นราธิวาส- ผู้ว่าฯ ประกาศเขตภัยพิบัติทั้ง 13 อำเภอแล้ว หลังมวลน้ำไหลบ่าท่วมหนักสุด เดือดร้อนกว่า 1 แสนคน

0
823

จากสถานการณ์คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุม อ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณนอกชายฝั่ง ทางตะวันออกของประเทศมาเลเซีย มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่าง

ส่งผลให้ในห้วง 3 วันที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ มวลน้ำได้ไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ 13 อำเภอของ .นราธิวาส อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมขังเป็นพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำ ซึ่งระดับน้ำที่ท่วมขังสูงสุดในบางพื้นที่ประมาณ 2 เมตร ส่งผลให้บ้านเรือนของประชาชนถูกน้ำท่วมขัง อีกทั้งถนนหนทางหลายสายโดยเฉพาะในหมู่บ้านถูกตัดขาด

ล่าสุด นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ทางจังหวัดได้ประกาศเขตภัยพิบัติแล้วทั้ง 13 อำเภอ ซึ่งบางอำเภอมีทั้งอุทกภัยและวาตภัย เช่น .สุไหงโกลก .เมืองนราธิวาส เป็นต้น ในขณะที่บางอำเภอประสบกับสถานการณ์อุทกภัยล้วนๆ อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้นายอำเภอทั้ง 13 อำเภอออกสำรวจ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการให้ความช่วยเหลือนั้น นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสพร้อมด้วย ปลัดจังหวัดนราธิวาส สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและจิตอาสาพระราชทาน ร่วมลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ชาวบ้านผู้ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาสอย่างต่อเนื่อง และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลืออย่างทั่วถึง 

สำหรับข้อมูลจากทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย .นราธิวาส รายงานพื้นที่ประสบภัยพิบัติทั้ง 13 อำเภอ จำนวน 67 ตำบล 467 หมู่บ้าน 2 เทศบาล มีราษฎรเดือดร้อนจำนวน 101,385 คน รวม 33,482 ครัวเรือน

ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 17สั่งการให้เสริมบิ๊กแบ็คบริเวณพนังกั้นน้ำริมแม่น้ำโกลกที่ .มูโนะเร่งด่วน เพื่อป้องกันพนังจากมวลน้ำในแม่น้ำโกลก 

นายเฉลิมชัย ตรีนรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 17 กล่าวว่าปริมาณฝนรอบนี้มีสูงมาก ส่งผลให้น้ำล้นจากพนังกั้นน้ำที่บริเวณหมู่บ้านมูโนะ ที่ความสูง+7 เมตร โดยระดับที่ล้นมาประมาณ 15 เซนติเมตรถือว่าเป็นไปตามสถานการณ์ เพราะน้ำจะไหลเข้ามาในชุมชนตามระดับน้ำที่ล้นคันขึ้นมา ซึ่งแนวทางปฏิบัติขณะนี้คือต้องพยายามทำให้พนังกั้นน้ำมีความมั่นคงแข็งแรงมากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้ามาเหมือนครั้งก่อน ดังนั้นจึงได้สั่งการให้ส่วนเครื่องจักรกล และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโกลก นำบิ๊กแบ็คมาเสริมบริเวณพนังกั้นน้ำเพิ่มเติม ล่าสุดได้สั่งเรือท้องแบน เร่งอพยพประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำจุดดังกล่าวประมาณ 10 ครัวเรือนแล้ว

 ทั้งนี้ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2565 ทำให้สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำปัตตานี ล้นตลิ่ง ,ลุ่มน้ำสายบุรี ล้นตลิ่ง และลุ่มน้ำโกลก ล้นตลิ่ง ซึ่งได้สั่งการให้ควบคุมระบายน้ำผ่านอาคารชลประทาน และตามการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล เพื่อเร่งระบายน้ำที่ท่วมขังจากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักสะสม พร้อมทั้งเดินเครื่องสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสูบพร่องน้ำในพื้นจำนวน 4 พื้นที่ เพื่อเร่งพร่องระบายน้ำ ได้แก่ที่ สถานีสูบน้ำบ้านนาคออีบู (ใหม่) ,สถานีสูบน้ำบ้านปะลุกาโคกยางสถานีสูบน้ำบ้านสันติสุข,สถานีสูบน้ำบ้านตาเซ๊ะ พร้อมทั้งสั่งการส่วนเครื่องจักรกล สำนักงานชลประทานที่ 17 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 2 พื้นที่ คือติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับเคลื่อนด้วยระบบไฮดรอลิค (Hydro Flow) ขนาด 28 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เพื่อเร่งสูบน้ำระบายน้ำออก  สถานีสูบน้ำโคกสะตอ หมู่ 7 บ้านปิเหล็ง ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำเวลา 17.40 และดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 12 นิ้วจำนวน 2 เครื่อง เริ่มสูบน้ำ เวลา 12.00 เพื่อเร่งระบายน้ำช่วยเหลือพื้นที่อำเภอเมืองนราธิวาส  ท่อระบายน้ำแห่งที่ 3 บ้านยะกัง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 

 และขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ การคาดการณ์ฝนตกล่วงหน้า 7 วัน รวมถึงมีการเฝ้าระวังแจ้งเตือนจากทางราชการ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเสียชีวิต โดยเฉพาะเด็ก  ที่ชอบเล่นน้ำ จะได้รับทราบสถานการณ์เพื่อการเฝ้าระวังต่อไป.

ภาพ/ข่าว ปทิตตา หนดกระโทก ทีมข่าว @ชายแดนใต้ .นราธิวาส