เบตง-อบรมและฝึกปฏิบัติการ จับงู !!

0
844

เบตงอบรมและฝึกปฏิบัติการ จับงู!!

มูลนิธิกวนอิมเมตตาธรรมเบตง (สว่างเบตงธรรมสถาน) อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ร่วมกับทีมงานอสรพิษวิทยาประเทศไทยสาธิตวิธีการจับงูที่ถูกต้องแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์ในการจับงูอย่างถูกวิธีพร้อมฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเมื่อถูกงูกัดและเพื่อให้ตัวเองมีสติสามารถป้องกันตัวได้อย่างถูกต้องเมื่อเจองูหรือจะเข้าไปช่วยผู้อื่นโดยมีนายนิรุทธ์ ชมงาม หรือนิค ผู้เชี่ยวชาญเรื่องงูของประเทศไทยเจ้าของฉายามือปราบอสรพิษเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์พยาบาลตำรวจอาสากู้ชีพกู้ภัยผู้สนใจที่เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คนที่ห้องประชุมตึกอำนวยการโรงพยาบาลเบตง โดยมีนายสมยศเลิศลำยองนายกเทศมนตรีเมืองเบตงเป็นประธานเปิดโครงการ

นายขนบ ชาวนา ประธานมูลนิธิกวนอิมเมตตาธรรมเบตง กล่าวว่า ข้อมูลจากหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลเบตง ระบุว่า ผู้ป่วยจากสาเหตุถูกงูพิษกัดในอำเภอเบตงมีจำนวนมากกว่า 100 รายต่อปีเฉลี่ยประชาชนถูกงูพิษกัด 8-10 รายต่อเดือนซึ่งเป็นสถิติที่ค่อนข้างสูงจึงได้จัดอบรม พิษวิทยา” ขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งการให้ความรู้เรื่องพิษของงูการจัดการงูพิษชนิดต่างๆ เพื่อให้ได้รับความรู้ด้านการจัดการงูพิษชนิดต่างๆ ได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยผู้ป่วยผู้บาดเจ็บจากงูพิษกัดได้รับการปฐมพยาบาลจุดเกิดเหตุตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยถูกงูกัดก่อนนำส่งโรงพยาบาลอย่างถูกต้องปลอดภัยทันเวลาลดอัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บเสียชีวิตและความพิการจากการถูกงูพิษกัด    ด้านนายนิรุทธ์ ชมงาม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องงูของประเทศไทย เปิดเผยว่า งูไม่ได้น่ากลัวเสมอไปถ้าเข้าใจในสัญชาติญาณของมันเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้เราควรทำความเข้าใจแล้วรับมือให้ได้ดังนั้นเวลาเจองูอันดับแรกคือต้องควบคุมสติตัวเองให้ดีอย่ากลัวเพราะความกลัวจะทำให้ทำอะไรผิดๆ ไปอาจโดนงูกัดได้เมื่อเจองูให้รีบโทรหาเจ้าหน้าที่กู้ภัยหรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอย่าจับงูด้วยตัวเองหากไม่มีมีทักษะและประสบการณ์มาก่อนหรือหากเจอสถานการณ์เฉพาะหน้าเช่นเดินมาเจอต่อหน้าต่อตาสิ่งที่ควรทำคือพยายามนิ่งๆไว้ควบคุมสติถ้าเรานิ่งงูเห็นไม่เป็นภัยก็จะเลื้อยผ่านไปเองสมัยก่อนในตำราจะบอกไว้ว่าถ้าถูกงูกัดให้เชือกรัดเหนือแผลทางการแพทย์ยืนยันแล้วว่าไม่มีประโยชน์เชือกรัดไม่สามารถชะลอพิษงูให้ทำงานช้าได้การดูดพิษเอามีดกรีดบาดแผลเอาไฟลนเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องวิธีที่ถูกต้องเวลาถูกงูกัดคือควบคุมสติอารมณ์ให้ได้ล้างบาดแผลให้สะอาดหากเป็นไปได้ถ้าพบงูตัวที่กัดให้ถ่ายภาพให้ชัดๆ เพื่อให้แพทย์รู้ว่าเป็นงูชนิดจะได้ให้เซรุ่มถูกต้องส่วนวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือการนำไม้มาดามไว้แล้วนำผ้ามาพันไว้ให้กระชับไม่หลวมเกินไปและไม่แน่นเกินไปให้เคลื่อนตัวน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้หัวใจสูบฉีดเลือดเร็วพิษงูก็จะชะลอลงและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลในปัจจุบันสภากาชาดไทยผลิตเซรุ่มงูได้7 ชนิดคืองูเห่างูจงอางงูสามเหลี่ยมงูกับปะงูแมวเซางูเขียวหางไหม้งูรัศมีภาเพราะงู 7 ชนิดนี้อยู่ใกล้มนุษย์มากที่สุดและมีอัตราการกัดคนบ่อยที่สุดหากงูชนิดอื่นที่มีพิษแต่ไม่มีเซรุ่มกัดคนทางการแพทย์สามารถรักษาตามอาการได้ไม่ต้องมีเซรุ่มก็สามารถรักษาได้สำหรับผู้ที่สนใจจะรับการฝึกทักษะป้องกันตัวและการช่วยเหลือหากถูกงูกัดได้ทางเพจ Nick Wildlife

ทีมข่าว @ชายแดนใต้ .เบตง .ยะลา