ศปบ.จชต. และภาคีเครือข่าย เปิดชั้นเรียน (Open class) จชต.ครั้งที่ 2 สานต่อการการศึกษา สร้างความเข้มแข็งใช้ภาษาไทย ร่วมกับวิชาอื่นในชั้นเรียน

0
1043
ศปบ.จชต. และภาคีเครือข่าย เปิดชั้นเรียน (Open class) จชต.ครั้งที่ 2 สานต่อการการศึกษา สร้างความเข้มแข็งใช้ภาษาไทย ร่วมกับวิชาอื่นในชั้นเรียน

ศปบ.จชต. และภาคีเครือข่าย เปิดชั้นเรียน (Open class) จชต.ครั้งที่ 2  สานต่อการการศึกษา สร้างความเข้มแข็งใช้ภาษาไทย ร่วมกับวิชาอื่นในชั้นเรียน

ผูสื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 21 กันยายน 2562 เวลา 09.30 น.   ที่ ห้องประชุมพญาตานี 1   โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ศูนย์ประสานงานและบริการการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการใช้ภาษาไทย “กิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2” โดยมีพลเอก สุรเชษฐ์  ชัยวงศ์ สมาชิกวุฒิสภา เป็นประธานเปิด กิจกรรม มี  ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริการการศึกษา จชต. ผู้บริหารการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่ จชต. บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน   เข้าร่วมกว่า 400 คน

“กิจกรรมเปิดชั้นเรียน (Open Class) จังหวัดชายแดนภาคใต้”   เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2   เพื่อเป็นแนวทางการสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย   โดยบูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์  และวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง สร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ให้มีประสิทธิภาพต่อเนื่องและยั่งยืน

ด้านพลเอก สุรเชษฐ์  ชัยวงศ์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า   “การนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้จัดกิจกรรมในชั้นเรียน นับได้ว่าสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล  ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการใช้ภาษาไทยและการบูรณาการกับรายวิชาอื่น ๆ   การเปิดชั้นเรียนวิชา ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นโอกาสอันดีที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด เกิดความเข้าใจร่วมกันเป็นอย่างดี ซึ่งจะนำไปสู่ความมุ่งหวังของการจัดการศึกษา   เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ   ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคมพหุวัฒนธรรม   สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลง ของโลกในศตวรรษที่ 21

ทีมข่าว@ชายแดนใต้ จ.ปัตตานี