สงขลา -“ทำไมปอเนาะโคกยางคว้ารางวัลนวัตกรรมประชาธิปไตยระดับชาติ”

0
1004

จากข่าว“โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ (ปอเนาะโคกยาง)ตำบลสะกอม อำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา สามารถคว้ารางวัล “ดีมาก” อันดับที่ ๒ ระดับประเทศ ในหัวข้อ “พลวัตการพัฒนาสังคมอย่างมีส่วนร่วมผ่านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทน ประธานรัฐสภาซึ่งเป็นประธานมอบรางวัลเมื่อ วันที่ 17/9/62 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรอบชิงชนะเลิศในการประกวด นวัตกรรมประชาธิปไตย เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย เชิงคุณภาพ ประจำปี 2562 ณ อาคารรัฐสภาหลังใหม่ การประกวดในครั้งนี้ มีทั้งหมด 48 ทีม ในรอบแรก

ทำให้ ผู้เขียนจึงไปขอสัมภาษณ์ อยากเจาะลึก ว่า โรงเรียนมีอะไรดี มีเนื้อหาการนำเสนอและอื่นๆอย่างไรจนสามารถคว้ารางวัลนี้มา พบกับ ครูฟาตอนา  ขุนดุเร๊ะ ในฐานะหัวหน้าทีมได้เปิดเผยประเด็นต่างดังนี้

1.เหตุผลและความจำเป็นที่ทำให้เกิดผลงานนวัตกรรมประชาธิปไตย  การบูรณาการหลักการศาสนาอิสลามกับหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาสังคมและแก้ปัญหาชายแดนใต้

  1. อะไรคือนวัตกรรมประชาธิปไตย มีความโดดเด่นและความแปลกใหม่อย่างไร การสามารถถอดรหัสทฤษฎีในหลักการศาสนามาบูรณาการหลักพัฒนาสังคมสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน จากเรื่องชุมชนสู่นานาชาติโดยไม่ทิ้งรากเหง้า จากมุสลิมชายแดนใต้ สู่วิถีพลเมืองไทยและพลเมืองโลกตามวิถีมุสลิมในยุคดิจิทัล และโลกาภิวัตน์  ท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม
  1. ผลหรือการเปลี่ยนแปลงที่ส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยในพื้นที่ เช่น การเข้าถึงสิทธิ ความเท่าเทียม เป็นธรรม การมีความรู้ ความชอบธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม เป็นต้น การเข้าถึงการศึกษา100 เปอร์เซ็นต์ของคนในหมู่บ้าน จากระดับปฐมวัย สู่มัธยมศึกษาปีที่ 6 (การศึกษาขั้นพื้นฐาน) สู่ การแบ่งปันให้คนทั้งชาติและทุกภูมิภาคแม้แต่เวธีนานาชาติ

4.ความยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาหรือต่อยอดนวัตกรรมประชาธิปไตยดังกล่าว การส่งต่อผ่านคณะกรรมการอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนจากรุ่นสู่รุ่น

  1. บทเรียนที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานที่สามารถสร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันได้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาติและนานาชาติ นำมาปรับใช้ในพื้นที่ให้ลงตัว

ข้อที่น่าจะการันตีของความคุ้มค่าของเรา คือ MoU ด้านการศึกษากับต่างประเทศ 200 กว่าโรงและมีโรงเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งต่างประเทศ( มาเลเซียและอินโดนีเซีย)มาศึกษาดูงานรายร้อยโรงซึ่งเฉลี่ย 2 โรง ต่อเดือนเพื่อนำบทเรียนไปปรับใช้ในโรงเรียนของพวกเขาที่มาดูงาน

สำหรับรายละเอียดเชิงลึกนั้น ความเป็นมาของการถอดบทเรียน พลวัตการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม โรงเรียนได้คัดเลือกจากตัวแทนคณะผู้บริหาร ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนภาครัฐและประชาชน ซึ่งบางท่านใช้ชีวิต ตั้งแต่ เริ่มก่อกำเนิดโรงเรียน บางท่าน 20 ปี บางท่าน 10 ปี บางท่าน 5 ปี บางท่าน 1-4 ปีในสถานศึกษาแห่งนี้เพื่อถอดบทเรียนเรื่องนี้ โดยเป็นการศึกษาภาคสนาม ( Field Research ) การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research ) Focus Group หลังจากนั้นวิเคราะห์สังเคราะห์จนสามารทราบว่าที่นี่มีพลวัตการพัฒนาสังคมอย่างมีส่วนร่วมผ่านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไร ใช้นวัตกรรมกรรมใดบ้าง มีผลสัมฤทธิ์อย่างไร จนนำไปสู่การ สร้างนวัตกรรมประชาธิปไตย ผ่านการถอดบทเรียน เกี่ยวกับพลวัตการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมผ่านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

การสร้างนวัตกรรมการศึกษา เพื่อเห็นความสำคัญของคนในพื้นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนของบุตรหลาน,เพื่อต้องการจัดการศึกษาที่เหมาะต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของชุมชนและสังคม ,เพื่อลดรายจ่ายในการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าเรียนตามความถนัดและความต้องการในพื้นที่ใกล้บ้าน,          เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการศึกษา,               เพื่อต้องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพภายใต้กรอบแนวคิดประชาธิปไตยและหลักการศาสนา

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) นักวิชาการสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาชายแดนภาคใต้