ยะลา-โรงเรียนสังกัด สพป.เขต 3 ชูนวัตกรรมโมเดลครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน

0
520

ที่ปรึกษาเลขาธิการ กพฐ. ปลื้ม ร.ร.สังกัดสพป.ยะลา เขต 3 ชูนวัตกรรมโมเดลการบริหารจัดการศึกษาที่มีความก้าวหน้าขึ้น “ครัวร.ร.สู่ครัวบ้าน”
วันที่ 31 กค. นายโกมุท รุยอ่อน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 พร้อมด้วยรักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ ตัวแทนผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนโยบายและแผน ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษา ร่วมต้อนรับนายศลใจ วิบูลกิจ ที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำเขตตรวจราชการที่ 7 (Cluster 7 ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส และยะลา) ที่เดินทางมาติดตามการบริหารจัดการศึกษาตามนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจผู้บริหาร คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา


โดยนางสาวนิฐเนตร เทพเกื้อ ผู้อำนวยการโรงเรียนได้นำเสนอนวัตกรรม TANOH EXTRA PLUS 2 MODEL เดินตามรอยโครงการพระราชดำริเป็นเบ้าเป็นแม่พิมพ์ที่ดี ครูรักเด็กและเด็กรักครู ทีมดี จิตศึกษา Body SCAN ผู้เรียนด้วยการกอดเด็กเพื่อสัมผัสผู้เรียนให้รู้สึกอบอุ่น มีระเบียบวินัย รักความสะอาดเป็นอันดับแรก และพาเยี่ยมชมผลการดำเนินงานผลผลิตจากเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาตามซุ้มต่างๆ ของนักเรียน เช่น การทำขนมเจาะหู น้ำอันอัญ การทำปลาส้ม และผลไม้ตามฤดูกาล ตลอดจนการเยี่ยมห้องเรียนอนุบาลเพื่อสังเกตการจัดการเรียนการสอนพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย การอ่านออกเขียนได้ การออกเสียงสระสั้น สระยาว การนับเลข และคิดเลขเป็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รวมทั้งโครงการอาหารกลางวัน ซึ่งโรงเรียนสามารถบริหารจัดการได้อย่างดีเยี่ยม มีการทำงานเป็นทีม ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงจัดทำแปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงจากครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน มีการทำปุ๋ยหมัก ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน แล้วยังสามารถนำผลผลิตกลับบ้าน ขายสู่หลาดดินแดน ตลาดนัดทุกวันอังคาร เพื่อฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการคิดคำนวณต้นทุนผลผลิต การบวกเลขเป็น การฝึกทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สามารถสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อยอดสู่ความยั่งยืน


หลังจากนั้น เวลา 13.00 น. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านวังใหม่ (ประชาอุทิศ 2519) ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีนายมารุต รามแก้ว เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ชูนวัตกรรม 3 โมเดล ในการบริหารจัดการศึกษา โมเดลแรก การส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในโรงเรียนด้วยรูปแบบ DEKWANG MODEL โดยมีการจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรและนำกระบวนการกลุ่มยุวเกษตรกรมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ โมเดลที่ 2 การบริหารจัดการปฐมวัยด้วย PHECH Model มีการวางพื้นฐาน การบริหารจัดการเด็กอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมพัฒนาการปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน จัดสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ของผู้เรียนรวมถึงสถานศึกษาสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั้งนี้ ได้นำคณะเยี่ยมชั้นเรียนทดสอบการอ่าน การออกเสียงพยัญชนะและสระของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สามารถอ่านคล่อง ชัดเจนและเสียงดังทำให้ที่ปรึกษาเลขาธิการ กพฐ.เป็นปลิ้มและชื่นชมในความเป็นโรงเรียนในชนบทสามารถทำให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้ พร้อมนี้ได้ผากไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 ได้จัดการข้อมูล BIG DATA หรือข้อมูลที่เขตพื้นที่การศึกษาจำเป็นต้องใช้ ให้จัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์วางแผนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการจัดการศึกษาต่อไป
ข่าว..เจษฎา สิริโยทัย ทีมข่าว@ชายแดนใต้อ.เบตง จ.ยะลา