สุราษฎร์ธานี-สมาคมประมงอวนลาก ร้องให้รัฐเยียวยาเรืออวนรุน หลักถูกสั่งยกเลิกเครื่องมือประมง

0
1212

สมาคมประมงอวนลากเรียกร้องให้รัฐฯออกมาชดเชยเยียวยากลุ่มเรืออวนรุนหลังถูกกฎหมายที่ถูกสั่งยกเลิกเครื่องมือประมงโดยไม่มีแผนการเยียวยามานานกว่า4 ปีกว่า100 ลำบางรายต้องแบกรับภาระค่าดอกเบี้ยธนาคารถึงแม้จะมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ก็ยังได้รับผลกระทบต้องหยุดการทำประมงให้เวลา1 เดือนรอคำตอบไม่เป็นผลจะเคลื่อนทัพเข้ากรุงเทพ  นายสุเรนทร์ บุญภัทรถาวร นายกสมาคมประมงอวนลากสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า  ขณะนี้กลุ่มชาวประมงอวนลากในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่าร้อยลำที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำแต่เรือประมงอวนรุนและหลังจากที่รัฐบาล คสช.ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการทำประมงอวนรุน เรือทุกลำต้องมาทำการประมงแบบอวนลาก ส่งผลกระทบให้เกิดความเดือดร้อนเนื่องจากความไม่ถนัดและรูปแบบเรือที่ใช้ก็ไม่เหมาะกับการทำประมงอวนลาก จนทำให้เกิดปัญหาความไม่คุ้มทุน จนไม่สามารทำการประมงได้จึงอยากจะออกมาเรียกร้องถึงประกาศของกรมประมงที่มีประกาศเมื่อ ปี58 เรื่องชดเชยเยียวยากลุ่มเรืออวนรุนถูกกฎหมายที่ถูกสั่งยกเลิกเครื่องมือแต่จนถึงปัจจุบันยังไม่การดำเนินการใดๆ จึงต้องออกมาเรียกร้อง ดังนี้ 1.สรุปมติที่ประชุมศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.)ครั้งที่12/2558 วันพุธที่22 กรกฎาคม2558  2.คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่240/2558 วันที่5 สิงหาคม2558 เรื่องการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายราดการายงานและการควบคุมเพิ่มเติม 3.คำสั่งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายที่1/2558 เรื่องการออกอาชญาบัตรหรือใบอนุญาตทำการประมงใหม่ให้แก่เรือประมงอวนรุนเดิมที่ถูกยกเลิก 4.รายชื่อสมาชิกที่ได้รับผลกระทบด้วยทางสมาคมฯได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาชิกกลุ่มเรืออวนรุนที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย และได้ถูกคำสั่งให้ยกเลิกเครื่องมือจากคำสั่งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย(ศปมผ.) ครั้งที่12/2558วันที่22 กรกฎกาคม2558 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่24/2558 เรื่องการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุมสั่ง ณ วันที่5 สิงหาคม2558

จากคำสั่งดังกล่าวภายใน16 วันทำให้กลุ่มเรือประมงอวนรุนที่มีใบอนุญาตถูกต้องทั้งหมด336 ลำไม่สามารถออกทำการประมงได้โดยไม่ทันตั้งตัวทำให้ชาวประงกลุ่มนี้ประสบกับปัญหาต่างๆมากมายเช่นทำให้หมดอาชีพทำกินเนื่องจากส่วนใหญ่มีแค่อาชีพเดียวและมีเรือประมงเพียงลำเดียวภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายในครอบครัวทำให้บางครอบครัวถึงขั้นล้มละลายอ้างถึงมติที่ประชุม ศปมผ. ครั้งที่12/2558 วันพุธ ที่ 22 กรกฎาคม 2558 อนุโลมให้เครื่องมืออวนรุนที่มีอาชญาบัตรถูกต้องทำการประมงได้ถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 และให้กรมประมงดำเนินการจัดทำแผนเยียวยาต่อไป ซึ่งกว่าที่ชาวประมงกลุ่มนี้จะได้รับการดูแลและให้ทางเลือกแก่ชาวประมง 2 ทาง คือ 1.ออกใบอนุญาตในใหม่ให้เป็นเครื่องมืออวนลากเดี่ยวแต่กว่าทางกรมประมงจะออกใบอนุญาตใบใหม่ให้คือวันที่ 25 ธันวาคม2558 และใช้เวลาในการหาเงินทุนโดยการไปกู้เงินจากธนาคารออมสินมาและใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนเครื่องมืออีก 5 เดือนทำให้ชาวประมงกลุ่มนี้ขาดรายได้เนื่องจากไม่ได้ออกทำการประมงเป็นเวลาถึง11 เดือน และ 2.ขายเรือเพื่อนำไปจมเพื่อทำปะการังทียมซึ่งรัฐตีราคาเรือให้เพียง 50 เปอร์เซ็นของราคาเรือ (กลุ่มนี้ได้รับเงินเดือนธันวาคม2559) ทั้งนี้ในฐานะตัวแทนชาวประมงกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานไขการควบคุมของรัฐบาลสมควรได้รับการดูแลและเยียวยาที่เป็นธรรมในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยขอให้รัฐมีการดูแลชดเชยดังต่อไปนี้ คือ ชดเชยราคาเรืออวนที่มีใบอนุญาตถูกต้องราคา 100 เปอร์เซ็นเต็ม ขอให้รัฐบาลชดเชยค่าเครื่องมืออวนรุนที่เคยมีใบอนุญาตแต่ถูกสั่งยกเลิกอย่างไม่เป็นธรรมในราคา100 เปอร์เซ็น ขอให้รัฐบาลออกค่าเปลี่ยนแปลงเครื่องมือจากเรืออวนรุนเป็นเครื่องมืออวนลากให้ทั้งหมดขอให้รัฐบาลชดเชยค่าเสียโอกาสจากการที่ต้องจอดเรือและค่าใช้จ่ายในการจอดเรือครบจำนวน วัน( จากเดิมที่เคยได้รับแล้วเพียง 53 วันแต่เรือต้องจอด11 เดือน) ขอให้รัฐบาลเร่งรัดให้มีโครงการรับซื้อเรือคืนสำหรับเรือประมงที่มีใบอนุญาตถูกต้องโดยเร่งด่วนเนื่องจากมีเรือประมงกลุ่มนี้ที่ปรับเปลี่ยนเครื่องมือแล้วไม่สามารถทำการประมงต่อได้ เนื่องจากไม่มีความชำนาญและปัญหาเรื่องรูปทรงเรือที่ไม่เหมาะสมกับใบอนุญาตที่ทางกรมประมงออกให้ทำให้ไม่สามารถออกทำการประมงต่อไปได้ (ปัจจุบันมีภาระหนี้สินจากการไปกู้มาเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องมือ) และขอให้โอกาสในการเลือกชนิดเครื่องมือในแบบที่ถนัดและเหมาะสมกับตัวเรือ(ที่ผ่านมาบังคับให้เฉพาะเครื่องมืออวนลากเดี่ยว) ทั้งนี้ทางสมาคมประมงอวนลากสุราษฎร์ธานีใคร่ขอให้รัฐบาลได้ช่วยดำเนินการเรียกร้องเพื่อขอความเป็นธรรมให้แก่ชาวประมงที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหา IUU อย่างไม่เป็นธรรมแก่ชาวประมงกลุ่มนี้ตามเห็นสมควร

ด้านนางดวงเดือน  ทองนุ่น อายุ 43 ปี เจ้าของเรือประมง กล่าวว่า ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการให้ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เรืองประมงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเรือที่มีอยู่ไม่สามารถทำการประมงตามคำสั่ง คสช.ได้ตนต้องไปกู้เงินจากธนาคารออมสินโดยเสียดอกเบี้ยในช่วงแรกเดือนละ 2.4 หมื่นบาท แต่เมื่อไม่ได้ทำประมงมาดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารปัจจุบันเสียเดือนละ1 หมื่นบาทดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาให้การช่วยเหลืออย่างเร่ด่วนไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบแบบลูกโซ่อย่างแต่นอนเพราะหลายปีแล้วที่รัฐให้ชาวประมงปรับเปลี่ยนอุปกรณ์แต่รัฐไม่เคยเข้ามาดูแลและเยียวยาแต่อย่างใด

ทั้งนี้หากยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจากกรมประมงหรือทางรัฐบาลภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ทางสมาคมประมงอวนลากสุราษฎร์ธานีจะทำการประสานไปยังกลุ่มและสมาคมทั่วประเทศเดินทางเข้ายื่นหนังสืออีกครั้งที่ทำเนียบรัฐบาลต่อไป.

ทีมข่าว @ชายแดนใต้ จ.สุราษฎร์ธานี