สกู้ปพิเศษ​ @ชายแดนใต้​รอมฎอน​ “ภาระกิจเด็กกำพร้ากับหญิงหัวใจแกร่ง​ แห่งเจาะไอร้อง”(คลิป)​

0
1257

สกู้ปพิเศษ​ @ชายแดนใต้​รอมฎอน
พื้นที่เจาะไอร้อง​ เป็นอีกพื้นที่1​ที่รัฐยังตราว่าเป็นพื้นที่สีแดง​ จากเหตุการณ์​รุนแรงคนร้ายบุกโจมตีป้อมเจ้าหน้าที่บริเวณโรงพยาบาลและ​เหตุคนร้ายบุกยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจคาร้านน้ำชา​ และเหตุบุกยิงพระในวัด​ สุไหงปาดี​ซึ่งอยู่ในเขตติดกัน​ และตลอดจนเหตุการณ์อื่นๆ​ ในสถานการณ์​ รุนแรงที่เกิดขึ้น​ไม่ว่าฝ่ายใด ทำให้ผลกระทบเกิดขึ้น​ตามมา​ คือทำให้มีเด็กกำพร้าเพิ่มขึ้นมาจำนวนมากในจ.นราธิวาส​และ​  3​ จังหวัดชายแดนใต้​ ตลอด15​ ปี​ จวบถึง​ปัจจุบัน​ มีจำนวนไม่ต่ำกว่า10,000 คน​หญิงหม้าย​ อีก​ประมาณ​ 3, 000​กว่าคนที่ต้องเลี้ยงลูกโดยลำพัง​ ปราศจากสามี​


วันนี้เราได้มีโอกาสพาทุกท่านมารู้จักกับ​ผู้หญิงคนหนึ่ง​ ที่อุทิศตนเป็นแม่ของเด็กกำพร้าเหล่านั้น​รับเด็กมาเลี้ยงดูแล​ ทั้งเด็กจากเหตุการณ์, กระทบโดยตรง​ และจากเหตุอย่าร้าง​ ครอบครัวที่ต้องแตกแยก​ ไม่ว่าเหตุผลใดๆก็ตาม​ เธอมองว่า​ เด็กๆเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธ์​ สมควรได้รับการโอบอุ้ม​ ดูแล​ และต้องประคับประคองพวกเขา​ให้เติบโตใช้ชีวิต เผชิญหน้ากับโชคชะตาที่ถูกทดสอบไว้​แล้ว​ กับอนาคตที่ไร้จุดหมาย​ เธอจึงรับมาเลี้ยงโดยไม่ต้องมีคำปฎิเสธใดๆ​ เมื่อเห็นเด็กๆต้องลำบาก​ จำเป็นต้องรับมาช่วยเหลือในฐานของคำว่า​”มนุษยธรรม”


ผู้หญิงคนนี้คือ​ ตัสนีม​ เจ๊ะตู​ เธอเปิดเผยกับเราว่า​ หลังจากปี​ 2547 หลังเหตุเสียงปืนแตก​ มีการปล้นปืน​ และมีเหตุการณ์​ความรุนแรงปะทุขึ้นครั้งใหม่​ ผลกระทบกับเด็กๆเริ่มมีมากขึ้น​ และเกิดกับเหตุใกล้ๆตัว​ เธอจึงเริ่มรับเด็กๆมาเลี้ยง​มาไว้ในรร.​รุ่งอรุณวิทยา​ รร.เอกชนของเธอ​  และต่อๆมาก็เริ่มมีเด็กเพิ่มมากขึ้นเรือยๆ​ จากหนึ่งเป็นสิบ​ จนถึงช่วงหนึ่งที่ต้องเข้ารับการดูแลมากที่สุดถึง​ 127  ราย  พอมาถึงปี​ 56​ จึงเปิดเป็นมูลนิธิการศึกษาและเยียวยาเด็กกำพร้าขึ้น​ ตลอดเวลากว่า​10​ ปี​ ที่ดูแลมา นอกจากทำหน้าที่แม่กับภรรยาดูแลครอบครัวของตนเอง​และ​สามีแล้ว​ เธอยังมีหน้าที่​ อุมมี​ ครู​ เป็นนักการเมืองท้องถิ่น​   ซึ่งล่าสุดได้ลงสมัครเลือกตั้ง​สส.เขต​ 3​ จังหวัดนราธิวาส​ ที่ผ่านมา​ เพื่อหวังว่าหากเธอได้รับเลือก​ จะทำหน้าที่ทางสังคมได้ดียิ่งขึ้น​ มีกำลังมากขึ้น​ แม้ครั้งนี้เธอสอบไม่ผ่าน​  ภาระบทบาทการเมืองหมดลง​   แต่​ ภาระหน้าที่ของอุมมี​ แม่ที่ต้องเลี้ยงดูเด็กกำพร้า​ ซึ่งปัจจุบันมีอยู​่​ 30​ ชีวิต​ ยังต้องดำเนินต่อไป


ตัสนีมฯ​ เล่าว่า​ ถามว่าเราพร้อมไหม​ อยากบอกไม่ได้พร้อมซะทีเดียว​ จากแรกเริ่มก็มาอยู่บ้านเดียวกัน​ ทานด้วยกัน​ อาศัยในบ้านเรานี่แหละ​ ก็คิดว่าเรามีลูกเพิ่มขึ้น​ ปรับตัวกันอยู่​ ตามสภาพ​ นอนเรียงกันยาว​ เต็มบ้าน ก็สนุกสนานดี​ เด็กกระจองอแง​บ้าง​ เลี้ยงยากบ้าง​ ง่ายบ้าง​ อารมณ์​แตกต่างกันไป เหมือน​ศูนย์เลี้ยงเด็กแบบชาวบ้านๆ​ เราปฎิเสธไม่ได้เพราะเห็นเค้าลำบากกว่า​ มีเคสนึง​ ต้องประสบกับเหตุการณ์ที่รุนแรง​ น้องจดจำเหตุการณ์ได้ไม่ลืม​ เมื่อ​ 2​ ปี​ก่อน​ วันนั้นมีคนร้ายเข้าบุกเข้ามาในบ้านของเธอ​ กำลังนอนกันอยู่​ ทั้งครอบครัว​ คนร้ายบุกเข้ามาจ่อยิงพ่อของเธอ​ต่อหน้าต่อตา​ ขณะนั้นมีน้องๆอยู่ด้วยนอนกันอยู่​ ทุกคนต่างตกใจ​กลัวกันสุดขีด​ ภาพอันโหดร้ายนั้น​ยังวนเวียนติดตา​อยู่จนทุกวันนี้​ และรายอื่นๆ​ก็เป็นความเศร้าที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่นี้

จนต่อมาเราได้ปรับปรุงมูลนิธิเรื่อยๆ​ หาทุน​ หางบมาได้จาก​ซะกาตบ้าง​ คนนั้นคนนี้ช่วยกันบริจาคบ้าง​ เพื่อรองรับเด็กๆที่เข้ามาเรื่อยๆ จนในที่สุดเราต้องทำเป็นจริงจังตั้งเป็นระบบ​ได้ไปจดทะเบียนมูลนิธิ​ ชื่อ​ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและเยียวยาเด็กกำพร้า​ ขึ้น​ ตั้งแต่ปี​ 56​ และทำงานกันมาเรื่อยๆ​ สร้างเป็นโรงนอน​ ที่พักพิงโรงครัว​ หอพัก​ แบบกั้นห้องง่ายๆก่อน​ตามทุนที่หาได้​ อาหารเราพยายามเลี้ยงปลา​ดุก​ ปลานิล​ ในบ่อ ปลูกผัก​ เลี้ยงไก่​ไข่ ให้เด็กได้พอบริโภคตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง​ เรายังต้องการความช่วยเหลืออีกมาก​ ส่วนใหญ่แล้วที่ทำอยู่นี้​พยายามทำกันเอง​กับสามี​ กับช่างบ้านๆ​แม้แต่เตียงนอนเราก็​ หาไม้ซื้อไม้มาต่อเองค่ะ
นอกจากนี้​ เราจะพยายามหาทุนเพื่อให้พวกเค้าได้มีการศึกษาที่ดี​ โดยประสานตามสถาบันศึกษาต่างๆ​ ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆเหล่านี้​ เราก็จะดูเป็นรายๆไป​ บางคนเรียนเก่งก็ผลักดันให้​เรียน​ บางคนมีแม่​ อยากทำงานช่วยแม่เราก็หางานให้ทำ ดูตามความต้องการของเด็กๆเอง​
ในความเป็นพี่น้องอิสลาม​ อยากให้ทุกคนเอาใจใส่​ช่วยเหลือเยียวยา​ เหลียวหลังกันมามองปัญหาตรงนี้กันมากๆ​ เด็กเหล่านี้น่าสงสารไม่มีที่พึ่ง​ สังคมต้องดูแล​เยียวยา​พวกเขา​ เพราะเป็นปัญหา​ที่เกิดขึ้น​พวกเขาคืออนาคต​ ถ้าเราไม่ดูแล​ตอนนี้​ต่อไปจะเป็นปัญหาสังคมที่ต้องเกิดขึ้นอีก​แน่นอน​

และในช่วงรอมฎอนอันประเสริฐนี้​ อยากฝากถึงใครที่เป็นชาวมือบน​ มีฐานะมั่นคง​แข็งแรง​ต้องการยื่นความจำนงค์ข่วยเหลือเป็นซะกาตหรือกองทุนเลี้ยงเด็กกำพร้าเหล่านี้​ ติดต่อมาได้ตลอดเวลาที่ นางตัสนีม​ เจ้ะตู​ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและเยียวยา​เด็กกำพร้า​ 11/3​ ม.4​ บ้านกูเว​ ต.​บูกิต​ อ.เจาะไอร้อง​ จ.นราธิวาส​  ธ.อิสลาม​ เลขที่บัญชี​ 110-1-02394-5
ญาซากัลลอฮฮคอยรอน​ขออัลลอฮทรงตอบแทนทุกๆท่าน

ข่าว​ สุกรี​ มะดากะกุล​ บก.@ชายแดนใต้