รายงานพิเศษ : นายกสมาคมประมงปัตตานี​ ฝากรัฐบาล​ เร่งช่วยเหลือชาว​ประมงพาณิชย์ที่กระทบ​หนัก โดยด่วน!!

0
1116

สถานการณ์​อุตสาหกรรมชาวประมง ทั่วประเทศ  ยังคงประสบปัญหา​อย่างสาหัส​จากปัญหาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู)ของสหภาพยุโรปแลกกับการยกเลิกแบนสินค้าประม่งไทย ได้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง​มายาวนานมาถึง​5​ปี​ แล้ว​สมาคมประมงได้เข้ายื่นผนังสือถึงรัฐบาล​ ต่อนายกรัฐมนตรี​นับเป็นสิบๆครั้ง​ ทั้งมีปารประท้วง​ บ่อยครั้ง​ ล่าสุด​ พยายามดำเนินปารอย่างต่อเนื่อง​ เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​ เข้าช่วยเหลือเร่งด่วน และเสนอแนวทาง​ ลดผลกระทบจากชาวประมงผลายราย ที่ต้องเลิก​กิจการให้สามารถพยุงตัวต่อไปได้

นางอันน์เกตุ​ ลีลาไพบูลย์​ นายกสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี​ เปิดเผยว่า​ ต่อสถานการณ์​ ปัญหาของเศรษฐกิ​จการประมง​ ตั้งแต่กฎหมาย​iuu​ เข้ามาบังคับใช้ตั้งแต่ปี​ 58 เป็นต้นมา​ ก็ทำให้​สถานการณ์​ประมงซบเซามาหลายปีแล้ว มาถึงปี​ 64​นี้​ทุกอย่างเงียบ​ลงอย่างมาก​ ต้องบอกว่า​อาชีพที่ต่อเนื่องกับการทำประมง​ มีไม่น้อยกว่า​  7​ กลุ่มอาชีพ​ ตั้งแต่คนคัดปลา​ คนเรือ​ ตลาด​ แรงงาน​ อื่นๆ​ จึงทำให้บางรายต้อง​ออกไปต้องหาอาชีพอื่นๆ​ รับจ้างต่างๆ​ ทำ​เพื่อเอาตัวรอดก่อน​  ทำให้ขาดแคลนแรงงาน​  เศรษฐกิจการประมงจึงรายได้ลดลง​ ซึ่งในจังหวัดปัตตานี​ที่ขึ้นกับการประมงเป็นหลัก​จึง​เงียบเหงาตามไปด้วย


  จากการที่เราเดือดร้อน​ ในด้านการประกอบอาชีพ​ มายาวนาน​นี้​ รัฐบาลก็พยายามช่วยเหลือ​เยียวยา​ ช่วยรับซื้อนอกระบบบ้าง​ เพียงแต่ปริมาณ​การซื้อขาย​ยังไม่เพียงพอกับจำนวน​ของชาวประมงทั้ง​ ​22​ จังหวัดทั่วประเทศ​ และสำหรับในปัตตานี​เองนั้นเราเดือดร้อนมาก​แล้ว  ได้ทำเรื่องร้องเรียนขอไป หลังจากประสบปัญหา​อย่างหนักจนผู้ประกอบการบางราย​แทบจะอยู่ในพื้นที่ไม่ได้แล้ว​ ต้องเปลี่ยนอาชีพกันเลย​  เราได้ขอให้ทางรัฐบาล​ช่วยรับซื้อเรือประมง​ไป​ โดย​ คณะพัฒนา​ท้องถิ่น​ชายแดน​ภาคใต้​ (คพต.)​ได้มีความเห็นแล้วว่าจะช่วยรับซื้อ​ จำนวน​224 ล้านบาท​ ต้องดูว่า​ มติ​จะผ่านในวันที่.28​ นี้​ เราคาดหวังว่า​ จะมีผู้ใหญ่ของรัฐบาล​ช่วยเหลือ​เรา​ เพืี่อได้ประทังชีวิตกันต่อไป​ ซึ่งเรือเป็นทรัพย์สิน​ ที่พอจะทำเป็นต้นทุนไปประกอบอาชีพอื่นได้​เอาไปหมุนเวียนทำทุน​และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  ปํจจุบันนี้​ ถ้าถามว่าการประมง​ ลดลงแค่ไหนอย่างไร​ คือสำหรับจังหวัดปัตตานี​ จากที่เรือประมงมีจำนวน​กว่า​ 1,100​ ลำ​ ขณะนี้เรามีเรือพาณิชย์​ที่เดินเรือ​แจ้งเรือผ่านด่านเข้า-ออก​ อยู๋ที่​ 300​​ กว่าลำเท่านั้น​ ก็ลดลงถึง​70% เลยทีเดียว​ ซึ่งที่เหลือที่กำลังทำงานอยู่​ 30% นี้​ กำลังรออยู่ว่า​จะมีแรงงานมาเพิ่มเติมเข้ามา​อีกหรือไม่ ถ้าเพิ่มอีกสัก 40​กว่า% ก็จะดีกว่านี้​ แต่ถ้ายังอยู่สภาพนี้​ แนวโน้มการประกอบอาชีพประมงอาจจะลดลงไปอีกจนเหลือ.20%ก็ได้​ ถ้ามีการรับซื้อจากรัฐบาลจริง​ ก็จะมีทุนมาใช้หรือซ่อมแซมเรือบางส่วน​ที่นำปลับมาใช้ได้​ ที่ยังขาด​ เอามาหมุนเวียนได้​
สำหรับตัวเลขรายได้ที่ขาดหายไป​ 26,000 กว่าล้าน​ต่อปี มาจากอาชีพที่เกี่ยวข้องกัน​เป็นทอดๆ​ไป​ ตั้งแต่​ใต้ก๋งเรือ​ คนเรือ​แรงงาน​ ภาคอื่นๆ​ ด้วย​ เราเป็นภาคอุตสาหกรรม​เกษตรประมง​ ต้นน้ำ​ ก็ทำให้กระทบต่อๆกันกับผู้เกี่ยวข้อง​ทั้งพ่อค้า​แม่ค้า​ โรงงาน​ และอื่นๆ​รายได้หายกันไปหมด

ต่อเรื่องพรก​.58​ และแก้ไขเพิ่มเติม​ปี60​ ที่อยากให้ทางรัฐบาล​เร่งแก้ไขด่วน​ เราได้ร่างหนังสือเพิ่มเติมขึ้นไป​ เป็นความเห็นชาวอุตสาหกรรมประมงทั้งประเทศ ยืี่นหนังสือถึงนาย​ชวน​ หลีกภัย​ ประธานสภา​ ในการแก้ไข​ อยากให้่ผ่านครม.ไปได้​ คือแก้ไขเร่งด่วนใน​ 4​ มาตรา​ ซึ่งในนี้เป็นความผิดที่เล็กน้อย​ ไม่ได้ออกนอกประเทศ​ ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง​มาก​  หากเปรียบเทียบกับค่าปรับ​ การลงโทษหนัก​  ซึ่งอาจทำให้สิ้นอาชีพ​ หรือล่มจมไปเลยทีเดียว​ ที่ขอให้แก้ไขแก้ไข​ ได้แก่มาตรา​ 39,81,114,และมาตร169

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก​ ระหว่างนี้ไม่ทราบว่าอยู่ในขั้นตอนไหน​ เห็นว่ายังเงียบอยู่​ อยากให้เร่งพิจารณา​
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ​ก็คือเรื่องแรงงาน​เพราะว่า​เราอยู่จังหวัดชายแดน​ล่างสุด​ แรงงานจึงขาดแคลนตลอด​ ค่อนข้างหายาก​
จึงอยากให้รัฐช่วยเปิดโอกาสให้รับแรงงานต่างด้าวประเทศอื่นอีกด้วย​นอกจาก​3​ ชาติ​ พม่า, ลาว, เขมร​ แล้ว​ ได้เวียดนามเหรือ​บังกลาเทศ​ และทำเอกสารประกอบ​การทำทะเบียนแรงงาน​ ครบทุกอย่าง​ เปิดความสะดวกในการรับแรงงาน​ด้วย​ เพราะการรับแรงงานประมง​นี้เป็นเรื่องเฉพาะ​ทาง​ อยากให้เปิดเป็น​​3​ ช่วง​เพื่อให้ทันกับการดำเนินการ​ที่ต้องใช้เวลา​ หากไม่ทันจะได้เลื่อนรอบต่อไป​ ให้ทัน​
ไม่รวมปัญหาอื่นอีกเช่น​ แรงงานคนไทยฝืมือลดลง เพราะเรือน้อยงานน้อย ย้ายถิ่น ไปทำงานที่อื่น​ทงานอย่างอื่นเพราะอาชีพนี้รัฐบาลไม่สนับสนุน บางคนหันไปทำเรือเล็ก เพราะเบื่อกฎหมาย​ สถานการณ์ยิ่งทำให้ทะเลขายฝั่งเต็มไปด้วยเรือ และขยายพื้นที่ออกไปจนเกิดการ​กระทบกระทั่งกับเรือพาณิชย์ที่รัฐบาลกำหนดกรอบมากมาย เรื่องนี้ราชการ รัฐบาลไม่เคยกล้าพูดถึง สงสารทั้งเรือเล็ก เรือกลาง เรือใหญ่ เพราะการจัดการของภาครัฐไม่ได้จัดการบูรณาการ​ อย่างมีส่วนร่วมนี่แหละปัญหาจึงแก้ไม่ได้จนถึงวันนี้ และยังผูกปมไปเรื่อยๆ จาก
ประมงไทยที่เป็นผู้นำด้านประมงโลกบัดนี้กลับกลายเป็นเพียงอดีตไปแล้ว น่าเศร้าจริงๆ

อีกเรื่องถ้าเป็นไปได้​ อาจให้พื้นที่ทำกิน​ สามารถเข้าไปทำงาน​ รองรับ​ มีงานอย่างอื่นให้เขาได้ทำได้​
เรื่องที่ฝากกับท่านจุรินทร์​ ลักษณะวิศิษฏ์​รองนายกรัฐมนตรี​และรัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​พาณิชย์​ ที่ลงมาพบกับสมาคมชาวประมง​เมื่อสัปดาหที่ผ่านมานี้​ เราได้ฝากเรื่องให้แก้ไขเร่งด่วน​ ได้ประชุมคุยกัน.3​ เรื่อง​ ได้แก่เรื้องรับซื้อเรือ​ล้อตแรก101 ลำ​ ซึ่งเรื่องนี้อยู่ที่ศอ.บต.​เป็นผู้ดำเนินการ​ซึ่ง​ไม่แน่ใจว่ามีติดขัด​ตรงไหน​ไม่ดวก​ มีปัญหา​ ส่วนต่อมาคือในเรื่องการแก้กฎหมาย​ก็ขอให้ท่านได้ให้​สส.ในพรรคช่วยกันผลักดันกฎหมายให้ผ่านไปโดยเร็วยิ่งขึ้น​และเรื่องสุดท้ายคือขอที่ดินทำกินในการแก้กฎหมายบางอย่าง​ เราอยากให้ดูแลในบทลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด​ เราคาดหวังเป็นอย่างมาก​ ต่อการแก้ไขปัญหา​ครั้งนี้​
เนื่องด้วยอุตสาหกรรมการประมง​เป็นองค์กร​ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ​ เป็นรายได้หลัก​ภาคหนึ่งด้วย​ ถือเป็นภาคเดียวกับการเกษตร​ด้วย​ และเป็นอาชีพที่รับความเสี่ยงด้วยตัวเองอยู่แล้ว​ ซึ่งเราไม่เคยขอการประกันรายได้​ ไม่ได้ขอที่มากเกินไปไม่ทำผิดกฎหมาย​ เราพร้อมที่จะทำตามกฎหมาย​ตามที่​ องค์กร​ประมงดูแลกันอยู่แล้ว​ จึงขอให้เร่งแก้ไขปัญหา​ทั้งหมดอย่างเร่งด่วน​ เพื่อให้พวกเราชาวอุตสาหกรรม​ประมงได้อยู่รอด​กันต่อไป
สมาคมการประมงปัตตานี หวังเพียงว่าวันนี้จะมีผู้นำที่เข้ามาแก้ไขปัญหา​ ด้านอาชีพอุตสาหกรรม​ประมง ให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะฟื้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้คนมากมาย กล้าที่จะเปลี่ยน เพื่อเปลี่ยนแปลงให้อาชีพประมงกลับมามีศักดิ์มีศรีดั่งเช่นแต่ก่อน

สุกรี มะดากะกุล รายงาน