ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ โรงเรียนวัดควน ม.2 ต.ควน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี นายวิภาค ภู่เพชร นายอำเภอปานาเระ เป็นประธานเปิดงานประเพณีลาซังแห่โต๊ะชุมพุก ของชาวตำบลควน อ.ปะนาเระ จ.ปัตนานี โดยมี นายพิเชษฐ์ พรหมจันทร์ รองนายกองค์การบริการส่วนตำบลควน ให้การต้อนรับในงาน พร้อมชาวบ้านที่ต่างมาร่วมงานอีกจำนวน 500 กว่าคน
ซึ่งประเพณีลาซังแห่โต๊ะชุมพุก เป็นประเพณีท้องถิ่นในสามจังหวัดภาคใต้ ที่ได้มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งปัจจุบันยังหลงเหลือและปฏิบัติกันใน ตำบลควนและตำบลใกล้เคียงเท่านั้น ซึ่งตำบลควนได้จัดขึ้นหลังเสร็จสิ้นการเก็บ เกี่ยวผลผลิตของชาวนา ในช่วงเดือนห้าถึงเดือนหกของไทย ในปัจจุบันกำหนดให้จัดขึ้นในวันพืชมงคลของทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระแม่ โพสพ โดยชาวนาเชื่อกันว่าเมล็ดข้าว ต้นข้าว มีบุญคุณที่เลี้ยงเรามา
ดังนั้น เมื่อเสร็จสิ้นการเกี่ยวข้าว ชาวนาต้องจัดให้มีพิธีแสดงความกตัญญูต่อต้นข้าว เมล็ด ข้าว ก่อนที่ตอข้าวจะถูกไถกลบ สำหรับเตรียมการหว่านดำในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่
ลาซัง คือ การอำลาซังข้าวเมื่อเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา โต๊ะชุมพุก มาจากคำ 3 คำ
1. โต๊ะ หมายถึง หรือตา
2. ชุม หมายถึง สุมรวมกัน และ
3. พุก หมายถึง ผุ
ความหมายรวม คือ การนำสิ่งที่เคารพนับถือ อันเป็นสิ่งไม่คงทนมารวมกัน ในที่นี้คือ การนำฟางข้าวมามัดเป็นหุ่นผู้หญิงและผู้ชาย แล้วให้แต่งงานกัน ตาม ความเชื่อว่าจะทำให้มีลูกหลานเกิดมาเป็นเมล็ดข้าวจำนวนมากมาย ในปีต่อไป
งานประเพณีลาซังแห่โต๊ะชุมพุก ของชาวตำบลควน ประจำปี 2562 นี้ ได้มี 5 หมู่บ้านที่เข้าร่วม โดยมี หมู่ 1,2,3,4,5 ที่นำโต๊ะชุมพุกมาแห่ ในประเพณีลาซัง โดยผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ได้นำลูกบ้านของตนมาร่วมตกแต่งโต๊ะชุมพุกของตนเอง รวมถึงขบวนแห่ที่ต้องตกแต่งให้ออกสวยงาม และร่วมกันนำพืชผลทางการเกษตร มาร่วมเข้าประกวดภายในงานอีกด้วย ซึ่งงานประเพณีลาซังแห่โต๊ะชุมพุก ก็ได้จัดการประกวดพืชผลทางการเกษตร ที่เป็นจุดเด่น ของผลิตของตำบลควนเช่น
การประกวดพันธุ์ข้าว, การประกวดมะพร้าวรับประทานผลอ่อน, การประกวดกล้วยน้ำว้า, การประกวดขบวนโต๊ะชุมพุก
นายสมหมาย โชติช่วง อายุ 81 ปี ผู้นำศาสนาในตำบลควน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ประเพณีลาซังแห่โต๊ะชุมพุก คือหลังจากการเก็บเกี่ยวในตำบลควน ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันอย่างยาวนานเป็นร้อยปี ซึ่งจัดทุกปีไม่เคยขาด ประเพณีลาซังหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วก็เอาซังของต้นข้าวมารวมกัน ทำเป็นหุ่นฟาง ซึ่งสมัยก่อนไม่ได้ทำการทุกหมู่บ้าน สมัยก่อนทำแค่ตำบลละ 2 ตัวเท่านั้นเอง ซึ่งทำผู้หญิง 1 ตัวและผู้ชาย 1 ตัว และทำการจัดแต่งงานในกลางทุ่งนา แต่สมัยนี้ประยุกต์มาทำจัดในที่สะดวกสบาย เพราะซึ่งสมัยก่อนก็ไม่ได้มีเครื่องเสียง และไม่ได้มีดนตรีเพราะจัดกลางทุ่งนา และสมัยก่อนหุ่นโต๊ะชุมพุกก็จะทำตัวขนาดใหญ่ และไม่ได้เน้นความสวยงาม และได้บรรจุข้าวเหนียวข้าวแกง บรรจุลงในหุ่นโต๊ะชุมพุกทั้ง 2 ตัวทั้งหญิงและชาย เสร็จแล้วก็ได้นิมนต์พระ มาทำการจัดแต่งงานโต๊ะชุมพุกทั้ง 2 ตัว พอเสร็จพิธีก็ให้ลูกหลาน นำโต๊ะชุมพุกทั้ง 2 ตัวแห่ไปกลางทุ่งนาและกินข้าวเหนียวข้าวแกงกันกลางทุ่งนาจึงจะเสร็จพิธี และจะมีการละเล่นกัน เช่น การชนวัว ชนไก่ ซึ่งเมื่อสมัยก่อนก็จัดงานอยู่ 2 – 3 วัน แต่ปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนเป็นวันเดียว และคนไทยเราส่วนใหญ่ก็กินข้าวกัน คำว่าลาซังก็หมายถึงว่า ให้รวงข้าวของเราในปีต่อไปอุดมสมบูรณ์ ซึ่งก็เป็นผลดีและได้สืบทอดกันมารุ่นลูกหลานจนถึงปัจจุบันนี้ทีมข่าว@ชายแดนใต้
