กอ.รมน.​แต่งตั้งแล้ว,, คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง​ กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน​ จชต.​ ภาครัฐผนวกภาคประชาสังคมทำงานร่วมกัน

0
1765

27​เมย.62​ พลตรี เกรียงไกร​  ศรีรักษ์​ เลขานุการคณะประสานงานระดับพื้นที่/ เป็นประธาน​ในจัดประชุม​พร้อมทั้ง​  พลตรี​ ธิรา  แดหวา​ ในนามรองประธานคณะฯ​ โดยมีคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วย​  หัวหน้าศูนย์ทนายความมุสลิมชายแดนใต้, ตัวแทนภาคประชาสังคม, ตัวแทนด้านสิทธิมนุษยชน, คณะอาจรย์, และผู้นำศาสนา​ ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน​ ร่วม​ 25​ คน​


การจัดประชุมคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ครั้งนี้  เพื่อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความไว้วางใจระหว่างรัฐกับพี่น้องประชาชน ป้องกันและลดเงื่อนไขที่นำไปสู่การสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงตลอดจนเพื่ออำนวยความสะดวกความยุติธรรมให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ จชต.


มีประเด็นที่สำคัญบทบาทและภาระหน้าที่ของคณะกรรมการต้องคลอบคลุมทุกภาคส่วน คณะกรรมการฯ ชุดนี้มีผู้ที่บทบาทหน้าและเป็นที่ยอมรับของพี่น้องประชาชนอีกทั้งสามารถสื่อไปยังระดับนโยบายให้สามารถทราบถึงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ในเรื่องความเป็นธรรม สิทธิมนุษชนและเสรีภาพ​ คณะฯได้สรุปประเด็นประชุมดังนี้
1.เพิ่มเติมคณะกรรมการ เอาตำรวจ/ปกครอง/แพทย์ มาร่วมด้วย
2.เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการใหม่เป็นคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.กรรมการชุดนี้มีระดับที่จะเป็นปากเป็นเสียงในสภา สามารถให้สังคมโดยรวมได้เข้าสถานการณ์ที่เป็นจริงในพื้นที่
4.กรรมการชุดนี้มีเวทีที่จะสะท้อนในการสร้างสรรค์/สร้างความเข้าใจระหว่างกันทั้งรัฐ ภาคประชาสังคมและพี่น้องประชาชนเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมในประเด็นความยุติธรรมในพื้นที่
5.รัฐมีการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาส่วนร่วมต่อการสร้างสถาวะแวดล้อมเพื่อหนุนเสริมต่อกระบวนการพูดคุยสันติสุข กรรมการชุดต้องประชุมทุกเดือน เพื่อติดตามและขับเคลื่อนตามบทบาทหน้าที่ของกรรมการชุดนี้


พลตรี เกรียงไกร​  ศรีรักษ์​ เลขานุการคณะประสานงานระดับพื้นที่/ ประธานฯ​เปิดเผยว่า​
คณะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ มาจากที่ทางรัฐและภาคประชาสังคมได้ระดมความคิดเห็นร่วมกัน และเสนอต่อแม่ทัพภาคที่ 4 ว่าควรมีคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะ เพื่อเข้าถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำการตรวจสอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ

มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและป้องกันปัญหาด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน สามารถประสานงาน กับฝ่ายรัฐ และฝ่ายประชาชน ได้นำข้อร้องเรียน การร้องทุกข์ อันจะก่อให้เกิดปัญหาตลอดจนนำข้อเสนอแนะ และตรวจสอบกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน มาใช้เป็นข้อมูลแก้ปัญหาอีกด้วย

ด้านนาย กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ว่าที่สส.พรรคประชาชาติ จ.นราธิวาส/ประธานศูนย์ทนายความมุสลิม กล่าวว่า มีความคาดหวังว่า คณะนี้เป็นคณะกรรมการดูแลด้านปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งยังวางเป้าหมายไว้กว้าง ทั้งนี้ยังต้องพูดคุยอีกหลายประเด็นเช่น เรื่องโครงสร้างของคณะกรรมการที่ต้องวางไว้ให้ครอบคลุม ครบถ้วน ในกรอบของกฎหมาย และด้านกรอบอำนาจ หน้าที่ ก็หวังว่าคณะกรรมการชุดนี้จะขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเสนอแนะ การบังคับใช้กฎหมาย เช่นการละเมิดใช้กฎหมาย หรือเรื่องการบังคับใช้ กฎหมาย พรก.ฉุกเฉิน ก็ต้องระดมฟังข้อเสนอแนะ เรื่องเหล่านี้ กฎหมายไม่ได้จำกัดว่าละเมิดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เราควรต้องมานั่งทบทวนว่า ตลอด 13 ปี ที่ผ่านมาเราบังคับใช้กฎหมายประเด็นใดบ้าง ได้ผลอย่างไรบ้าง ที่เปิดช่องให้เอื้อต่อการละเมิดสิทธิ ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่มีการถอดบทเรียน ว่า จากการบังคับใช้นโยบายสู่ภาคปฎิบัติสู่ประชาขน เพราะกฎหมายสามารถแก้ไขได้ถ้าเอื้อสู่การแก้ไขปัญหาให้ดียิ่งขึ้นได้ ก็ควรทำได้ครับ

สุกรั มะดากะกุล​ บก.@ชายแดนใต้