ปัตตานี-รับโซล่าเซลล์พลังงานไฟฟ้าสำรองพระราชทาน สำหรับศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยพิบัติ

0
724
ปัตตานี-รับโซล่าเซลล์พลังงานไฟฟ้าสำรองพระราชทาน สำหรับศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยพิบัติ
ปัตตานี-รับโซล่าเซลล์พลังงานไฟฟ้าสำรองพระราชทาน สำหรับศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยพิบัติ

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 ดร.มงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีส่งมอบโซล่าเซลล์พลังงานไฟฟ้าสำรองพระราชทาน สำหรับศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยพิบัติ ที่ห้องประชุมศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาชายแดนภาคใต้ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) ให้ดำเนินการติดตั้งโซล่าเซลล์พลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยพิบัติ ในพื้นที่จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลด้านฝั่งอาวไทย ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส โดยใช้เงินพระราชทานบริจาค เพื่อช่วยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุโซนร้อนปลาบึก และการเตรียมความพร้อมรับมีอภัยพิบัติต่าง ๆ ที่มีความจำเป็น และไม่ได้รับความช่วยเหลือจากงบประมาณภาครัฐ ซึ่งขณะนี้ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยพิบัติได้ดำเนินการสร้างแล้วเสร็จ ทั้ง 12 แห่ง
ดร.มงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยพิบัติ หรือศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรักที่ปัตตานี ได้ติดตั้งโซ่ลาเซลล์เรียบร้อยแล้ว ด้วยเงินพระราชทานบริจาค จำนวน 160,000 บาท และงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม เงินอุดหนุนสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 40,000 บาท/สถานศึกษา จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ จากความร่วมมือร่วมใจของครู นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีศึกษา กรณีมีภัยพิบัติเกิดขึ้น สามารถใช้กระแสไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์นี้ได้โดยตรง เป็นการลดความเดือดร้อนของประชาชน เมื่อไม่มีไฟฟ้าใช้ในช่วงภัยพิบัติ หรือช่วงเวลาปกติก็สามารถหมุนเวียนการใช้ไฟฟ้าได้เช่นกัน สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องเต็มศักยภาพ
ด้านนายณัฐกฤช สิทธิโอสถ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรักที่ปัตตานีแห่งนี้ ได้ใช้เป็นสถานที่พักประชาชน กรณีเกิดภัยพิบัติหรือฉุกเฉิน ทุกภัย วาตภัย เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว หรือเหตุกรณีสถานการณ์โควิด-19 ได้ใช้เป็นสถานที่กักตัวของกลุ่มที่มีความเสี่ยงเพื่อการความคุมโรค ซึ่งขณะนี้มีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 200 คน หลังจากนี้ ทางจังหวัดจะถ่ายโอนให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เป็นผู้ดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการดูแลประชาชนจากทุกสาธารณภัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด.

ภาพ/ข่าว/บดินทร์ ส.ปชส.ปน.ทีมข่าว@ชายแดนใต้