บริการมากทำให้ได้รับบริการล่าช้า ไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด หรือออกจากโรงพยาบาลก่อนได้รับบริการ มีการร้องเรียนทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้ให้บริการในการทำงาน รวมทั้งมีปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลกระทบต่อการบริการด้วย เช่น ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการในพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด ทั้งจำนวนคู่สายโทรศัพท์ 1669 และจำนวนเจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินที่เข้าปฏิบัติการ ในขณะที่การรับแจ้งเหตุฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาซักถามเพื่อคัดแยกขั้นต้น และตัดสินใจสั่งการประสานงานเพื่อให้หน่วยปฏิบัติการส่งชุดปฏิบัติการไปให้การดูแลช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ ภายในเวลาไม่เกิน 10 นาทีหลังจากการรับแจ้งเหตุ
การให้บริการ 1669 จึงมักไม่สามารถใช้เวลาได้นาน และไม่สามารถให้คำแนะนำได้ในระหว่างที่ผู้ป่วยกำลังรอชุดปฏิบัติการไปให้ความช่วยเหลือ ทำให้ต้องปรับระบบบริการให้มีความจำเพาะกับพื้นที่อย่างเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของห้องฉุกเฉิน แนวคิดของโครงการ คือ การเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงบริการระบบจัดการภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ โดยการแจ้งรายละเอียดของภาวะความจำเป็นเร่งด่วนของผู้ป่วยซึ่งกำลังเดินทางมายังห้องฉุกเฉิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินได้เตรียมการล่วงหน้าและจัดสรทรัพยากรอย่างเหมาะสม โดยมีแพลตฟอร์ม EMSPlus เป็นช่องทางการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ป่วยฉุกเฉินกับห้องฉุกเฉิน กรณีที่ผู้ป่วยมาถึงล่าช้ากว่ากำหนดการที่แจ้งในระบบเจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินจะสามารถใช้ระบบนี้เพื่อติดตามสถานะและตำแหน่งทำงภูมิศาสตร์ของผู้ป่วยได้ เพื่อวิเคราะห์และกำหนดนโยบายของระบบการแพทย์

ทีมข่าว@ชายแดนใต้ จ.ปัตตานี