กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .. (ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา)

0
907

กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. .. (ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา)    วันที่16 สิงหาคม ณ ห้องจูปิเตอร์ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่นกรุงเทพฯ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. …. (ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา) โดยมีนายสมณ์ พรหมรส อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นผู้กล่าวรายงานและได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒินำเสนอสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. …. นำโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางนงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน(อดีตรองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และคุณกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทยโดยมีนายพิทยา จินาวัฒน์ ที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ(อดีตอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาคประชาชนนักวิชาการอิสระและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียฯลฯรวมทั้งสิ้น ประมาณ400 คนเข้าร่วม  สืบเนื่องจากกระทรวงยุติธรรมโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้รับมอบหมายตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่12 พฤศจิกายน2547 ให้เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งรวมถึงแผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุ้มครองให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ/อัตลักษณ์ทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีทั้งนี้หนึ่งในกิจกรรมสำคัญตามที่ระบุไว้ในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ ๓ คือ การจัดทำร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต.. …. เพื่อรับรองสิทธิในการแต่งงานและการมีชีวิตครอบครัว(Right to marriage and family life) ให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้ในพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายฉบับเช่นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและและหลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการปรับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้หารือร่วมกับภาคส่วนต่างๆเพื่อร่วมกันจัดทำร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. …. อย่างต่อเนื่องโดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯคือการให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้เสมือนคู่ชีวิตหญิงชายทั่วไปรวมถึงกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างกันโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติฯดังกล่าวเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่25 ธันวาคม2561ต่อมาคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจำนวนทั้งสิ้น 12 ครั้งเพื่อให้การจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯเป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและเป็นไปตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญฯ ..  2560 คณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการจัดการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. …. (ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา) ด้วยเหตุนี้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในฐานะผู้รับผิดชอบหลักจึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. …. (ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา)” ในครั้งนี้ขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่ากระบวนการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต.. …. มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาเป็นลำดับซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศการสร้างครอบครัวอันเป็นพื้นฐานที่ดีของสังคมความรักที่ไม่มีข้อจำกัดทางเพศและสิทธิพื้นฐานของประชาชนที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการขับเคลื่อนทั้งในเชิงนโยบายกฎหมายและการปฏิบัติโดยในด้านนโยบายได้กำหนดให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ได้รับความคุ้มครองตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญเชิงนโยบายในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายกระทรวงฯมีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯฉบับนี้โดยการหารือกับภาคส่วนต่างๆรวมทั้งศึกษากฎหมายของประเทศต่างๆที่มีความใกล้เคียงกันเพื่อปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องด้านการปฏิบัติกระทรวงฯได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆจัดทำสื่อและกิจกรรมรณรงค์อบรมเผยแพร่และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้กับสาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ     

อย่างไรก็ตามในการดำเนินการต่างๆ ที่กล่าวมา กระทรวงยุติธรรมไม่อาจดำเนินการได้โดยลำพังการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างแท้จริงเช่นเดียวกับการประชุมฯในวันนี้ซึ่งเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตฯ(ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนจากทุกภาคส่วนได้ร่วมกันให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพระราชบัญญัติฯรวมทั้งเป็นการเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงพัฒนาการสำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อสังคมจะได้ตระหนักถึงสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอันจะนำไปสู่การส่งเสริมปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นและเท่าเทียมกับบุคคลอื่นในสังคมทั้งนี้กระทรวงฯยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะรับฟังความคิดเห็นจากทุกมุมมองเพื่อที่จะได้ประมวลผลสรุปการประชุมเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาฯเพื่อปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯให้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสภาพสังคมและบริบทของประเทศไทยรวมถึงมีความเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติต่อไป.