ปัตตานี – หน.พูดคุยสันติสุขฯ เตรียมนำข้อเสนอคณะประสานงานฯ ปีหน้าเปิดการพูดคุยแบบ Face to Face

0
811

ผู้สื่อข่าวรายงานวันที่ 9 ธ.ค. 64 พลอ.วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รองผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติและผู้แทนส่วนราชการ คณะประสานงานระดับพื้นที่ ร่วมกันประชุมถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุข ถึงสถานการณ์ล่าสุดที่ผ่านมาคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระดับพื้นที่ เป็นการมุ่งแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธีด้วยการเปิดพื้นที่และเวทีการพูดคุยกับทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรุนแรง ความยุติธรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี หรือการศึกษา คุณภาพชีวิตเพื่อแก้ปัญหาด้วยกระบวนการและแนวทางสันติวิธี ดังนั้นการรับฟังความคิดเห็นของคณะประสานงานระดับพื้นที่ครั้งนี้ ที่เป็นตัวแทนของประชาชน กลุ่มองค์กรในพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นำไปสู่การแสวงหาทางออกจากปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ร่วมกันได้

พล อ.วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข กล่าวว่า หลังจากเงื่อนไขข้อจำกัดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงไม่สามารถจัดให้มีการรวมตัวของคณะประสานงานระดับพื้นที่ได้ จนสถานการณ์เริ่มผ่อนคลาย จึงกำหนดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็น ของคณะประสานงานระดับพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอแนะต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 11 กลุ่ม อีกทั้งรับฟังขอเสนอจากประชาชนในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความรุนแรง ความยุติธรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรี หรือการศึกษา และอื่นๆพร้อมที่จะรับฟังในห้วงวันที่ 7-9 ธันวาคม 2564 นี้ พร้อมกับลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆ เตรียมเดินหน้าเปิดการพูดคุยสันติสุขแบบ Face to Face อีกครั้งต้นปี 2565

เพราะการพูดคุยในช่วงของสถานการณ์โควิด19 ทำให้การพูดคุยแบบร่วมกันได้ยาก ที่ผ่านมาเราใช้ระบบออนไลน์ในการพูดคุย ปีที่ผ่านมาก็มีการปรึกษาหารือกับผู้เห็นต่าง จนก้าวข้ามการบริหารจัดการไปแล้ว และปีหน้าคือจุดเริ่มต้นของการพูดคุยประเด็นสารัตถะ อาจจะต้องอาศัยเวลา ความต่อเนื่อง ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ในการหนุนเสริมต่อการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข และต้องอยู่ภายในกรอบการดำเนินงานเพื่อรับฟังความคิดเห็นๆลำดับการนำเสนอผลจากการรับฟังความคิดเห็น และไม่กี่วันข้างหน้านี้ เราได้ประสานกับท่านตันซรี อับดุลราฮิม ผู้อำนวยความสะดวกอดีตผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลประเทศมาเลเซียแล้ว เปิดพื้นที่รับฟังข้อเสนอภาคประชาชน เพื่อพัฒนากระบวนการสันติภาพอย่างครอบคลุม (inclusive) เพื่อเตรียม kick off การพูดคุยสันติสุขกับ BRN ในช่วงต้นปี 2565เตรียมนำเสนอกับดำเนินการโต้ะพูดคุยสันติสุขต่อไป

คุณวิจิตร สกุลแก้ว ตัวแทนกลุ่มวัฒนธรรม และกลุ่มตัวแทนพุทธ กล่าวว่า สิ่งที่จะได้นำเสนอคือวัฒนธรรมพื้นที่ ที่ทั้ง 2 ศาสนิกถือปฎิบัติมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นภาษา การละเล่น การแสดงต่างๆ เช่นมาโนราแขก มีทั้งของพุทธและมุสลิม และการแสดงสีละ มะโย่ง เช่นเดียวกับค่ายมวยก็จะมีเยาวชนเด็กเล็ก ทั้งพุทธมุสลิมก็มีการซ้อมมวยด้วยกัน สิ่งเหล้านี้คือการผสมผสานในเชิงการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรม
ปัจจุบันดูเหมือนว่าค่อนข้างจะห่างเหินกัน ซึ่งเป็นไปได้อยากให้รัฐบาลส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าว โดยจุดมุ่งหมายคือการเกิดสันติสุข ที่เกิดจากความสัมพันธ์อันดี ที่มีพื้นทางวิธีชีวิตการอยู่ร่วมกันเป็นวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหาในการสร้างสันติสุข เพียงแต่ว่าการดูแลสนับสนุนจากภาครัฐอาจจะห่างเหิน ถ้ารัฐใช้ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หรือผู้นำวัฒนธรรม และดึงมวลชนในพื้นที่ที่ชอบแต่ละกิจกรรม หรือ การแสดง กลุ่มคนทำอาหาร กลุ่มการแสดงโนรา กลุ่มมวย และอื่นๆ เรียกมานั่งพูดคุยกัน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลในการพูดคุยมากขึ้น ทำให้เหตุการณ์ต่างๆเข้าไปในทางที่ดีต่อไป

ด้านนางคอดีเยาะ หะหลี แกนนำสตรีอาสาคลายทุกข์ บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่เสียงของเรา หนึ่งเสียงที่เข้ามาสะท้อนปัญหาและเรียกร้องสิทธิ์ต่างๆ ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ก็รู้สึกเป็นเกียรติมาก เพราะจะได้ส่งไปถึงทั้ง 2 ฝ่ายที่คุยกันอยู่ โดยสถานการณ์ปัจจุบันถือว่าเริ่มที่จะเบาลงเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่เดือดระอุ และทางเจ้าหน้าที่รัฐเริ่มมีความเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น และรู้ว่าต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีไหน เพราะการใช้กำลังและสันติวิธีมีความแตกต่างกัน ซึ่งที่ผ่านมาทางเราได้เรียกร้องมาเป็นระยะๆ จนสุดท้ายทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มที่จะดีขึ้น และหาจุดหาช่องที่จะคุยกันได้มากขึ้น
โดยชาวบ้านในพื้นที่ตอนนี้ เท่าที่ได้ฟังมาก็เรียกร้องในเรื่องของปากท้อง อาชีพ ความเป็นอยู่ เป็นหลัก เพราะทุกวันนี้ทุกคนประสบปัญหาในเรื่องของโควิดกันหมด ซึ่งหากทั้ง 2 ฝ่ายยังคุยไม่จบต่างฝ่ายต่างไม่ยอมถอยกัน ชาวบ้านในพื้นที่ก็ใช้ชีวิตต่อไปไม่ได้เหมือนกัน เพราะทุกวันนี้เจอโควิดก็ลำบากอยู่มากแล้ว หากต้องมาเสี่ยงกระสุนปืนหรือระเบิดอีกก็ใช้ชีวิตต่อไปไม่ไหวเหมือนกัน จึงอยากให้การพูดคุยในครั้งนี้ ช่วยสรุปผลลัพธ์ออกมาให้ชัดเจน

สุกรี มะดากะกุล บก.@ชายแดนใต้