ม.นราฯขับเคลื่อนโครงการPlatform คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่มหาวิทยาลัยประกอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่ไทยแลนด์ 4.0

0
385

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ห้องประชุม ดร.สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์ ชั้น 6 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส  รองศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการปิด Platform คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่มหาวิทยาลัยประกอบการ


โดยมี คณะผู้บริหาร คณาจารย์ พนักงาน เจ้าหน้าที่ คุณครู นักเรียนจำนวนกว่า 300 คนเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
ทางด้านรองศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่า ปัจจุบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เช่นการเปลี่ยนแปลงแบบ Owership ไปเป็น Partnership และ Sharing Economy เน้นการสร้างเครือข่าย การเตรียมสร้างคนแบบ Smart Peopleเน้นการศึกษาแบบ Work- based Learning เพื่อรองรับโลกของอนาคต สร้าง
คนให้มีความโดดเด่นในเรื่องของความมุ่งมั่น แรงบันดาลใจ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีวิสัยทัศน์ สอดคล้องกับ AI ซึ่งมีกระแสที่เด่นชัด และที่สำคัญ การทำวิจัยเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาเพื่อสร้างคนที่มีคุณสมบัติที่สอดรับกับสิ่งเหล่านี้ และสิ่งหนึ่งที่เป็นการเตรียมพร้อมในการสร้างคนคือการปูพื้นฐานให้กับผู้เรียนให้เข้าใจ เรียนรู้ ลักษณะบัณฑิตที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็น
หน่วยงานทางการศึกษาหนึ่งที่มีความโดดเด่นเรื่องการบริการวิชาการ เป็นที่ยอมรับของวงการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนใต้ และโครงการเปิด Platform คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่มหาวิทยลัยประกอบการ เป็นโครงการหนึ่งที่ช่วยฝึกฝนนักเรียนในระดับมัธมศึกษาปีที่ 6ให้รู้จักการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์จับต้องได้ ซึ่งเป็นผลผลิตที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันได้อีกด้วย
สำหรับโครงการเปิด Platform คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่มหาวิทยาลัยประกอบการ จัดทำขึ้นเพื่อบริการวิชาการในรูปแบบค่ายวิทยาศาสตร์ การเตรียมตัว การพัฒนาการเรียนการสอนและถ่ายทอดการทำวิจัยและนวัตกรมแนวใหม่ที่จับต้องได้ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน


ซึ่งการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 หรือยุค 5G ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เกิดควมมั่นคงมั่งคั่ง และยั่งยืน และเป็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สถาบันการศึกษา และถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่ง โดยฉพาะมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาและการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ผ่านกระบวนการเรียนการสอน งานวิจัยและการบริการวิชาการสู่สังคมและอุตสาหกรรมประกอบกับนโยบายและแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมุ่งเน้นให้ปฏิบัติภารกิจที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มีเป้าหมายให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากความยากจน เชื่อมโยงองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชนและอุตสาหกรรมภาคประชาสังคม สนับสนุน ส่งเสริม งานวิจัยและการสร้างนวัตกรรม เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้าสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั่วภูมิภาคและผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะตามความต้องการของยุคปัจจุบันตามกระแส Globa Osruption เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาต่อไป  ทั้งนี้มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ที่ 6 จำนวน 200 คนจากโรงเรียน 20 โรงเรียน โดยได้ร่วมทำกิจกรรมที่คณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งแต่วันที่ 13-15 เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย Bootสาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมจิตอาสาอีกด้วย

ข่าว/กรียา เต๊ะตานี ทีมข่าว@ชายแดนใต้จ.นราธิวาส